Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

27 ตุลาคม 2551

วิชาประวัติศาสตร์ไมได้เลือนหายแต่ IT และ ICT มาแรงกว่า

มีหลายๆคนเป็นห่วงการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ว่าน่าจะมีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้มีการจัดการศึกษาด้านนี้โดยให้มีมากยิ่งขึ้น เห็นว่าจะจริงเพราะคนสมัยนี้หรือในยุคของ IT (Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ) หลุ่มหลงกับเทคโนโลยีมากเกินไป หรือบริโภคเทคโนโลยีกันอย่างลืมตัว
ประวัติศาสตร์ (History) ตามความหมาย
1.พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ประวัติศาสตร์ คือ วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้น ตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน
2.โรบิน ยอร์ช คอลลิงวูด (Robin George Collingwood) กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพยายามที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต
3.โรเบอร์ต วี.แดเนียลส์ (Robert V.Daniels) กล่าวว่า ประวัติศาสตร์คือความทรงจำว่าด้วยประสบการณ์ของมนุษย์ ซึ่งถ้าหากถูกลืมหรือละเลย ก็เท่ากับว่าเราได้ยุติแนวทางอันบ่งชี้ว่าเราคือมนุษย์
4.เจมส์ ฮาเวย์ โรบินสัน (James Harvey Robinson) กล่าวไว้ ประวัติศาสตร์คือ ทุกสิ่งที่มนุษย์ได้ทำ ได้คิด ได้หวัง หรือได้รู้สึก
5.ประวัติศาสตร์ คือการศึกษาประวัติความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จากการที่ได้บันทึกเก็บไว้ หรือประสบการณ์จากผู้มีอาวุโส ความหมายของคำนี้เกิดจากการสมาสคำศัพท์ภาษาบาลี "ประวัติ" (ปวตฺติ) ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไป และคำศัพท์ภาษาสันสกฤต "ศาสตร์" (ศาสฺตฺร) ซึ่งแปลว่า ความรู้

ประวัติศาสตร์ยังจำแนกการศึกษาได้ดังนี้
การจำแนกประวัติศาสตร์ตามภูมิภาคที่ตั้งภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์ยุโรป
ประวัติศาสตร์อเมริกา
ประวัติศาสตร์เอเชีย
ประวัติศาสตร์แอนตาร์กติกา
ประวัติศาสตร์แอฟริกา
ประวัติศาสตร์โอเชียเนีย

ประวัติศาสตร์จำแนกตามอนุภูมิภาค
ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
ประวัติศาสตร์ละตินอเมริกา
ประวัติศาสตร์อเมริกากลาง
ประวัติศาสตร์แคริบเบียน
ประวัติศาสตร์ยูเรเชีย
ประวัติศาสตร์เอเชียใต้
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกกลาง
ประวัติศาสตร์ออสตราเลเชีย(ประเทศออสเตรเลีย,เกาะนิวกินี,ประเทศนิวซีแลนด์)
ประวัติศาสตร์หมู่เกาะแปซิฟิก(โพลินีเซีย,ไมโครนีเซีย,เมลานีเซีย)

IT:Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาช่วยในการรวบรวม ประมวลผล สรุป จัดเก็บ และเผยแพร่ สารสนเทศที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร ภาพ และเสียง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) มาสู่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies : ICT) แต่ระยะหลัง ICT มีบทบาทมาก กล่าวคือ ได้ใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารที่นอกจากจะรวมเอาอุปกรณ์คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยทำการประมวลผลข้อมูล (Data) ให้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เป็นสารสนเทศ (Information) ที่มี ความหมายในการบริหารจัดการแล้ว ยังใช้อุปกรณ์ทางการสื่อสาร (Communication) ช่วยเชื่อมโยงไปหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกล (Remote Area) โดยใช้โทรศัพท์ ดาวเทียม ไมโครเวฟ ทำให้การรับส่งและแลกเปลี่ยนเอกสารเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) จึงสามารถติดต่อข้อมูลข่าวสารได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเอง Information and Communication Technology (ICT) มีความหมายถึง Information Technology (IT) และ Communication Technology (CT) (Mallard, 2002) 1) IT หมายถึง อุปกรณ์ (Hardware) และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) ซึ่งใช้เพื่อการเข้าถึง แก้ไข จัดเก็บ รวบรวม ควบคุม และนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (1) Hardware ได้แก่ Personal Computers, Scanners และ Digital Cameras เป็นต้น (2) Software ได้แก่ Database Storage Programs และ Multimedia Programs เป็นต้น 2) CT หมายถึง อุปกรณ์โทรคมนาคม (Tele-communication Equipment) ใช้เพื่อประโยชน์ในการค้นหาและเข้าถึงสารสนเทศ ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

สรุป ดังนั้นจะกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของมนุษย์ที่จะต้องเรียนรู้เพื่อให้รู้จักตนเองและสังคม ประเทศชาติ ความน่าสนใจของประวัติศาสตร์อยู่ตรงได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของมนุษย์ การตั้งเผ่าพันธ์ การคิด การทำ ของคนในอดีต ส่วนประโยชน์ของ IT และ ICT มีมากมายแต่ปัจจุบันคนหลุ่มหลงกับเทคโนโลยี หรือบริโภคเทคโนโลยีอย่างลืมตัว เพราะการแข่งขันของบริษัทที่ลงทุนด้าน ITและICT กันอย่างบ้าคลั่ง ของค่ายแต่ละค่ายแข่งกันทำเทคโนโลยีไฮเทคออกมาวางจำหน่ายกัน ทั้งค่ายโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ และอื่นๆอีกมาก อาจกล่าวได้ว่าคนทุกชาติเป็นทาสเทคโนโลยีก็ว่าได้ ถ้าหากไม่หันกลับมามองปัญหาที่กล่าวมานี้ คนทุกชาติจะลืมประวัติศาสตร์ตนเองอย่างแน่นอน.

25 ตุลาคม 2551

รัฐศาสตร์แนวพุทธ

รัฐศาสตร์แนวพุทธ ตอน จริยธรรมนักการเมือง
"ทำไมประชาธิปไตยจึงจะต้องให้ประชาชนมีการศึกษา เพราะว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น เราให้ประชาชนเป็นใหญ่ เรียกได้ว่าประชาชนเป็นผู้ปกครอง หรือเป็นการปกครองของประชาชน เมื่อประชาชนเป็นผู้ปกครอง ก็คือประชาชนเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ โดยถือเอาเสียงส่วนมากเป็นใหญ่ จะต้องเข้าใจกันให้ชัดว่า เสียงส่วนใหญ่นั้นตัดสินความจริง หรือแม้กระทั่งความดีงามไม่ได้ แต่เสียงส่วนใหญ่นั้นตัดสินความต้องการได้ ที่บอกว่าประชาชนเป็นใหญ่ เอาเสียงข้างมากตัดสินนั้น ก็คือตัดสินว่าประชาชนจะเอาอย่างไร แต่เสียงข้างมากนั้น ไม่เป็นเครื่องตัดสินว่า จริงหรือไม่จริง คนแม้จะมาก แต่ถ้าหากว่าโง่ ก็บอกว่าอะไรจริงไม่ได้ ดังที่ยกตัวอย่างบ่อยๆ เช่น เมื่อ ๑๐๐ ปีมาแล้ว คนร้อยล้าน พันล้านคน ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่บอกว่าโลกแบน อาจจะมีคนคนเดียวที่รู้ว่าโลกกลม และปรากฏว่าคนเดียวนั้นถูก แต่คนแปดสิบล้าน ร้อยล้าน พันล้านนั้นผิด เป็นอันว่า เสียงส่วนใหญ่ตัดสินความจริงไม่ได้ ไม่ว่าคนจะว่าอย่างไร ความจริงก็เป็นอยู่อย่างนั้น เสียงส่วนใหญ่นั้นก็ตัดสินได้เฉพาะว่าจะเอาอย่างไร คือ บอกความต้องการของคน ที่ว่าสังคมประชาธิปไตยให้ใช้เสียงส่วนใหญ่ตัดสิน ก็คือบอกความต้องการของประชาชนว่าจะเอาอย่างไร แต่ความต้องการของประชาชนที่ว่าจะเอาอย่างไรนั้น จะเกิดประโยชน์ดีงามแท้จริง ก็ต่อเมื่อประชาชนมีความรู้ว่า อะไรจริง อะไรถูกต้อง อะไรดีงาม อะไรเป็นประโยชน์ไม่เป็นประโยชน์ แล้วเลือกตัดสินใจเอาสิ่งที่ถูกต้องดีงามเป็นประโยชน์ คนที่จะรู้ว่าอะไรดีงาม จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ก็จะต้องเรียนรู้ คือต้องมีการศึกษา เพราะฉะนั้น ในสังคมประชาธิปไตยจึงต้องมีการพัฒนาคนด้วยการศึกษา ให้มีปัญญาเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ เพื่อให้ถึงจุดบรรจบที่ว่า ประชาชนที่ว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่นั้น จะได้ตัดสินใจเลือกเอาสิ่งที่ถูกต้องดีงามเป็นประโยชน์ เมื่อใดการตัดสินใจของประชาชนซึ่งเลือกเอาสิ่งที่ต้องการนั้น ไปตรงกับสิ่งที่จริงดีงามถูกต้องเป็นประโยชน์แท้จริง เมื่อนั้นก็เป็นความสำเร็จของประชาธิปไตย แต่ถ้าประชาธิปไตยได้แค่ให้เสียงส่วนใหญ่เลือกตัดสินใจเอาสิ่งที่ต้องการ โดยไม่พัฒนาปัญญาให้รู้ว่า อะไรเป็นสิ่งดีงามที่ควรต้องการ อันนั้นก็อาจจะเป็นหายนะของสังคมประชาธิปไตย ซึ่งเวลานี้ต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาอย่างยิ่ง คือ คนเลือกเอาสิ่งที่ตัวเองอยากได้อยากเอาเฉยๆ ทั้งที่มันเป็นโทษ ไม่ดีไม่งามไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ที่แท้จริง ฉะนั้น ผู้นำของประเทศชาติบ้านเมือง ทั้งผู้ปกครอง ผู้บริหาร และนักการเมือง จะต้องมีการศึกษาอยู่เสมอ "
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ. ปยุตฺโต) จากหนังสือรัฐศาสตร์แนวพุทธขอเสนอ หนังสือ "รัฐศาสตร์แนวพุทธ"ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ. ปยุตฺโต) เล่มนี้ ให้เป็นคู่มือในการปฏิรูปการเมืองครั้งต่อไป
ขอเชิญดาว์นโหลดไฟล์หนังสือเล่มนี้ ได้ทีนี่ http://www.budpage.com/political.pdf
-->

24 ตุลาคม 2551

บรมครูศาสดาเอกของโลก



เจ้าชายสิทธิธัตถะหรือ ภายหลังได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเข้าถึงพระปรินิพานและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธ ก่อนที่เจ้าชายสิทธิธัตถะจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้านั้นพระองค์ทรงร่ำเรียนและสำเร็จศิลปศาสตร์ 18 ศาสตร์ ที่ยากจะมีบุคคลธรรมดาจะมีสติปัญญาเสมอเหมือนได้ ศิลปศาสตร์ ทั้ง 18 ศาสตร์ ที่เจ้าชายสิทธิธัตถะได้ทรงศึกษาร่ำเรียนนั้น คือวิชาหรือศาสตร์ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน แสดงว่าการศึกษาเล่าเรียนในอดีตกาลสมัยพระพุทธเจ้ามีมาแล้วกว่า 2500 กว่าปี ศาสตร์ที่เจ้าชายสิทธิธัตถะทรงสำเร็จมีดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ วิชานักรบ
2. รัฐศาสตร์ วิชาการปกครอง
3. นิติศาสตร์ วิชากฎหมายและจารีตประเพณีต่างๆ
4. พาณิชยศาสตร์ วิชาการค้า
5. อักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดี
6. นิรุกติศาสตร์ วิชาภาษาทั้งของตน และของชนชาติ ที่เกี่ยวข้องกัน
7. คณิตศาสตร์ วิชาคำนวณ
8. โชติยศาสตร์ วิชาดูดวงดาว
9. ภูมิศาสตร์ วิชาดูพื้นที่ และรู้จักแผนที่ของประเทศต่างๆ
10.โหราศาสตร์ วิชาโหรรู้จักพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ
11.เวชศาสตร์ วิชาแพทย์
12.เหตุศาสตร์ วิชาว่าด้วยเหตุผล หรือตรรกวิทยา
13.สัตวศาสตร์ วิชาดูลักษณะสัตว์ และรู้เสียงสัตว์ว่าดี หรือร้าย
14.โยคศาสตร์ วิชาช่างกล
15.ศาสนศาสตร์ วิชาศาสนารู้ความเป็นมา และหลักศาสนาทุกศาสนา
16.มายาศาสตร์ วิชาอุบาย หรือตำหรับพิชัยสงคราม
17.คันธัพพศาสตร์ วิชาร้องรำ หรือนาฎยศาสตร์ และวิชาดนตรี หรือดุริยางค์ศาสตร์
18.ฉันทศาสตร์ วิชาการประพันธ์
ครั้นเจ้าชายสิทธิถัตถะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าทรงสำเร็จหรือตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง 2 ศาสตร์คือ
1.ธรรมศาสตร์ วิชาหลักธรรมมีอริยสัจจ์ 4 เป็นต้น
2.พระนิพพานศาสตร์ วิชาการเข้าถึงพระนิพพาน
2 วิชาหลังที่ว่านี้ผู้เขียน เขียนขึ้นมาเองแต่ก็น่าจะเป็นจริงเพราะเรามีหลักฐานที่ร่ำเรียนกันในระดับนักธรรมและในมหาวิทยาลัย ที่รวมแล้วเราเรียกว่าพระไตรปิฏก นั้นเอง.

23 ตุลาคม 2551

บทความการศึกษา

บทความการศึกษา

การศึกษา คือการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเท คโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็น มากขึ้นด้วย การศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีความสุข จะต้องมีลักษณะ ที่สำคัญดังนี้ 1. เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะทางด้านภาษา การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพปัจจุบันมีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น 2. การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพ 3. การศึกษาต้องสร้างนิสัยที่ดีงาม ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยเฉพาะนิสัยรักการ เรียนรู้ และนิสัยอื่น ๆ เช่นความเป็นคนซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รับผิดชอบ เป็นต้น 4. การศึกษาต้องสร้างความงอกงามทางร่างกาย มีสุขภาพพลามัยที่ดี รู้จัก รักษาตนให้แข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และสารพิษ 5. การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวมให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในสังคม อยู่รวมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยสร้างสังคมที่สงบเป็นสุข รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน 6. การศึกษาต้องทำให้คนมีทักษะการงานอาชีพที่เพียงพอกับการเข้าสู่การงานอาชีพ รู้จักการประกอบอาชีพและรู้จักพัฒนาการงานอาชีพ ทั้ง 6 ประการ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่จำเป็น ที่คนจะต้องได้รับรู้อย่างทั่วถึงทุกคน ถ้าทุกคนได้รับอย่างครบถ้วน เพียงพอก็จะทำให้เกิดทักษะลักษณะและนิสัยที่พึงประสงค์ได้ การศึกษาจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพียงสำหรับคนบางคน แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ขาดความพร้อมในปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ยิ่งมีความ จำเป็นมากที่สุด คนที่ขาดความพร้อมต้องการการศึกษามาก มักเป็นกลุ่มคนที่ถูกลืมตลอดเวลา การศึกษาที่ได้รับก็มักเป็นบริการที่กระท่อนกระแท่น ไม่เพียงพอกับการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่พอแม้เพียงเพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย ตรงข้ามกับผู้ที่มีความพร้อมพอจะช่วยตนเองได้ กลับได้รับบริการที่มีคุณภาพและปริมาณที่ดีกว่ามาก ดังจะเห็นได้จากสถานศึกษาในเมืองกับในชนบท ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ การศึกษานอกจาก จะไม่สามารถสร้างความพร้อมที่เพียงพอกับผู้ต้องการแล้ว ยังส่งเสริมให้ช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนแตกต่างกันมากขึ้นด้วย เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับยุทธศาสตร์การศึกษาเสียใหม่ให้หันมาให้ความสำคัญกับคนยากจนคนเสียเปรียบ และคนด้อยโอกาสให้มากขึ้นทรัพยากรของรัฐต้องนำมาใช้จ่าย เพื่อปรับปรุงบริการการศึกษา สำหรับคนยากจนให้ดีขึ้นเป็นพิเศษ ให้เพียงพอกับการสร้างลักษณะสิสัยและความพร้อมที่จำเป็น ถ้าคนยากจน คนเสียเปรียบ คนด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และมีคุณภาพ แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ในบ้านเมืองก็จะลดน้อยลงไปโดยปริยายและยังทำให้เขากลายเป็นกำลัง สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดีด้วย การศึกษานอกจากเป็นปัจจัยที่ 5 แล้ว ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต และเป็นปัจจัยเพื่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติในอนาคตอีกด้วย เราจงฝากความหวังของชาติ ด้วยการพัฒนาการศึกษากันเถิด
ที่มาhttp://www.student.chula.ac.th/~49447199/Related%20word.htm