Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

21 ธันวาคม 2551

ไม่ให้ทุกข์คนอื่น คนนั้นชื่อว่าพรหม


ใช้ความคิดอยู่นานใช้เวลาหลายปีตลอดเวลาที่บวช ว่าคนเราเกิดมามีแต่ทุกข์ มีทุกข์ของตนเอง และทุกข์จากคนอื่นที่ทำให้เกิด ทำให้คนอื่นเป็นทุกข์ นี้ถ้าคนเราคิดได้มากๆๆๆ คงไม่คิดให้ทุกข์คนอื่น เพราะคนอื่นก็ชอบความสุขเช่นเดียวกับเรา เราชอบสุขแบบไหน คนอื่นก็ชอบแบบเรา ไม่มีใครอยากทุกข์ ครั้งสมัยไปอินเดีย เห็นคนอินเดียข้างถนนด้วยแล้วเกิดความรู้สึกสงสารจับใจน่าเวทนาสุดๆ ก็คือครั้งหนึ่งเห็นคนกำลังจะตายเป็นหญิงวัยกลางคน นอนกำลังจะตายอยู่ใต้ม้านั่งแถวป้ายรถเมล์ ไม่มีคนอินเดียคนไหนสนใจสักคน บอกก็แล้วไม่มีคนสนใจ เรานี้ต้องเดินไปซื้ออาหารมาให้แถมยาพารา แม้จะรู้ว่ามันสายไปเสียแล้วแต่เราทำด้วยใจกุศลผลบุญตอนนั้นจริงๆ วันรุ่งขึ้นกลับไปดูใหม่ เธอเสียชีวิตไปแล้ว อาหารและยาพารายังวางอยู่ที่เดิม เิดินไปบอกคนอื่นว่าเธอคนนั้นตายแล้ว ตรงนั้นไงแต่ไม่มีคนสนใจสักคน เขาบอกว่าจะมีคนมาเจ้าหน้าที่มาเก็บไปเผาไฟเอง นี้แหละชีวิตที่ว่าทุกข์ การไม่ให้ทุกข์คนอื่น ด้วยการแสดงน้ำใสใจจริงต่อกันนั้น เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และไม่ทำให้คนอื่นเกิดทุกข์ มีทุกข์ที่ใจ สำคัญที่สุด เมื่อทุกข์ทางใจเกิด ความทุกข์ทางกายก็เกิด คนเรามีทุกข์ทางกายกันทุกคน คือความหิว และความอยากมี อยากได้ และความทุกข์ที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ มานั่งคิดดูคนไทยเราที่เป็นพรหมก็มาก แต่ที่ให้ทุกข์คนอื่นก็มีมากจะเรียกว่าพวกผีนรกก็ไม่ผิด เพราะนอกจะทำให้คนอื่นทุกข์แล้ว ยังซ้ำเติมความทุกข์ให้คนอื่น ตามสำนวนไทยที่ว่า หนีเสือ ปะจระเข้ ,หนีร้อนมาพึ่งเย็น แต่เจอร้อนยิ่งกว่า, ต้องหันมาคิดว่าตัวเราถ้าเจอทุกข์ด้วยตัวเอง จะเป็นอย่างไร แน่นอนว่าต้องทุกข์ระทมใจแน่นอน มีบทเพลงที่เป็นธรรมและคติเตือนใจได้อย่างดี มาดูว่าเนื้อหาดีเพียงใด

เกิดมาพึ่งกัน
กิด เป็นคนอย่าเห็นแก่ตนแหละดี
ถึงจะมี ร่ำรวย สุข สันต์
จน หรือมีไม่เป็นที่สำคัญ
แม้รักกันพึ่งพาอย่าไปตัดไมตรี
เกิดมาพึ่งกัน ผิวพรรณ ใช่แบ่งศักดิ์ศรี
วันนี้เราอยู่คิดดูให้ดี ถึงจะจนจะมี
อย่าไปสร้างเวรกรรม
ขืนทำชั่วไป อาจต้องใช้กรรมเวร
อย่างมงายโลภหลง เพราะคงจะเกิดลำเค็ญ
สร้างบุญพระท่านคงเห็น ร่มเย็นพ้นความกังวล
ถึงวิบัติขัดสน ผลบุญนำให้
ศีลธรรมมั่นใจไม่ต้องไปกังวล
ถึงจะมีจะจนจะเกิดกุศลดลใจ.

วิเคราะห์ ตรงที่ว่า "วันนี้เราอยู่คิดดูให้ดี ถึงจะจนจะมีอย่าไปสร้างเวรกรรม"
ก็คือ เป็นคนรวยและคนจนอย่าไปสร้างความทุกข์ให้คนอื่น ก็คืออย่าไปสร้างเวรกรรมคนเราต้องพึ่งพาอาศัยกันช่วยเหลือกันทำให้คนอื่นพ้นทุกข์ด้วยการช่วยเหลือกัน ไม่คิดอกุศลต่อกัน แต่คิดสิ่งที่เป็นมงคลแก่กัน มีโฆษณาที่เป็นชีวิตจริงของคุณแม่ต้อยที่เก็บเด็กข้างถนนมาเลี้ยง แม้ตัวเองจะต้องตายด้วยโรคมะเร็งในไม่ช้า แต่ความต้องการให้เด็กเหล่านั้นพ้นจากทุกข์จึงเก็บมาเลี้ยงซึ่งคุณแม่ต้อย จึงเป็นดั่งพรหมนั้นเอง

มาคิดดูคนมีอันจะกินมากพอแล้วในไทยเราถ้าคิดจะสงเคราะห์คนสักคนคงไม่เหลือบ่ากว่าแรง ที่จะทำแน่นอน มานั่งคิดถ้าคนรวยมีจิตใจที่ต้องการเห็นคนอื่นพ้นทุกข์ด้วยการช่วยเหลือเด็กด้านการศึกษา หรืออุปการะเลื้องดู ซึ่งมีไม่น้อยที่ทำอยู่ แต่น่าจะมีมากๆๆจะยิ่งดี แต่คนที่มีอำนาจหน้าที่ ที่จะต้องแล้วควรจะทำอย่างยิ่ง มานั่งคิดดูคนที่ทุกข์อยู่ทำไม เจ้าหน้าที่รัฐไม่เข้าไปช่วยเหลือ ต้องรอให้เป็นข่าวก่อนจึงไปช่วย ที่ว่าไม่ใช่ทุกข์ที่เกิดจากน้ำท่วม อากาศหนาวเป็นต้น ที่มีเจ้าหน้าที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่แล้วด้วยงบหลวง แต่เป็นทุกข์ที่เกิดจากความอดยาก ทุกข์ที่เกิดจากความลำเข็ญ ดิ้นรน ที่แย่สุดๆ รอการช่วยเหลือจากผู้ใจบุญอย่างแท้จริง แต่ไม่ใช่ช่วยเหลือหวังสิ่งตอบแทนจากเขา อันนี้คิดดูเอาเองคิดว่าท่านๆทั้งหลายเข้าใจดีอย่างมาก
หลักธรรมของพระพุทธเจ้า ที่รับรองไว้ว่าคนจะเป็นพรหมได้และจะเป็นพรหมอย่างแท้จริง
ไม่ใช่เบื้องหน้าหรือหน้ากากเป็นเหมือนพรหม แต่เมื่อถอดหน้ากากออกมากลับเป็นผีนรกชั่วร้ายมีหลักธรรมะรับรองดังนี้

พรหมวิหาร 4
1. เมตตา คือความรักปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข ทางกายทางใจ
2. กรุณา คือความปรารถนาให้คนอื่นพ้นทุกข์ด้วยการช่วยเหลือ และไม่ทำให้คนอื่นมีทุกข์

3. มุทิตา คือความยินดีและส่งเสริมให้เขามีสุขยิ่งๆขึ้นคือ สุขทาง กายและใจ

4. อุเบกขา คือความรู้จักวางเฉย ไม่ซ้ำเติมคนที่ทุกข์ และไม่ให้ทุกข์์คนอื่น


สรุป คนเราเกิดมามีทุกข์กันทุกคนอยู่แล้ว อย่าทำทุกข์ให้เกิด แต่จงทำความสุขให้เิกิดแก่คนอื่นและตัวเรา เราจะขึ้นชื่อได้ว่าเป็นพรหมอย่างแท้จริง คุณละคือพรหมหรือผีนรก.







04 ธันวาคม 2551

มองธรรมะ ผ่านการเมืองสหรัฐอเมริกา


การเมืองสหรัฐอเมริกาตอนนี้พอจะเห็นเค้าโครงหน้าตาของรัฐมนตรีกันบ้างแล้วในชุดของว่าที่ประธานาธิดีบารัค โอบามา " Barack Obama" ประธานาธิบดีคนที่ 44 แต่ที่น่าสนใจที่คือการได้หรือการเอานักการเมืองฝ่ายตรงข้ามที่ลงชิงประธานาธิบดี คือนางฮิลลารี คลินตัล ที่พ่นลมปากใส่กันตอนลงชิงประธานาธิบดี อย่างดุเด็ดเผ็ดร้อนเจ็บแสบทรวงใน แต่พอมาถึงขณะนี้ต่างมีรอยยิ้มให้แก่กันและกัน นางฮิลลารี คลินตัล ก็ยอมรับในการปราชัยในการเลือกตั้งต่อนาย บารัค โอบามา อย่างไม่เห็นฝุ่นโดยสดุดี(ยอมรับ) แบบไม่ได้ลงชิงประธานาธิบดีของนางฮิลลารี คลินตัลและทั้งสองฝ่ายต่างมีน้ำใจนักกีฬาให้แก่กัน การมองการเมืองไปข้างหน้าของทั้งสองคือการนำสหรัฐอเมริกาข้ามพ้นขวากหนามในปัจจุบัน ที่มีปัญหาเศรษฐกิจของชาติที่ถดถอยย่ำแย่ในขณะนี้ นำไปสู่การฝืนคืนชีพของเศรษฐกิจในฐานะที่เป็นประเทศมหาอำนาจในองค์กรโลกมากมาย ต่างก็รู้ว่าเวลาขณะนี้ไม่มีเวลาที่จะมากัดกันอย่างสุนัข พยาบาทคาดแค้นกัน การนำพาสหรัฐอเมริกาไปสู่ถนนที่ราบรื่นต่างหากที่เป็นตัวเดิมพัน นับตั้งแต่การก้าวสู่สงครามอิรัก อเมริกันต้องสูญเสียงบประมาณไปอย่างมากมาย รวมทั้งปัญหาภัยธรรมชาติอีกหลายลูกที่ถล่มสหรัฐอเมริกาต้องทำให้การฟื้นฟูสหรัฐต้องค่อยๆดำเนินการด้วยงบประมาณพัฒนาเช่นเดียวกัน และสิ่งที่สหรัฐอเมริกาเผชิญในปัจจุบันคือ การการล่มของเศรษฐกิจในประเทศจนต้องมีการนำงบประมาณเข้าอุดหนุน และปัญหาของโรงงานรถยนต์สหรัฐอเมริกาอีกต่างหากที่รอการช่วยเหลือของรัฐบาลของนายบารัค โอบามา และปัญหาเศรษฐกิจคงไม่ได้เป็นปัญหาของสหรัฐอเมริกาอย่างเดียวแต่ทั่วประเทศก็เจอกับพิษเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ในประเทศไทยโดนเข้าไปไม่น้อยมีปัญหาการเลิกจ้างงานและเลิกจ้างคนงานและปรับลดคนงาน(Layoff) กันทั่วหน้าทำให้หน้าตามีรอยย่นบนใบหน้ากันเป็นแถว(แก่ก่อนวัยสมควร) แต่ปัญหานี้มีปรัชญาของในหลวงที่จะแก้ไขจากหนักไปเป็นเบาได้หรือแก้ได้แบบยั่งยืนคือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาติ(UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติในขณะนั้น ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และ สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด นาย Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการ UNDP ในประเทศไทยกล่าวเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ UNDP นั้นตระหนักถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯโดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
13 นักคิดระดับโลกเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมีการนำเสนอบทความ บทสัมภาษณ์ เป็นการยื่นข้อเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่โลก เช่น ศ. ดร.วูล์ฟกัง ซัคส์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมคนสำคัญของประเทศเยอรมนี สนใจการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก และมองว่าน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับทุกชาติในเวลานี้ ทั้งมีแนวคิดผลักดันเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รู้จักในเยอรมนี, ศ. ดร.อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 1998 มองว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการใช้สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และใช้โอกาสให้พอเพียงกับชีวิตที่ดี ซึ่งไม่ได้หมายถึงความไม่ต้องการ แต่ต้องรู้จักใช้ชีวิตให้ดีพอ อย่าให้ความสำคัญกับเรื่องของรายได้และความร่ำรวย แต่ให้มองที่คุณค่าของชีวิตมนุษย์, นายจิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฏาน ให้ทรรศนะว่า หากประเทศไทยกำหนดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวาระระดับชาติ และดำเนินตามแนวทางนี้อย่างจริงจัง "ผมว่าประเทศไทยสามารถสร้างโลกใบใหม่จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างชีวิตที่ยั่งยืน และสุดท้ายจะไม่หยุดเพียงแค่ในประเทศ แต่จะเป็นหลักการและแนวปฏิบัติของโลก ซึ่งหากทำได้สำเร็จ ไทยก็คือผู้นำ"(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เศรษฐกิจพอเพียง)

กลับมาสู่การเมืองสหรัฐอเมริกาการประสานใจกันอย่างไม่มีร่องรอยกการห่ำหันกันของนายบารัค โอบามากับนางฮิลลารี คลินตัล แต่กลับเอานางฮิลลารี คลินตัล มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ซึ่งถือว่าไม่ง่ายที่ต่างฝ่ายจะลงรอยกันได้ แต่ภาพที่เห็นกันคือรอยยิ้มการยอมรับซึ่งกันและกันของทั้งสองฝ่ายที่พร้อมจะทำงานร่วมกันภายใต้การนำของนาบบารัค โอบามา การได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของนาง ฮิลลารี คลินตัล ซึ่งเป็นกระทรวงที่มีอิทธิพลต่อประเทศมากเลยและการเข้าหาประเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นน่าตาของสหรัฐอเมริกา การได้ผู้หญิงเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองคนคนปัจจุบันคือ ดร.คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ที่เต็มไปด้วยความอ่อนโยนแต่ดุดันในการเมืองระหว่างประเทศ และคนที่สอง คือนาง ฮิลลารี คลินตัล ที่เต็มไปด้วยความอ่อนโยนและฝีปากที่เก่งกล้า น่าจะดุดันไม่น้อยไปกว่าดร.คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐคนปัจจุบัน และจะร่วมกันนำพาสหรัฐไปสู่ความสำเร็จซึ่งมีหลักธรรมะว่าไว้่ คือ

นำชีวิตให้ถึงจุดหมาย
ก. จุดหมาย 1 ขั้น ดำเนินชีวิต ให้บรรลุจุดหมาย (อัตถะ) 3 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 ทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมายขั้นตาเห็น หรือ ประโยชน์ปัจจุบัน


ก) มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไร้โรค อายุยืน
ข) มีเงินมีงาน มีอาชีพสุจริต พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ
ค) มีสถานภาพดี เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม
ง) มีครอบครัวผาสุก ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือ
ทั้ง 4 นี้ พึงให้เกิดมีโดยธรรม และใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนและผู้อื่น


ขั้นที่ 2 สัมปรายิกัตถะ จุดหมายขั้นเลยตาเห็น หรือ ประโยชน์เบื้องหน้า


ก) มีความอบอุ่นซาบซึ้งสุขใจ ไม่อ้างว้างเลื่อนลอย มีหลักยึดเหนี่ยวใจให้เข้มแข็ง ด้วยศรัทธา
ข) มีความภูมิใจ ในชีวิต สะอาด ที่ได้ประพฤติแต่การอันดีงาม ด้วยความสุจริต
ค) มีความอิ่มใจ ในชีวิตมีคุณค่า ที่ได้ทำประโยชน์ตลอดมาด้วยน้ำใจเสียสละ
ง) มีความแกล้วกล้ามั่นใจ ที่จะแก้ไขปัญหา นำชีวิตและภารกิจไปได้ด้วยปัญญา
จ) มีความโล่งจิตมั่นใจ มีทุนประกันภพใหม่ ด้วยได้ทำไว้แต่กรรมที่ดี


ขั้นที่ 3 ปรมัตถะ จุดหมายสูงสุด หรือ ประโยชน์อย่างยิ่ง


ก) ถึงถูกโลกธรรมกระทบ ถึงจะพบความผันผวนปรวนแปร ก็ไม่หวั่นไหว มีใจเกษมศานต์มั่นคง
ข) ไม่ถูกความยึดติดถือมั่นบีบคั้นจิต ให้ผิดหวังโศกเศร้า มีจิตโล่งโปร่งเบาเป็นอิสระ
ค) สดชื่น เบิกบานใจ ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง ผ่องใส ไร้ทุกข์ มีความสุขที่แท้
รู้เท่าทันและทำการตรงตามเหตุปัจจัย ชีวิตหมดจดสดใส เป็นอยู่ด้วยปัญญา


ถ้าบรรลุจุดหมายชีวิตถึงขั้นที่ ๒ ขึ้นไป เรียกว่าเป็น "บัณฑิต"


ข. จุดหมาย 3 ด้าน จุดหมาย 3 ขั้นนี้ พึงปฏิบัติให้สำเร็จครบ 3 ด้าน คือ


ด้านที่ 1 อัตตัตถะ จุดหมายเพื่อตน หรือประโยชน์ตน คือประโยชน์ 3 ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงทำให้เกิดเป็นขึ้นแก่ตนเอง หรือพัฒนาชีวิต ของตนขึ้นไปให้ได้ให้ถึง


ด้านทื่ 2 ปรัตถะ จุดหมายเพื่อผู้อื่น หรือประโยชน์ผู้อื่น คือ ประโยชน์ 3 ขั้น ข้างต้น ซึ่งพึงช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้ให้ถึงด้วยการชักนำสนับสนุนให้เขาพัฒนาชีวิต ของตนขึ้นไปตามลำดับ


ด้านที่ 3 อุภยัตภะุดหมายร่วมกัน หรือ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ประโยชน์สุขและความดีงามร่วมกันของชุมชนหรือสังคมรวมทั้งสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ซึ่งพึงช่วยกันสร้างสรรค์บำรุงรักษา เพื่อเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นก้าวไปสู่จุดหมาย 3 ขั้นข้างต้น (พระพรหมคุณาภรณ์, ป.อ.ปยุตโต, P.A. Payutto)

สรุป การประสานใจร่วมกันทำงานเพื่อบ้านเมืองคือแนวคิดที่ดีที่สุด จะเกิดผลในจุดมุ่งหมาย 3 ด้านคือ อัตตัตถะ,ปรัตถะ, อุภยัตภะ จุดมุ่งหมายเพื่อตนเพื่อผู้อื่นและจุดหมายร่วมกัน มุ่งประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติ นักการเมืองไทยควรทำเพื่อจุดหมาย 3 ด้านหรือหลักธรรม จุดหมายของชีวิตที่กล่าวมาข้างต้นให้เป็นผล ยึดประโยชน์ชาติและประชาชนมากกว่าเข้ามาเสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัว ตามวลียอดฮิต ของนายบาลัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 44 สั้นๆแต่ได้ความหมายยิ่งใหญ่คือ Change .

02 ธันวาคม 2551

พงศาวดาร พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา (อ่าน 1375/ตอบ 1) พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔


ภาพเก่าองค์พระปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารสถานที่หล่อองค์พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา


ภาพเก่าองค์พระปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารสถานที่หล่อองค์พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา

ศุภมัสดพุทธศักราชล่วงแล้ว ๒๔๐๐ พยัคฆสังวัจฉะระ จุลศักราช ๑๒๒๘ ปี ขาล อัฐศก ดำเนินเรื่องพระชินราช พระชินศรี พระศรีศาสดา พุทธปฏิมากร ๓ พระองค์ซึ่งดำรงอยู่ในวัดมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกนั้น ได้มีคำโบราณเล่าและเขียนจดหมาย สืบมา ในราชพงศาวดารเมืองเหนือว่า

พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงแสนได้ทรงสร้างไว้มีความว่า

เดิมเมืองเชียงแสนแต่ก่อนจุลศักราช ๔๐๐ พุทธศาสนการล่วงได้ ๑๕๘๑ ขึ้นไปเป็น เมืองใหญ่มีเจ้านายครอบครองสืบมาหลายชั่วเจ้าแผ่นดิน และมีอำนาจปกแผ่ไปในเมืองลาวต่างๆ ข้างฝ่ายเหนือแลมีอำนาจ มาเขตต์แดนสยามฝ่ายเหนือมีเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงแสน พระองค์หนึ่งนามว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เพราะท่านได้ทรงร่ำ เรียนพระคำภีร์ในพระพุทธศาสนาคือ พระวินัย พระสูตร พระปรมัตถ์มาก และได้จัดการพระพุทธศาสนาได้รุ่งเรืองเจริญมาก ในเมืองเชียงแสนนั้น

ท่านนั้นได้พระราชเทวีมีพระนามว่า พระนางประทุมเทวี เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม พระองค์หนึ่งในวงค์พระเจ้าบาธรรมราชครองเมืองศรีสัชนาลัย คือเมืองสวรรคโลกในเวลานั้นเป็นพระมหาเหษีท่านนั้นมี พระราชบุตร ๒ พระองค์

ทรงพระนามเจ้าชาติสาครหนึ่ง

เจ้าไกรสรสิงหราชหนึ่ง

ครั้งพระกุมารทั้งสองพระองค์ ทรงพระเจริญวัยแล้วท่านมีรับสั่งให้จ่านกร้องนายหนึ่ง จ่าการบุญนายหนึ่งเป็นขุนนางของท่านคุมพวก บ่าวไพร แลสิ่งของบรรทุก เกวียนเป็นอันมากเป็นเสบียงไปนานให้พากันไปเที่ยวหาถิ่นที่ในปลายเขตต์แดนของท่านที่ใกล้ต่อชนกันเขตต์แดนแผ่นดิน สยาม ซึ่งเป็นเมืองเดิมของพระนางประทุมเทวีอรรคมเหษี เวลานั้นยังคงตั้งอยู่ในทางไมตรีสนิท ควรจะคิดสร้างเมืองไว้ ใกล้เคียงแผ่นเดิมสยาม เพื่อจะได้เป็นที่อยู่พระราชบุตรสองพระองค์ซึ่งมีเชื้อสายฝ่ายพระมารดาเป็นชาวสยาม ฤาโดยว่า กาลนานไปเบื้องหน้าผู้ปกครองแผ่นดินฝ่ายสยามจะเสียทางไมตรีจะล่วงเวลามาปรารถนา เขตต์แดนที่เป็นของขึ้นแก่ เมืองเชียงแสนก็จะได้เป็นป้อมแลกำแพงมั่นคงกันข้าศึกศัตรูของเมืองเชียงแสนสืบไป จ่านกร้องจ่าการบุญกับบ่าวไพร่ กราบทวายบังคมลาออกจากเมืองเชียงแสน เที่ยวมาถึงปลายเขตต์แดนเมืองขึ้นเมืองเชียงแสนข้างทิศตะวันออกเฉียงใต้ เห็นเขตต์แดนซึ่งขึ้นแก่เมืองเชียงแสนโอบอ้อมลงมาข้างแม่น้ำตะวันออก น้ำไหลลงมาร่วมปากน้ำโพในแดนสยาม เห็นกาล ว่าจะต้องสร้างเมืองใหญ่ไว้ในลำน้ำตะวันออกนั้นกับชาวสยามซึ่งตั้งกรุงอยู่เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลก ใกล้เคียงข้างตะวันตก จึงเลือกที่ตำบลบ้านพราหมณ์ซึ่งครั้งอยู่สองข้างฝั่งแม่น้ำเป็นทิศตะวันตกแต่เขาสมอแครลงมา เห็นว่าที่บ้านพราหมณ์ควรจะสร้างเป็นเมืองขึ้นได้ จึงคิดจะสร้างเมืองจะให้มีกำแพงสองฟากน้ำ แลจะให้มีป้อมจดฝั่งแม่น้ำ ตรงกันสองฟากเมืองนั้น

จ่ากร้อง จ่าการบุญได้คิดการกะแผนที่แลมีหนังสือไปกราบทูลถวายแผนที่และชี้แจงถิ่นฐาน และเหตุผลให้สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปฎกทราบความ สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงเห็นชอบด้วย จึงกะเกณฑ์ ไพร่พลในเมืองเชียงแสนและเมืองขึ้นเป็นอันมากสมควรพอเป็นกำลังจะมาสร้างเป็นเมืองใหญ่แล้วเร็วๆ ได้แล้ว ให้คุม เสบียงอาหารและสิ่งของและเครื่องเรือนตามแผนที่ซึ่งกะการณ์ไว้นั้นได้จัดการในเวลาเช้าวัน ๖ เดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู เบ็ญจศกจุลศักราช ๓๑๕ พระพุทธศักราชล่วงแล้ว ๑๔๙๖ เวลาวันนี้ เป็นเวลาชาตาเมืองนั้น เมื่อการทำไปจ่ากร้อง จ่าการบุญ และนายดาบและนายกองก็มีใบกรอกรายงานไปกราบทูลแก่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกให้ทราบเนืองๆ จนการกำแพงและ ป้อมสองฟากน้ำจวนจะสำเร็จ เมื่อล่วงปีหนึ่งกับเจ็ดเดือน

แต่แรกเริ่มกาลนั้นมา จึงพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยกพยุหโยธา มาพร้อมกับอรรคมเหษี และพระราชบุตรทั้งสองพระองค์เพื่อจะทอดพระเนตรเมืองสร้างใหม่ ครั้นเสด็จมาทอดพระเนตร เห็นก็ชอบพระทัย ให้สร้างที่ประทับใหญ่ลงเสด็จประทับอยู่ในที่นั้นนานวัน แล้วจึงมีรับสั่งให้ตั้งการพระราชพิธีกลบาทว์ และมงคล แก่การเมืองสร้างใหม่แล้วทรงปฤกษาชีพ่อพราหมณ์ว่าจะขนานนามพระนคร ว่าอะไรดีจึงชี้พ่อพราหมณ์ผู้รู้ วิทยาการกราบทูลตามสังเกต ว่าวันเสด็จพระราชดำเนินมาถึงนั้นเป็นยามพระพิษณุ เพราะฉะนั้นขอพระราชทานนาม พระนครว่าพระพิษณุโลกเถิด

จึงมีรับสั่งว่าเมืองถือวงศ์กำแพงเป็นเมืองเดียวกันแยกสองฟากน้ำ ดูเหมือนเป็นเมืองแฝด แม่น้ำเป็นคูคั้นเมืองกำแพงกั้นอยู่กลาง อันหนึ่งเดิมจะสร้างก็ได้ทรง พระราชดำริว่าจะพระราชทานให้พระราชบุตร สองพระองค์เสด็จอยู่ ควรจะให้นามเป็นสองเมือง แล้วจึงพระราชทานนามซึ่งมีชีพ่อพราหมณ์กราบทูลนั้นเป็นนามเมือง ฝั่งตะวันออกว่าเมืองพิษณุโลก แต่เมืองฝั่งตะวันตกนั้นพระราชทานนามตามชอบพระราชหฤทัย ต่อเข้าให้เป็นกลอนอักษร เพราะว่า เมืองโอฆบุรี เพราะว่าถิ่นที่แม่น้ำไหลไปในกลางระหว่างกำแพงสองฟากน้ำเป็นห้วงลึก เมื่อฤดูแล้งมีน้ำขังอยู่ มากกว่าเหนือน้ำแลใต้น้ำ เพราะพระศรีธรรมไตรปิฎกเสด็จประทับอยู่ที่นานวันยังไม่คิดเสด็จกลับคืนพระนครเชียงแสน นั้นด้วยพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทำนุบำรุงพระศาสนาและไว้พระเกียรติยศพระนามปรากฏไปภายหน้า ด้วยการสร้างเจดีย์สถานซึ่งเป็นถวารวัตถุ ผู้อื่นจะล้างทำลายเสียไม่ได้จึงทรงสร้างวัดพระมหาธาตุผ่านในฝั่งเมือง ตะวันออก มีพระปรางค์มหาธาตตั้งกลาง มีพระวิหารทิศสี่ทิศ มีพระระเบียงสองชั้นแล้วให้จับการปั้นหุ่นพระพุทธรูปสามพระองค์ เพื่อจะตั้งเป็นพระประธานในพระวิหาร

ในครั้งนั้นพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก มีพระราชสาสน์ให้ทูลเชิญไปถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ณ เมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ซึ่งเป็นเมืองเดิมของพระราชเทวี ขอช่างพราหมณ์ช่วยปั้นหุ่นพระพุทธรูปเพราะเวลานั้นมีคนเล่าภาสรรเสริญ ช่างเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลกมาก ว่าทำพระพุทธรูปได้งามๆดีๆ ก็เมืองสร้างใหม่นั้นอยู่ไม่ไกลนัแต่เมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกจึงทรงพระวิตกว่า ถ้าจะทำพระพุทธรูปขึ้นมาโดยลำพังฝีมือลาวเชียงแสน กลัวเกลือก จะไม่งามดีสู้พระเจ้ากรุงสยามเมืองสวรรคโลก จึงโปรดให้ช่างพราหมณ์ฝีมือดี ๕ นาย มีชื่อจดหมายไว้ในหนังสือโบราณ บาอินทร์ ๑ บาพรหม ๑ บาพิษณุ ๑ บาราชสังข์ ๑ บาราชสังข์ ๑ บาราชกุศล ๑ ช่างพราหมณ์ ๕ นายกับทูตถึงเมืองสร้างใหม่ แล้ว พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกให้ช่างเมืองสวรรคโลกสมทบกับช่างชาวเชียงแสน และชาวเมืองหริภุญชัยช่วยกันหุ่นพระพุทธรูปสามองค์ ซึ่งซวดทรงสัณฐานคล้ายกันแต่ประมาณนั้นเป็นสามขนาด คือ

พระองค์หนึ่ง ตั้งพระนามเริ่มว่าพระพุทธชินราช หน้าตัก ๕ ศอกคือ ๕ นิ้ว มีเศษ

อีกพระองค์ ๑ เริ่มพระนามไว้ว่าพระพุทธชินศรี หน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว

อีกพระองค์ ๑ เริ่มพระนามไว้ว่าพระศรีศาสดา หน้าตัก ๔ ศอกคืบ ๖ นิ้ว

มีสัญฐานอาการคล้ายกัน อย่างพระพุทธรูปเชียงแสน ไม่เอาอย่าง พระพุทธรูปในเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลกและเมืองสุโขทัย ที่ทำนิ้วสั้นยาวไม่เสมอกันอย่างมือคน ถึงพระลักษณะอื่นก็ปนๆ เป็นอย่างเชียงแสนบ้าง เป็นอย่างศรีสัชนาลัยสวรรคโลกสุโขทัยบ้าง ช่วงทั้งปวงและคนดูเป็นอักมากเห็นพร้อมกันว่า พระพุทธรูปสามพระองค์นี้งามดีหาที่จะเสมอมิได้ แล้วจึงให้เข้าดินอ่อนดินแก่ชะนวนตรึงทวยรัดปาอกให้แน่นหนาพร้อมมูล บริบูรณ์เสร็จแล้วๆ ให้รวบรวมจัดซื้อจัดหาทองคำสัมฤทธิ์อย่างดีได้มาเป็นอันมากหลายร้อยหาบแล้ว

ครั้นหุ่นเห็นพระพุทธรูป สามองค์เข้าดินสำเร็จแล้ว กำหนดมงคลฤกษ์จะได้เททอง ณ วัน ๕ เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีเถาะสัปคศกจุลศักราช ๓๑๗ ปี สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก จึงดำรัสสั่งให้อาราธนาชุมนุมพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในถิ่นที่มีโดยรอบคอบใกล้เคียงเมืองนั้น ทั้งฝ่ายคณะคามวารีอรัญวาสี มีพระอุบาฬีกาและพระศิริมานน์วัดเขาสมอแครงเป็นประธาน และให้สวดพระปริตพุทธมนต์ มหามงคลทำสัจกิริยา อาราธนาเทพยดา ให้ช่วยในการนั้น


พระพุทธชินราช (ภาพถ่ายเก่าในสมัยรัชกาลที่ ๕)
พระพุทธชินราช (ภาพถ่ายเก่าในสมัยรัชกาลที่ ๕)

และให้ชีพ่อพราหมณ์ทำการมงคลพิธี ตามพราหมณ์ศาสตร์ด้วยช่วยในการพระราชประสงค์ก็แล้วจึงเททองหล่อ พระพุทธรูปสามพระองค์ ด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์โบราณแท้ ครั้นเททองเต็มแล้วพิมพ์เย็นแกะพิมพ์ออก รูปพระชินศรี พระศรีศาสดาสองพระองค์บริบูรณ์ดี มีน้ำทองแล่นตลอดเสมอกันการ เป็นสำเร็จ แต่รูปพระชินราชเจ้านั้นไม่ลงบริบูรณ์ ช่างได้ทำหุ่นรูปใหม่ และหล่ออีกถึงสามครั้งก็มิได้สำเร็จเป็นองค์พระ

สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกโทมมัสนัก แล้วทรง ตั้งสัจกิริยาธิฐานอ้างบุญบารมีแล้วรับสั่งให้พระนางประทุมเทวีตั้งสัจกิริยาธิฐานด้วย ครั้นนั้นประขาวคนหนึ่งเข้ามาช่วยปั้น หุ่นทำการแข็งแรง ประขาวคนนั้นเป็นใช้ใบ้ไม่พูด ใครถามชื่อตำบลบ้านก็ไม่บอกไม่มีใครรู้จักช่วยทำการทั้งกลางวัน กลางคืน ไม่มีเวลา ครั้นรูปหุ่นงามดีสำเร็จเข้าดินพิมพ์แห้งแล้ว กำหนดมงคลฤกษ์จะได้เททอง ณ วัน ๕ ค่ำ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะเส็งนพศก จุลศักราช ๓๑๙ พุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๑๕๐๐ หย่อนอยู่เจ็ดวัน

จึงดำรัสสั่งให้อาราธนาชุมนุม พระภิกษุสงฆ์ และชีพ่อพราหมณ์ทำการมงคลพิธีเหมือนครั้งก่อน แล้วเททองก็เต็มบริบูรณ์ ประขาวที่มาช่วยทำนั้นก็เดิน ออกจากที่นั้นไป แล้วออกจากประตูเมืองข้างทิศเหนือหายไปที่ตำบลหนึ่ง บ้านนั้นได้ชื่อว่าบ้านตาประขาวหายจนทุกวันนี้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเมื่อต่อยพิมพ์พระพุทธรูปออกเห็นบริบรูณ์งามดี จึงมีรับสั่งให้ข้าราชการไปตามสืบหาตัวประขาว นั้น จะมาพระราชทานรางวัลก็ไม่ได้ตัวเลย พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ให้ช่างแต่งตั้งพระพุทธรูปให้เกลี้ยงสนิทดี ที่ทวยเหล็ก ให้ถอนออกเสียเปลี่ยนเป็นทวยของใช้แทนที่ แล้วขัดสีชักเงาสนิทอย่างเครื่องสัมฤทธิ์ที่เกลี้ยงเกลาดีแล้วอัญเชิญเข้า ประดิษฐานไว้ในสถานทั้งสาม คือ

พระพุทธชินราชอยู่ในพระวิหารใหญ่ สถานทิศตะวันตกพระมหาธาตุผันพระพักตร์ ต่อแม่น้ำ

พระพุทธชินศรีอยู่ทิศเหนือ

พระศรีศาสดาอยู่ทิศใต้ พระวิหารหลวงใหญ่ทิศตะวันออก เ

ป็นที่ธรรมสวันสการ ที่ถวายนมัสการพระมหาธาตุและเป็นที่ชุมนุมพระสงฆ์ เมื่อหล่อพระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดาเสร็จแล้ว ทองสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นชนวนและชลาบสมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกรับสั่งให้รวบรวมมาหลอมหล่อ ในองค์พระพุทธชินราชซึ่งหล่อ ครั้งหลังแต่ทองสัมฤทธิ์ซึ่งเป็นชนวนและชลาบในองค์พระพุทธชินราชนั้น สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกดำรัสสั่งให้ช่าง ปั้นหุ่นพระพุทธรูปหน้าตักศอกเศษแล้ว เอาทองที่เหลือจากพระพุทธชินราชหล่อ เรียกนามว่าพระเหลือ ชนานและชลาบ ของพระเหลือนั้น ก็หล่อเป็นรูปสาวกของพระเหลือทั้งสององค์ ครั้นเสร็จแล้วสถานที่หล่อพระพุทธรูปสามพระองค์อยู่ตรง หน้าวิหาร พระพุทธชินราชนั้นให้ก่อเป็นชุกกระชีด้วยอิฐเตาหลอมทอง และเตาสุมหุ่นทั้งปวงนั้น แล้วเอามูลดินอื่นมาผสม กับดินพิมพ์ที่ต่อยออกจากพระพุทธรูปสามองค์มาถมเป็นชุกกระชีสูงสามศอก แล้วให้ปลูกต้นมหาโพธิ์สามต้น สำแดง เป็นพระมหาโพธสถานของพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีพระศาสดาสามพระองค์เรียกนามว่าโพธิ์สามเส้า แล้วจึงให้ สร้างปฏิมาฆระสถานวิหารน้อยในระหว่างต้นมหาโพธิ์ หันหน้าต่อทิศอุดร แล้วเชิญพระเหลือกับพระสาวกสององค์เข้าไป ไว้ในที่นั้น แสดงเป็นที่สำคัญว่าเป็นที่หล่อพระพุทธรูปทั้งสองพระองค์เบื้องหน้า แต่นั้นสมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก จึงดำรัสสั่งให้สร้างพระราชวังอยู่ฝั่งตะวันตก เหนือที่ตรงหน้าวัดพระมหาธาตุน้อยหนึ่ง


ครั้นการพระอารามและพระราชวังพระนครเสร็จแล้ว ให้มีการสมโภชเจ็ดวัน ภายหลังจึงทรงตั้งจ่านกร้องจ่าการบุญให้ เป็นที่เสนาบดีมียศเสมอกัน เพื่อจะให้เป็นผู้รักษาเมืองพระพุษณุโลกโอฆบุรีทั้งสองฟาก แล้วทรงพระราชดำริคิดตั้งเมืองนั้น ไว้เป็นพระนครที่ประทับ สำหรับสำราญพระราชหฤทัยอยู่ใกล้แผ่นดินสยาม ซึ่งเป็นเมืองเดิมของพระราชเทวี และจะให้เป็น ที่ประทับกำกับรักษาไม่ให้ชาวสยามที่เป็นใหญ่ในอนาคต จะล่วงลามเกินเลยเข้ามาในเขตต์แดนของพระองค์ ที่ล่อแหลม กามลงมาอยู่นั้น จึงจัดการให้มั่งคงเป็นดังพระนคร พระองค์เสด็จประทับสำราญพระราชหฤทัย อยู่ที่นั้นนานถึง ๗ ปีเศษ บ้านเมืองมีผู้คนอยู่แน่นหนาบริบูรณ์แล้ว จึงเสด็จกลับคืนยังพระนครเชียงแสนทรงพระราชดำริว่า เมืองพระพิษณุโลกจะให้ พระราชโอรสเสด็จไปอยู่ดั่งพระราชชดำริไว้แต่เดิมก็เห็นว่าเป็นทางไกล พระองค์ก็ทรงพระชนมายุเจริญถึงปัจฉิมวัยแล้วจึง โปรดให้เจ้าชาตินครเสด็จไปครองเมืองเชียงรายเป็นที่ใกล้ ให้เจ้าไกรสรราช เสด็จไปครองเมืองละโว้ ซึ่งเป็นเมืองไกลใน ทิศใต้ใกล้ทะเลและไปขอรับเจ้าสุนทรเทวี เป็นพระราชธิดาพระเจ้ากรุงสยาม ณ กรุงศรีสัชนาลัยสวรรคโลก มาอภิเษกเป็น พระมงเหษีของเจ้าไกรสรราช ณ เมืองละโว้ แล้วจึงรับสั่งราชอำมาตย์ไปรับเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช มาแต่เมืองกำโพชา มาอภิเษกกับพระราชธิดาของพระองค์แล้ว โปรดให้ไปครองเมืองใหม่นั้น พระราชทานนามว่าเมืองเสนาราชนคร แล้วจึง รับสั่งให้แต่งเจ้าชาติสาครไปครองเมืองเชียงรายอยู่ใกล้พระนครเชียงแสน พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกบรมบพิตร พระชนม์ ยืนได้ ๑๕๐ ปี แล้วจึงเสด็จสวรรคต อำมาตย์ทั้งปวงส่งข่าวสารไปทูลเจ้าชาตสาคร ณ เมืองเชียงรายเสด็จมาจากเมือง เชียงรายถวายพระเพลิงพระศพพระบิดาแล้ว ขึ้นเสวยราชสมบัติในเมืองเชียงแสนสืบพระวงศ์มาหลายชั่วพระเจ้าแผ่นดิน จึงสาบสูญสิ้นพระวงศ์ไป

ก็แลพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดาพระองค์นี้ เป็นพระพุทธปฏิมากรดีล้ำเลิศ ประกอบไปด้วย พระพุทธลักษณะประเสร็ฐ มีศรีอันเทพยเจ้าหากอภิบาลรักษา ย่อมเป็นที่สัการบูชานับถือมาแต่โบราณ แม้พระเจ้า แผ่นดินกรุงศรีอยุธยาเก่า ที่ได้มีพระเดชานุภาพมโหฬารปรากฏมาในแผ่นดิน ก็ได้ทรงนับถือสักการะบูชามาหลาย พระองค์

เมื่อจุลศักราช ๙๒๖ ปีวอก ฤศก สมเด็จพระราเมศวร เสด็จขึ้นไปตีเชียงใหม่ เสด็จกลับลงมาถึงเมืองพิษณุโลก นมัสการพระชินราช พระชินศรี เปลื้องเครื่องต้นทำสักการะบูชา แล้วให้มีการสมโภชเจ็ดวัน แล้วเสด็จกลับพระนคร

เมื่อจุลศักราช ๙๒๖ ปีชวด ฤศก สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเมืองเสด็จอยู่ ณ เมือง พิษณุโลกกับสมเด็จพระบรม ชนกนารถมหาธรรมราชาธิราชนั้น ได้เสด็จไปช่วยราชการสงครามเมืองหงสาวดีมีชัยชนะเสด็จกลับมายังเมืองพิษณุโลก เปลื้องเครื่องทรงออกบูชาพระชินราชพระชินศรีแล้วให้มีการสมโภชสามวัน ภายหลังมาพระองค์ไปต้องกักขังอยู่เมือง หงสาวดีช้านาน เมื่อได้ช่องแก่การและกลับคืนมายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อเสด็จกลับจากเมืองหงสาวดีครั้งหลังนั้นได้ทรง รับมหาเถรคันฉ่องเข้ามาแล้ว ได้เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี เมืองพิษณุโลกแล้วได้ทรงบูชา ฉลองสามวันเหมือนดังนั้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจุลศักราช ๙๕๓ ปีเถาะตรีศก สมเด็จพระเจ้าเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถ เสด็จ ขึ้นไปประพาสจังหวัดเมืองพิษณุโลกทุกตำบล มีพระราชโองการดำรัสสั่งให้เอาทองนพคุณเครื่องต้นซึ่งเป็นราชูปโภค มาแผ่เป็นทองปะทาศรี แล้วเสด็จไปทรงปิดในองค์พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีทั้งสองพระองค์ด้วยพระหัตถ์เสร็จ บริบูรณ์แล้วให้มีการสมโภชเป็นโหฬารสัการเจ็ดวัน

อันสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและสมเด็จพระนเรศวรบรมนารถ และสมเด็จพระเอกาทศรฐอิศวรบรมนาถ สามพระองค์นี้ เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชาธิราช แม้ได้เสด็จประทับอยู่ ณ เมืองพระพิษณุโลก ทั้งสามพระองค์ ได้มอบพระองค์ เป็นอุปฐากปฏิบัติพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา ได้ทรงทำ สักการบูชาเนืองๆ มาเป็นอันมาก หากอำนาจพระราชกุศลที่พระองค์ ได้ทรงบำเพ็ญด้วยความเลื่อมใส ในพระพุทธ มหาปฏิมากรอันประเสริฐทั้งสามพระองค์นี้มาภายหลังมาพระองค์ก็ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามใหญ่ มีชัยชนะศัตรูหมู่ปัจจามิตรทั่วทุกทิศทุกทาง โดยลำดับราชการสืบๆ กันมาถึงสามแผ่นดิน ด้วยพระบารมีพระเจ้าแผ่นดิน สามพระองค์นั้นเล่าฤาชาปรากฏมาก พระเจ้าแผ่นดินสยามแทบทุกแผ่นดินในภายหลังมาก็พลอยนับถือพระพุทธ มหาปฏิมากร คือ พระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีสืบมาและจนเป็นอันมากก็ลงใจเห็นว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี ๒ พระองค์นี้งามนัก ไม่มีพระพุทธรูปใหญ่น้อยที่ไหนๆ ใหม่เก่างามดีไปกว่าได้ เห็นจะเป็นของที่เทพยดาเข้าสิงช่าง ฤานฤมิตร เป็นมนุษย์มาช่วยสร้างทำเป็นแน่

เพราะเห็นนี้มีผู้นับถือนมัสการ บูชาเล่าฦานับถือมานาน พระเจ้าแผ่นดินบางพระองค์ก็ได้เสด็จไปนมัสการบ้าง และส่งเครื่องนมัสการและเครื่องปฏิสังข์ทำนุบำรุงไปบูชาและค้ำชูให้เป็นปรกติเป็นอภิลักขติเจดียสถาน

มีความในพระสยามราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช ๑๐๒๒ ปีชวดโทศก สมเด็จพระนารายณ์ราชบพิตรพระเจ้า ช้างเผือก เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่กลัยมาถึงเมืองพิษณุโลก เสด็จไปนมัสการพระชินราชพระชนศรี ทำการสักการบูชา แล้วเล่นการมหรสพสมโภชสามวัน

บานประตูมุก พระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธชินราช
บานประตูมุก พระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธชินราช

ครั้นเมื่อถึงปีชวลจัตวาศก จุลศักราช ๑๐๒๔ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการอีกครั้งหนึ่งครั้นแผ่นดินสมเด็จ พระศรีสุริเยนทราธิบดี เสด็จไปทรงสร้างพระอาราม ณ ตำบลโพประทับช้างเป็นที่ประสูตรแขวงเมืองพิจิตร แล้วเสด็จ ไปทรงนมัสการพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีด้วย เมื่อปีมะแมเอกศกศักราช ๑๑๐๑ เป็นแผ่นดินพระบาทสมเด็จ พระบรมธรามมิกราชาธิราชบรมโกศ ได้ทรงพระราชศรัทธาอุตสาหะให้สร้างบานประตูประดับมุกคู่หนึ่ง ทรงพระราช อุทิศถวายพระพุทธชินราชให้ประกอบไว้ที่ประตูใหญ่หน้าพระวิหารพระพุทธชินราช

ครั้นเมื่อวัน ๒ เดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๒ ปีขาลโทศก เจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพยุหโยธาทัพ ณ ขึ้นไป ปราบปรามเจ้าพระฝาง ซึ่งตั้งตัวเป็นเจ้าอยู่เมืองสวางคบุรี เมื่อถึงเมืองพระพิษณุโลกแล้วเสด็จประทับแรมท่ากองทัพ เจ้าพยายมราชอยู่เก้าวัน ครั้นนั้นเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จไปทรงนมัสการพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา ทั้งสามพระองค์ ได้เปลื้องพระภูษาทรงบูชาพระพุทธชินราช

จะว่าถึงการที่เป็นไปในพระบรมราชวงศ์ ซึ่งสถาปนารัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยา ณ ตำบลบางกองตรงกรุงธนบุรี ข้ามมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ในรัชกาลเป็นประถมแต่เมื่อครั้งกรุงธนบุรี ได้เป็นจอมพยุหโยธาแม่ทัพใหญ่ไปทำศึกกับพม่าที่ยกมาทางเมืองเหนือเป็นการเข้มข้นหลายครั้ง เสด็จถึงเมือง พระพิษณุโลกคราวใดก็คงจะได้เสด็จนมัสการพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีพะรศรีศาสดาทุกครั้ง แต่พระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังในแผ่นดินนั้น เมื่อแผ่นดินกรุงธนบุรีได้เป็นที่เจ้าพระยาสุรศรีพิษณวาธิราช ผู้สำเร็จราชการเมือง พระพิษณุโลกหลายปีได้ทรงนมัสการปฏิบัติพระพุทธิชินราชพระพุทธชินศรี พระศรีศาสดาทั้งสามพระองค์ โดยความที่ทรง เคารพและเลื่อมใสนับถือเป็นอันมากอยู่หลายปี จะว่าการให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีกโดยความสัตย์ความจริงก็ว่าได้ ท่านพระองค์ ใดซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมชนกนารถ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ในรัชกาลเป็นประถมนั้น และเป็น มหาอรรคบรรพบุรุษของพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชวงศานุวงศ์ ณ กรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุธุยานท่านพระองค์นั้น เมื่อแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ได้เป็นที่พระอักษรสุนทรศาสนาอยู่ในกรมมหาดไทย ได้เป็นผู้สถาปนาวัดสุวรรณดาราราม ณ กรุงศรีอยุธยาไว้ด้วย ครั้นเมื่อปัจฉิมรัชกาลในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ต้องรับราชการขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ครั้นสืบทราบ ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยาพม่าข้าศึกเข้าล้อมไว้แน่นหนา ท่านก็ยังรั้งรอข้าอยู่ ณ เมืองพระพิษณุโลก ครั้นเมื่อได้ข่าว ว่า กรุงเทพทวาราวดีกรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่าข้าศึกแตกยับเยินแล้วพระพิษณุโลกก็ตั้งตัวเป็นเจ้าแผ่นดินใหญ่ ไม่ยอม ขึ้นแก่ผู้ใด ตั้งขุนนางอย่างกรุงเทพมหานครนี้ทุกตำแหน่ง จึงตั้งพระอักษรสุนทรศาสน ให้เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ อรรคมหาเสนาบดี เพราะเห็นว่า เข้าใจดีในขนบธรรมเนียมในกรุงเทพมหานคร และขบวนราชการในกรมมหาดไทย ทุกประการแล้วพระยาพิษณุโลกบังคับบัญชาบรรดาขุนนาง ที่ตัวตั้งให้เรียกคำบัญชาสั่งของตัว ว่าพระราชโองการ ทุกตำแหน่งไป ไม่ได้ทำพิธีราชาภิเษกให้พราหมณ์ครอบก่อน ตั้งแต่สั่งดังนั้นแล้วก็ป่วยลงอยู่ได้ ๗ วัน ก็ถึงอนิจกรรม พระอักษรสุนทรศาสนเจ้าพระยาจักรีมิได้มีความมักใหญ่ใฝ่สูง ตั้งตัวเป็นใหญ่ต่อไปแอบอาศัยอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ซึ่งครั้งนั้นตกอยู่ในอำนาจพระพากุลเถร เมืองฝาง ชื่อตัวชื่อเรือนซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองฝ่ายเหนือแผ่นอำนาจลงมา ข้างใต้จนถึงเมืองพิจิตรข้างตะวันตก ไปถึงเมืองสวรรคโลกและเมืองสุโขทัย พระอักษรสุนทรศาสน อาศัยอยู่เมือง พิษณุโลกไม่ช้าป่วยลงก็สิ้นชนม์ชีพ จึงท่านมาภรรยาน้อยกับบุตรชายเล็กเกิดแต่ท่านมาชื่อลา ซึ่งตามขึ้นไปด้วย แต่แรกได้ทำสรีรณาปณกิจถวายเพลิงเสร็จแล้วเก็บพระอัฏฐิรวบรวมรักษาไว้ด้วยดี กับมหาสังข์อุตราวัฎเป็นของดั้งเดิม ของท่านพระอักษรสุนทรศาสน จึงคุมไปถวายพระโอรสององค์ใหญ่ของท่านพระอักษรสุนทรศาสน ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้า ยามหากษัตริย์ศึกพิลึกมหิมาในแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว เมื่อพระโอรสององค์ที่สองของท่านพระอักษรสุนทรศาสน ได้ขึ้นไปเป็นเจ้าพระสุรศรีพิษณวาธิราช ผู้สำเร็จราชการเมืองพระพิษณุโลกในแผ่นดินกรุงธนบุรีนั้นบุตรชายน้อย ของท่านพระอักษรสุนทรศาสนเกิดแต่ท่านมา ก็ตามขึ้นไปด้วยเป็นนายโขนของเจ้าพระยาศรีพิษณวาธิราช

ครั้นเมื่อล่วงแผ่นดินกรุงธนบุรีแล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกพิลึกมหิมาและเจ้าพระยาศุรศรีพิษณวาธิราช ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติ ในพระบรมมหาราชวัง และพระบวรราชวังแล้ว เจ้าลาพระอนุชาธิบดีซึ่งเป็นนายโขนนัน พระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงตั้งให้เป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงจักรเจษฎา พระบรมอัฎฐิของท่านพระอักษรสุนทรศาสน ซึ่งเป็นสมเด็จพระชนกนารถ และพระมหาสังขอุตราวัฏของเดิมซึ่งว่านั้น ก็ยังประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง กรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุธยาบรมมหาราชวัง กรุงรัตนโกสินมหินทรายุธยาบรมราชธานี เป็นสิ่งของสำคัญเครื่องระลึก ถึงพระบรมราชบรรพบุรุษสืบมาจนกาลทุกวันนี้


ภายในพระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธชินราช ในปัจจุบัน
ภายในพระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธชินราช ในปัจจุบัน


บรรยายเรื่องทั้งปวงนี้ คือจะสำแดงท่านทั้งหลายซึ่งเป็นต้นเป็นเค้า ของพระบรมราชวงศ์ผู้ตั้งขึ้นแลดำรง ณ กรุงรัตนโกสินทรมหิทรายุธยานี้ แต่เดิมได้เคยสร้างเสพย์นมัสการ นับถือพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดาสามพระองค์มาแต่ก่อน พระพุทธรูปสามพระองค์นี้ก็เป็นมหัศจรรย์คิดแต่แรกสร้างมา จนถึงปีที่ตั้งต้น พระบรมราชวงศ์กรุงรัตนโกสินทรมหินทราอยุธยาบีดนี้ นานได้ถึง ๘๒๕ ปี ซึ่งเป็นระหว่างพระพุทธศาสนกาลแต่ ๑๕๐๐ จนถึง ๒๓๒๑ ฤาแต่จุลศักราช ๓๑๙ จน ๑๑๔๔ เมืองพระพิษณุโลกก็เปลี่ยนเจ้าผลัดนายร้ายๆดีๆ ลางทีเป็นเมืองหลวง ลางทีเป็นเมืองขึ้นมาหลายครั้งหลายหน ข้าศึกมาแต่อื่นเข้าผจญเอาได้ เอาไฟจุดเผาถิ่นที่ต่างๆ ในเมืองนั้นเสียเกือบหมด แต่พระพุทธรูปสามพระองค์นี้ ก็มิได้เป็นอันตรายควรเป็นเป็นอัศจรรย์ คนเป็นอันมาสำคัญมีเทวดารักษาและบางจำพวก สำคัญเห็นเป็นแน่ว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีสองพระองค์นั้น งามแหลมแก่ตามากกว่าพระพุทธรูปใหญ่น้อย บรรดามี ในแผ่นดินสยามทั้งปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ และตลาดกาลนานมาถึง ๙๐๐ ปีมีผู้เลียนปั้นเอาอย่างไปก็มากมาย หลายตำบล จะมีพระพุทธรูปที่คนเป็นอันมาก ดูเห็นว่าเป็นดีเป็นงามกว่า พระพุทธชินราชพระพุทธชินศรี สองพระองค์นี้ ไปก็ไม่มี จึงคาดเห็นว่าเมื่อทำชรอยช่างที่เป็นผีสางเทวดา ที่นับถือพระพุทธศาสนาและมีอายุยืนมา ได้เคยเห็นพระพุทธเจ้า จะเข้าไปสิงในตัวฦาดลใจช่างผู้ทำ ให้ทำไปตามน้ำใจของมุนษย์ดัง นึ่งประขาวที่ว่าก่อนนั้น ถ้าจะเป็นของมนุษย์ทำ ก็จะคล้ายละม้ายกันกับพระพุทธรูปอื่นโดยฝีมือช่างในเวลานั้น ดังรูปพรรณพระเหลือ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปฏิมาฆระสถาน วิฟารน้อยที่โพธิ์สามเส้า ที่หล่อพระพุทธรูปสามพระองค์นั้น ก็เป็นฝืมือช่างในครั้งคราวเดียวกัน แต่รูปพรรณก็ละม้าย คล้ายกับพระพุทธรูปสามัญ ที่เป็นฝีมือช่างเมืองพิษณุโลกไม่แปลกไปเพราะฉะนั้นจึงมีที่มีสติปัญญา ซึ่งได้เห็นได้ พิจารณาศิริวิลาส พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี ยินดีนิยมนับถือด้วยกันเป็นอันมากไม่วางวาย และคนที่เป็นประขาว มานั้น ก็เห็นปรากฏชัดว่ามิใช่มนุษย์ เพราะฉะนั้นจึงเห็นว่าพระพุทธรูปทั้งสามพระองค์นี้มีเทวดาทำ ชนทั้งปวงจึงได้นับถือ บูชาเป็นอันมากมาจนทุกวันนี้แล ๚ะ๛

นำมาจาก http://th.wikisource.org

ขอเชิญทุกท่านร่วมนำเสนอความคิดเห็นได้ทุกบทความและสมัครเป็นสมาชิกบล็อคได้


27 พฤศจิกายน 2551

เปิดโลกกว้างเปิดความคิด ผ่านการหลักรัฐศาสตร์ 3


ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยใหม่ๆกลางๆ ทั้งของรัฐและเอกชนเปิดสาขารัฐศาสตร์ระดับปริญญาตรี กันเต็มไปหมด ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด ยิ่งไปกว่านั้นมีมหาวิทยาลัยบางที่เปิดปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ หลักสูตร 1 ปี ไม่มีทำวิทยานิพธ์ หลักสูตรแบบนี้ค่าเทอมแสนแพง แต่คงจะได้แต่ปริมาณมากกว่าคุณภาพ ถ้าหากมหาวิทยาลัยมุ่งที่จะผลิตบัณฑิตแบบนี้ต่อไปเพื่อเอาปริมาณมากกว่าคุณภาพก็คงไม่มีความหมายและความสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้นไม่มีการทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ ก็จะเป็นการผลิตบัณฑิตที่ไร้ทิศทางนักศึกษาที่จบมาก็ไร้คุณภาพ ครั้งที่แล้วกล่าวถึงวิชารัฐศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ว่าควรมีหลักสูตรการทำวิจัยก่อนสำเร็จหลักสูตรสาขารัฐศาสตร์ ้ำเพื่อเพิ่มแนวความคิดให้กว้างไกล ให้มีแนวคิดการแก้ไขปัญหาของชาติ และพัฒนาบ้านเมือง ตามแนวคิดของเขาที่จับต้องได้คือเป็นรูปธรรมได้มากว่าการเรียนตามหลักสูตรจนสำเร็จการศึกษาที่เป็นนามธรรม และดีกว่าเป็นนักรัฐศาสตร์ด้านประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอย่างเดียวหรือเรียกว่ารัฐศาสตร์นั้นเอง ไม่ได้คิดว่าการเีรียนด้านประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอย่างเดียวแล้วจบมาไม่ดีแต่ควรจะมีสิ่งดีกว่าเดิมที่มีอยู่ เพื่อการเป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีอุดมการณ์ตามแนวประชาธิปไตยของไทยที่มีพระมหากษัตรย์เป็นประมุข และการเป็นนักปกครองในหน่วยงานต่างๆของรัฐที่มีแนวความคิดที่กว้างไกลและแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า ตามงานวิจัยที่เขาได้ทำมา ด้วยการเพิ่มเติมหลักสูตรงานวิจัยก่อนจบหลักสูตรปริญญาตรี
เปิดโลกกว้างเปิดความคิดรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง
ที่ผ่านมามีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ชาวอเมริกันได้พัฒนาความคิดไปอีกระดับที่เลือกตั้งให้นายบารัค โอบามา เป็นประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก ตามที่ทุกคนพูดกันติดปากว่า "change" ตามคำพูดของนายบารัค โอบามา แต่ในประเทศไทย การเมืองการปกครองของรัฐบาลที่มีคนทุกสาขาเข้ามาเป็น ส.ส. และตลอดถึงเป็นนายกและรัฐมนตรี เมื่อมาเป็นรัฐบาลแล้วก็รวมเรียกว่าเป็นรัฐศาสตร์ คือการเมืองการปกครอง ที่จะทำให้ประเทศและคนในชาติมีความเจริญก้าวหน้า ชาติทุกชาติแถบเอเชียเช่นดียวกับไทย เช่น ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม เกาหลีใต้ อินเดีย เป็นต้น เขามีจิตที่พัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าแต่มีจิตสำนึกทางการเมืองการปกครองที่ดีด้วย เมื่อมีการคอร์รับชั่นเกิดขึ้นหรืออะไรอื่นๆที่ไม่ดีต่อรัฐบาลก็ยอมลาออก ที่นี้มาดูว่าในเมืองไทยมีใครคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองไทยหรือไหม ก็เห็นจะมีกลุ่มหนึ่ง ที่บอกว่าการเมืองใหม่ก็เป็นการ "change" เช่นเดียวกับอเมริกา

25 พฤศจิกายน 2551

เปิดโลกกว้างเปิดความคิด ผ่านการหลักรัฐศาสตร์ 2


ครั้งที่แล้วได้กล่าวถึง หลักวิชารัฐศาสตร์ ที่นี้สิ่งที่ควรจะมีในหลักสูตรมากขึ้นคือหลักคุณธรรมและศีลธรรม ในวิชารัฐศาสตร์ และควรจะมีการทำงานวิจัยแบบสารนิพนธ์เพิ่มเติม ก่อนจบหลักสูตรระดับปริญญาตรี เป็นการเพิ่มคุณภาพแนวความคิดด้านรัฐศาสตร์แบบก้าวหน้ามากกว่าเป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่ถ่องจำนำไปสอบจนจบหลักสูตร เพราะเพื่อคุณภาพของนักปกครองในอนาคต และเป็นการต่อยอดจากการเรียนประวัติศาสตร์ด้านรัฐศาสตร์ของนักปรัชญาและอื่นๆ เมื่อทำสารนิพนธ์เพิ่มเติมจะทำให้มีแนวคิดกว้างไกลที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นที่จะนำไปใช้ในอนาคตในการทำงานด้านต่างๆให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น ดีกว่าเป็นนักรัฐศาสตร์ทางประวัติศาสตร์ด้านการเมืองการปกครอง.
เป็นการเปิดโลกกว้างทางความคิด เมื่อมีการคิด สัพพวิญญูของความรู็ก็ก้าวไกล มีต่ออีกภาค 3
สุดท้าย

เปิดโลกกว้างเปิดความคิด ผ่านการหลักรัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ คือ ความรู้ที่เกี่ยวกับการเมืองและปกครองตามแนวคิดที่ดีที่สุด ภาษาอังกฤษเขียนว่า POLITICAL SCIENCE” ผู้ที่ช่ำชองในยุทธจักรด้านการเมืองการปกครอง คือ เพลโต (Plato , 427-347 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาทฤษฎีการเมืองและอริสโตเติล (Aristotle,384-322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ผู้ถือว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์ตะวันตก เขาสองคนนี้เสนอแนวคิดที่ดีที่สุดในการปกครองในสมัยนั้น คือแนวความคิด ที่สำคัญของนักปรัชญาการเมืองกรีกโบราณทั้งเพลโตและอริสโตเติลนั้น มุ่งพิจารณาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างมนุษย์กับรัฐในแง่คิดปรัชญาการ เมือง(political philosophy) ด้วยการมองปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น การแสวงหาความยุติธรรม และรูปแบบของการปกครองที่ดี โดยมีภารกิจหลักพื้นฐานหรือที่เรียกว่าเจตจำนงค์อันเป็นเป้าหมายทางการเมือง ของรัฐและรัฐบาลคือการสร้างสรรชีวิตที่ดีแก่ประชาชนในรัฐ แต่ภายหลังก็มีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยคือ นักปราชญ์ กลุ่มสตอยอิกส์ (Stoic Philosophist) ในยุคโรมันตอนต้น มีทัศนะที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของเพลโตและอริสโตเติ้ลที่ว่าชีวิตที่ดีของ มนุษย์จะเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ภายใต้นครรัฐ ซึ่งเป็นการผูกเงื่อนไขในเรื่องความจำเป็นของการมีรัฐและรูปแบบของรัฐไว้กับการมีชีวิตที่ดีของมนุษย์ในรัฐ และเห็นว่า ชีวิตที่ดีของมนุษย์นั้นแท้จริงก็คือความเป็นปัจเจกชนที่ไม่ต้องผูกพันธ์อยู่กับรัฐ เพราะรัฐและอำนาจการเมือง เป็นสิ่งที่มนุษย์สูญเสียเสรีภาพที่มีมาพร้อมกับความเป็นปัจเจกบุคคล รวมทั้งความเสมอภาคในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน แต่แนวคิดของ กลุ่มสตอยอิกส์ก็ไม่ได้รับการยอมรับ เพราะรูปแบบของรัฐในปัจจุบันของมนุษย์ผูกพันธ์อยู่กับรัฐ ตามแนวคิดของ เพลโตและอริสโตเติล
แนววิชาด้านรัฐศาสตร์
ในปัจจุบันนักรัฐศาสตร์เรียนรู้แค่หลักรัฐศาสตร์ในอดีตและเป็นการศึกษาเรื่องในอดีตที่เกิดขึ้นมาแล้วหรือศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองนั้นเอง เพื่อเป็นแนวทางการประกอบอาชีพด้านการปกครองเช่นเมื่อจบไปแล้วก็ไปสอบเป็นปลัดอำเภอ เป็นนายอำเภอ เป็นผู้ว่าจังหวัด และเป็นนักการเมือง วิชาด้านรัฐศาสตร์ไม่ควรเป็นวิชาการด้านความจำเพื่อตอบปัญหาตอนสอบกลางภาคและปลายภาคเท่านั้น แต่ควรเป็นวิชาที่พัฒนาการแนวความคิดใหม่ๆที่ดีควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นนักรัฐศาสตร์ที่หัวก้าวหน้าและพัฒนา เมื่อมองการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา การเมืองอเมริกาเป็นแบบก้าวหน้า หรือแม้แต่ของอังกฤษ ไม่เป็นนักรัฐศาสตร์ประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นรัฐศาสตร์แบบก้าวหน้าพัฒนาบ้านเมือง.


08 พฤศจิกายน 2551

มองธรรมะ ผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา


นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาจนถึงปัจจุบันนี้ นายบารัค โอบามา "Barack Obama" มีชื่อเต็มว่าบารัค ฮุสเซน โอบามา ที่ 2 (Barack Hussein Obama II) เขาเกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2504 และเขาเป็นคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันผิวดำคนแรกที่ได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนที่ 44 เป็นการมองธรรมะผ่านการเลือกตั้งได้ว่า คนอเมริกันมีความคิดที่ไม่แบ่งแยกผิวอีกต่อไป แต่คนอเมริกันมองที่ความสามารถของคนมากกว่าสีผิว นายบารัค โอบามา จึงสร้างประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐครั้งใหม่ ซึ่งมีหลักธรรมะว่าไว้ว่า

นำชีวิตให้ถึงจุดหมาย คือ (พระพรหมคุณาภรณ์ ,ป.อ. ปยุตฺโต)

ก. จุดหมาย ๓ ขั้น ดำเนินชีวิต ให้บรรลุจุดหมาย (อัตถะ) ๓ ขั้น คือ
ขั้นที่ ๑ ทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมายขั้นตาเห็น หรือ ประโยชน์ปัจจุบัน
ก) มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไร้โรค อายุยืน ข) มีเงินมีงาน มีอาชีพสุจริต พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ ค) มีสถานภาพดี เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม ง) มีครอบครัวผาสุก ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือทั้ง ๔ นี้ พึงให้เกิดมีโดยธรรม และใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
ขั้นที่ ๒ สัมปรายิกัตถะ จุดหมายขั้นเลยตาเห็น หรือ ประโยชน์เบื้องหน้
ก) มีความอบอุ่นซาบซึ้งสุขใจ ไม่อ้างว้างเลื่อนลอย มีหลักยึดเหนี่ยวใจให้เข้มแข็ง ด้วยศรัทธา ข) มีความภูมิใจ ในชีวิต สะอาด ที่ได้ประพฤติแต่การอันดีงาม ด้วยความสุจริต ค) มีความอิ่มใจ ในชีวิตมีคุณค่า ที่ได้ทำประโยชน์ตลอดมาด้วยน้ำใจเสียสละ ง) มีความแกล้วกล้ามั่นใจ ที่จะแก้ไขปัญหา นำชีวิตและภารกิจไปได้ด้วยปัญญา จ) มีความโล่งจิตมั่นใจ มีทุนประกันภพใหม่ ด้วยได้ทำไว้แต่กรรมที่ดี
ขั้นที่ ๓ ปรมัตถะ จุดหมายสูงสุด หรือ ประโยชน์อย่างยิ่ง
ก) ถึงถูกโลกธรรมกระทบ ถึงจะพบความผันผวนปรวนแปร ก็ไม่หวั่นไหว มีใจเกษมศานต์มั่นคง ข) ไม่ถูกความยึดติดถือมั่นบีบคั้นจิต ให้ผิดหวังโศกเศร้า มีจิตโล่งโปร่งเบาเป็นอิสระ ค) สดชื่น เบิกบานใจ ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง ผ่องใส ไร้ทุกข์ มีความสุขที่แท้รู้เท่าทันและทำการตรงตามเหตุปัจจัย ชีวิตหมดจดสดใส เป็นอยู่ด้วยปัญญา
ถ้าบรรลุจุดหมายชีวิตถึงขั้นที่ ๒ ขึ้นไป เรียกว่าเป็น "บัณฑิต"
ข. จุดหมาย ๓ ด้าน จุดหมาย ๓ ขั้นนี้ พึงปฏิบัติให้สำเร็จครบ ๓ ด้าน คือ
ด้านที่ ๑ อัตตัตถะ จุดหมายเพื่อตน หรือประโยชน์ตน คือประโยชน์ ๓ ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงทำให้เกิดเป็นขึ้นแก่ตนเอง หรือพัฒนาชีวิต ของตนขึ้นไปให้ได้ให้ถึง
ด้านทื่ ๒ ปรัตถะ จุดหมายเพื่อผู้อื่น หรือประโยชน์ผู้อื่น คือ ประโยชน์ ๓ ขั้น ข้างต้น ซึ่งพึงช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้ให้ถึงด้วยการชักนำสนับสนุนให้เขาพัฒนาชีวิตของตนขึ้นไปตามลำดับ
ด้านที่ ๓ อุภยัตภะ จุดหมายร่วมกัน หรือ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ประโยชน์สุขและความดีงามร่วมกันของชุมชนหรือสังคมรวมทั้งสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ซึ่งพึงช่วยกันสร้างสรรค์บำรุงรักษา เพื่อเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นก้าวไปสู่จุดหมาย ๓ ขั้นข้างต้น
การมองธรรมะผ่านการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกายังมองได้ตามหลักธรรมะได้อีกคือ
มรรคมีองค์ 8 คือทางดำเนินชีวิตอันเป็นสุขร่วมกัน
หลักธรรมะข้อนี้ถือว่าสำคัญที่เดียวเพราะคนเราเมื่ออยู่ร่วมกันการมีจริยธรรมทางใจและทางกายมีความสำคัญมาก ที่ว่าทำไมคนอเมริกันจึงเข้าข่ายมรรคมีองค์ 8 ดังนี้ แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทางใจ เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว
คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ 1. สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง 2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง 3. สัมมาวาจาคือการพูดจาถูกต้อง 4. สัมมากัมมันตะคือการกระทำถูกต้อง 5. สัมมาอาชีวะคือการดำรงชีพถูกต้อง 6. สัมมาวายามะคือความพากเพียรถูกต้อง 7. สัมมาสติคือการระลึกประจำใจถูกต้อง 8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกันแล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือการปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา การได้คนผิวสีเป็นการเปลี่ยนแปลงสหรัฐอเมริกาอย่างสิ้นเชิง เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางธรรมะ และสิ่งดีๆๆ

27 ตุลาคม 2551

วิชาประวัติศาสตร์ไมได้เลือนหายแต่ IT และ ICT มาแรงกว่า

มีหลายๆคนเป็นห่วงการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ว่าน่าจะมีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้มีการจัดการศึกษาด้านนี้โดยให้มีมากยิ่งขึ้น เห็นว่าจะจริงเพราะคนสมัยนี้หรือในยุคของ IT (Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ) หลุ่มหลงกับเทคโนโลยีมากเกินไป หรือบริโภคเทคโนโลยีกันอย่างลืมตัว
ประวัติศาสตร์ (History) ตามความหมาย
1.พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ประวัติศาสตร์ คือ วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้น ตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน
2.โรบิน ยอร์ช คอลลิงวูด (Robin George Collingwood) กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพยายามที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต
3.โรเบอร์ต วี.แดเนียลส์ (Robert V.Daniels) กล่าวว่า ประวัติศาสตร์คือความทรงจำว่าด้วยประสบการณ์ของมนุษย์ ซึ่งถ้าหากถูกลืมหรือละเลย ก็เท่ากับว่าเราได้ยุติแนวทางอันบ่งชี้ว่าเราคือมนุษย์
4.เจมส์ ฮาเวย์ โรบินสัน (James Harvey Robinson) กล่าวไว้ ประวัติศาสตร์คือ ทุกสิ่งที่มนุษย์ได้ทำ ได้คิด ได้หวัง หรือได้รู้สึก
5.ประวัติศาสตร์ คือการศึกษาประวัติความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จากการที่ได้บันทึกเก็บไว้ หรือประสบการณ์จากผู้มีอาวุโส ความหมายของคำนี้เกิดจากการสมาสคำศัพท์ภาษาบาลี "ประวัติ" (ปวตฺติ) ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไป และคำศัพท์ภาษาสันสกฤต "ศาสตร์" (ศาสฺตฺร) ซึ่งแปลว่า ความรู้

ประวัติศาสตร์ยังจำแนกการศึกษาได้ดังนี้
การจำแนกประวัติศาสตร์ตามภูมิภาคที่ตั้งภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์ยุโรป
ประวัติศาสตร์อเมริกา
ประวัติศาสตร์เอเชีย
ประวัติศาสตร์แอนตาร์กติกา
ประวัติศาสตร์แอฟริกา
ประวัติศาสตร์โอเชียเนีย

ประวัติศาสตร์จำแนกตามอนุภูมิภาค
ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
ประวัติศาสตร์ละตินอเมริกา
ประวัติศาสตร์อเมริกากลาง
ประวัติศาสตร์แคริบเบียน
ประวัติศาสตร์ยูเรเชีย
ประวัติศาสตร์เอเชียใต้
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกกลาง
ประวัติศาสตร์ออสตราเลเชีย(ประเทศออสเตรเลีย,เกาะนิวกินี,ประเทศนิวซีแลนด์)
ประวัติศาสตร์หมู่เกาะแปซิฟิก(โพลินีเซีย,ไมโครนีเซีย,เมลานีเซีย)

IT:Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาช่วยในการรวบรวม ประมวลผล สรุป จัดเก็บ และเผยแพร่ สารสนเทศที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร ภาพ และเสียง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) มาสู่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies : ICT) แต่ระยะหลัง ICT มีบทบาทมาก กล่าวคือ ได้ใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารที่นอกจากจะรวมเอาอุปกรณ์คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยทำการประมวลผลข้อมูล (Data) ให้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เป็นสารสนเทศ (Information) ที่มี ความหมายในการบริหารจัดการแล้ว ยังใช้อุปกรณ์ทางการสื่อสาร (Communication) ช่วยเชื่อมโยงไปหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกล (Remote Area) โดยใช้โทรศัพท์ ดาวเทียม ไมโครเวฟ ทำให้การรับส่งและแลกเปลี่ยนเอกสารเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) จึงสามารถติดต่อข้อมูลข่าวสารได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเอง Information and Communication Technology (ICT) มีความหมายถึง Information Technology (IT) และ Communication Technology (CT) (Mallard, 2002) 1) IT หมายถึง อุปกรณ์ (Hardware) และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) ซึ่งใช้เพื่อการเข้าถึง แก้ไข จัดเก็บ รวบรวม ควบคุม และนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (1) Hardware ได้แก่ Personal Computers, Scanners และ Digital Cameras เป็นต้น (2) Software ได้แก่ Database Storage Programs และ Multimedia Programs เป็นต้น 2) CT หมายถึง อุปกรณ์โทรคมนาคม (Tele-communication Equipment) ใช้เพื่อประโยชน์ในการค้นหาและเข้าถึงสารสนเทศ ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

สรุป ดังนั้นจะกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของมนุษย์ที่จะต้องเรียนรู้เพื่อให้รู้จักตนเองและสังคม ประเทศชาติ ความน่าสนใจของประวัติศาสตร์อยู่ตรงได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของมนุษย์ การตั้งเผ่าพันธ์ การคิด การทำ ของคนในอดีต ส่วนประโยชน์ของ IT และ ICT มีมากมายแต่ปัจจุบันคนหลุ่มหลงกับเทคโนโลยี หรือบริโภคเทคโนโลยีอย่างลืมตัว เพราะการแข่งขันของบริษัทที่ลงทุนด้าน ITและICT กันอย่างบ้าคลั่ง ของค่ายแต่ละค่ายแข่งกันทำเทคโนโลยีไฮเทคออกมาวางจำหน่ายกัน ทั้งค่ายโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ และอื่นๆอีกมาก อาจกล่าวได้ว่าคนทุกชาติเป็นทาสเทคโนโลยีก็ว่าได้ ถ้าหากไม่หันกลับมามองปัญหาที่กล่าวมานี้ คนทุกชาติจะลืมประวัติศาสตร์ตนเองอย่างแน่นอน.

25 ตุลาคม 2551

รัฐศาสตร์แนวพุทธ

รัฐศาสตร์แนวพุทธ ตอน จริยธรรมนักการเมือง
"ทำไมประชาธิปไตยจึงจะต้องให้ประชาชนมีการศึกษา เพราะว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น เราให้ประชาชนเป็นใหญ่ เรียกได้ว่าประชาชนเป็นผู้ปกครอง หรือเป็นการปกครองของประชาชน เมื่อประชาชนเป็นผู้ปกครอง ก็คือประชาชนเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ โดยถือเอาเสียงส่วนมากเป็นใหญ่ จะต้องเข้าใจกันให้ชัดว่า เสียงส่วนใหญ่นั้นตัดสินความจริง หรือแม้กระทั่งความดีงามไม่ได้ แต่เสียงส่วนใหญ่นั้นตัดสินความต้องการได้ ที่บอกว่าประชาชนเป็นใหญ่ เอาเสียงข้างมากตัดสินนั้น ก็คือตัดสินว่าประชาชนจะเอาอย่างไร แต่เสียงข้างมากนั้น ไม่เป็นเครื่องตัดสินว่า จริงหรือไม่จริง คนแม้จะมาก แต่ถ้าหากว่าโง่ ก็บอกว่าอะไรจริงไม่ได้ ดังที่ยกตัวอย่างบ่อยๆ เช่น เมื่อ ๑๐๐ ปีมาแล้ว คนร้อยล้าน พันล้านคน ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่บอกว่าโลกแบน อาจจะมีคนคนเดียวที่รู้ว่าโลกกลม และปรากฏว่าคนเดียวนั้นถูก แต่คนแปดสิบล้าน ร้อยล้าน พันล้านนั้นผิด เป็นอันว่า เสียงส่วนใหญ่ตัดสินความจริงไม่ได้ ไม่ว่าคนจะว่าอย่างไร ความจริงก็เป็นอยู่อย่างนั้น เสียงส่วนใหญ่นั้นก็ตัดสินได้เฉพาะว่าจะเอาอย่างไร คือ บอกความต้องการของคน ที่ว่าสังคมประชาธิปไตยให้ใช้เสียงส่วนใหญ่ตัดสิน ก็คือบอกความต้องการของประชาชนว่าจะเอาอย่างไร แต่ความต้องการของประชาชนที่ว่าจะเอาอย่างไรนั้น จะเกิดประโยชน์ดีงามแท้จริง ก็ต่อเมื่อประชาชนมีความรู้ว่า อะไรจริง อะไรถูกต้อง อะไรดีงาม อะไรเป็นประโยชน์ไม่เป็นประโยชน์ แล้วเลือกตัดสินใจเอาสิ่งที่ถูกต้องดีงามเป็นประโยชน์ คนที่จะรู้ว่าอะไรดีงาม จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ก็จะต้องเรียนรู้ คือต้องมีการศึกษา เพราะฉะนั้น ในสังคมประชาธิปไตยจึงต้องมีการพัฒนาคนด้วยการศึกษา ให้มีปัญญาเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ เพื่อให้ถึงจุดบรรจบที่ว่า ประชาชนที่ว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่นั้น จะได้ตัดสินใจเลือกเอาสิ่งที่ถูกต้องดีงามเป็นประโยชน์ เมื่อใดการตัดสินใจของประชาชนซึ่งเลือกเอาสิ่งที่ต้องการนั้น ไปตรงกับสิ่งที่จริงดีงามถูกต้องเป็นประโยชน์แท้จริง เมื่อนั้นก็เป็นความสำเร็จของประชาธิปไตย แต่ถ้าประชาธิปไตยได้แค่ให้เสียงส่วนใหญ่เลือกตัดสินใจเอาสิ่งที่ต้องการ โดยไม่พัฒนาปัญญาให้รู้ว่า อะไรเป็นสิ่งดีงามที่ควรต้องการ อันนั้นก็อาจจะเป็นหายนะของสังคมประชาธิปไตย ซึ่งเวลานี้ต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาอย่างยิ่ง คือ คนเลือกเอาสิ่งที่ตัวเองอยากได้อยากเอาเฉยๆ ทั้งที่มันเป็นโทษ ไม่ดีไม่งามไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ที่แท้จริง ฉะนั้น ผู้นำของประเทศชาติบ้านเมือง ทั้งผู้ปกครอง ผู้บริหาร และนักการเมือง จะต้องมีการศึกษาอยู่เสมอ "
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ. ปยุตฺโต) จากหนังสือรัฐศาสตร์แนวพุทธขอเสนอ หนังสือ "รัฐศาสตร์แนวพุทธ"ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ. ปยุตฺโต) เล่มนี้ ให้เป็นคู่มือในการปฏิรูปการเมืองครั้งต่อไป
ขอเชิญดาว์นโหลดไฟล์หนังสือเล่มนี้ ได้ทีนี่ http://www.budpage.com/political.pdf
-->

24 ตุลาคม 2551

บรมครูศาสดาเอกของโลก



เจ้าชายสิทธิธัตถะหรือ ภายหลังได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเข้าถึงพระปรินิพานและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธ ก่อนที่เจ้าชายสิทธิธัตถะจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้านั้นพระองค์ทรงร่ำเรียนและสำเร็จศิลปศาสตร์ 18 ศาสตร์ ที่ยากจะมีบุคคลธรรมดาจะมีสติปัญญาเสมอเหมือนได้ ศิลปศาสตร์ ทั้ง 18 ศาสตร์ ที่เจ้าชายสิทธิธัตถะได้ทรงศึกษาร่ำเรียนนั้น คือวิชาหรือศาสตร์ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน แสดงว่าการศึกษาเล่าเรียนในอดีตกาลสมัยพระพุทธเจ้ามีมาแล้วกว่า 2500 กว่าปี ศาสตร์ที่เจ้าชายสิทธิธัตถะทรงสำเร็จมีดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ วิชานักรบ
2. รัฐศาสตร์ วิชาการปกครอง
3. นิติศาสตร์ วิชากฎหมายและจารีตประเพณีต่างๆ
4. พาณิชยศาสตร์ วิชาการค้า
5. อักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดี
6. นิรุกติศาสตร์ วิชาภาษาทั้งของตน และของชนชาติ ที่เกี่ยวข้องกัน
7. คณิตศาสตร์ วิชาคำนวณ
8. โชติยศาสตร์ วิชาดูดวงดาว
9. ภูมิศาสตร์ วิชาดูพื้นที่ และรู้จักแผนที่ของประเทศต่างๆ
10.โหราศาสตร์ วิชาโหรรู้จักพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ
11.เวชศาสตร์ วิชาแพทย์
12.เหตุศาสตร์ วิชาว่าด้วยเหตุผล หรือตรรกวิทยา
13.สัตวศาสตร์ วิชาดูลักษณะสัตว์ และรู้เสียงสัตว์ว่าดี หรือร้าย
14.โยคศาสตร์ วิชาช่างกล
15.ศาสนศาสตร์ วิชาศาสนารู้ความเป็นมา และหลักศาสนาทุกศาสนา
16.มายาศาสตร์ วิชาอุบาย หรือตำหรับพิชัยสงคราม
17.คันธัพพศาสตร์ วิชาร้องรำ หรือนาฎยศาสตร์ และวิชาดนตรี หรือดุริยางค์ศาสตร์
18.ฉันทศาสตร์ วิชาการประพันธ์
ครั้นเจ้าชายสิทธิถัตถะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าทรงสำเร็จหรือตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง 2 ศาสตร์คือ
1.ธรรมศาสตร์ วิชาหลักธรรมมีอริยสัจจ์ 4 เป็นต้น
2.พระนิพพานศาสตร์ วิชาการเข้าถึงพระนิพพาน
2 วิชาหลังที่ว่านี้ผู้เขียน เขียนขึ้นมาเองแต่ก็น่าจะเป็นจริงเพราะเรามีหลักฐานที่ร่ำเรียนกันในระดับนักธรรมและในมหาวิทยาลัย ที่รวมแล้วเราเรียกว่าพระไตรปิฏก นั้นเอง.

23 ตุลาคม 2551

บทความการศึกษา

บทความการศึกษา

การศึกษา คือการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเท คโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็น มากขึ้นด้วย การศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีความสุข จะต้องมีลักษณะ ที่สำคัญดังนี้ 1. เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะทางด้านภาษา การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพปัจจุบันมีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น 2. การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพ 3. การศึกษาต้องสร้างนิสัยที่ดีงาม ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยเฉพาะนิสัยรักการ เรียนรู้ และนิสัยอื่น ๆ เช่นความเป็นคนซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รับผิดชอบ เป็นต้น 4. การศึกษาต้องสร้างความงอกงามทางร่างกาย มีสุขภาพพลามัยที่ดี รู้จัก รักษาตนให้แข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และสารพิษ 5. การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวมให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในสังคม อยู่รวมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยสร้างสังคมที่สงบเป็นสุข รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน 6. การศึกษาต้องทำให้คนมีทักษะการงานอาชีพที่เพียงพอกับการเข้าสู่การงานอาชีพ รู้จักการประกอบอาชีพและรู้จักพัฒนาการงานอาชีพ ทั้ง 6 ประการ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่จำเป็น ที่คนจะต้องได้รับรู้อย่างทั่วถึงทุกคน ถ้าทุกคนได้รับอย่างครบถ้วน เพียงพอก็จะทำให้เกิดทักษะลักษณะและนิสัยที่พึงประสงค์ได้ การศึกษาจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพียงสำหรับคนบางคน แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ขาดความพร้อมในปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ยิ่งมีความ จำเป็นมากที่สุด คนที่ขาดความพร้อมต้องการการศึกษามาก มักเป็นกลุ่มคนที่ถูกลืมตลอดเวลา การศึกษาที่ได้รับก็มักเป็นบริการที่กระท่อนกระแท่น ไม่เพียงพอกับการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่พอแม้เพียงเพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย ตรงข้ามกับผู้ที่มีความพร้อมพอจะช่วยตนเองได้ กลับได้รับบริการที่มีคุณภาพและปริมาณที่ดีกว่ามาก ดังจะเห็นได้จากสถานศึกษาในเมืองกับในชนบท ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ การศึกษานอกจาก จะไม่สามารถสร้างความพร้อมที่เพียงพอกับผู้ต้องการแล้ว ยังส่งเสริมให้ช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนแตกต่างกันมากขึ้นด้วย เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับยุทธศาสตร์การศึกษาเสียใหม่ให้หันมาให้ความสำคัญกับคนยากจนคนเสียเปรียบ และคนด้อยโอกาสให้มากขึ้นทรัพยากรของรัฐต้องนำมาใช้จ่าย เพื่อปรับปรุงบริการการศึกษา สำหรับคนยากจนให้ดีขึ้นเป็นพิเศษ ให้เพียงพอกับการสร้างลักษณะสิสัยและความพร้อมที่จำเป็น ถ้าคนยากจน คนเสียเปรียบ คนด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และมีคุณภาพ แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ในบ้านเมืองก็จะลดน้อยลงไปโดยปริยายและยังทำให้เขากลายเป็นกำลัง สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดีด้วย การศึกษานอกจากเป็นปัจจัยที่ 5 แล้ว ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต และเป็นปัจจัยเพื่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติในอนาคตอีกด้วย เราจงฝากความหวังของชาติ ด้วยการพัฒนาการศึกษากันเถิด
ที่มาhttp://www.student.chula.ac.th/~49447199/Related%20word.htm