Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

15 เมษายน 2552

ตรวจสุขภาพ....เพื่ออะไร? ตอน 2

โดย..ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดุษณี ศุภวรรธนะกุล
อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการจัดการสุขภาพและสุขศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

1 การตรวจทางเคมีคลินิก (clinical examination) เป็นการตรวจเพื่อหาสารเคมีในเลือด ซึ่งสารเคมีในเลือดแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์กับโรคที่แตกต่างกัน เช่น การมีกลูโคสสูงสัมพันธ์กับการเป็นโรคเบาหวาน การมีไขมันในเลือดสูงสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน โรคหัวใจและเส้นเลือดแข็งตัว สารเคมีในเลือดนอกจากจะมีความสัมพันธ์กับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว ยังช่วยวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งสารเคมีในเลือดที่ต้องตรวจมี ดังนี้
1) น้ำตาลในเลือด (glucose: Glu)
2) โคเลสเตอรอล (cholesterol: CHOL)
3) ไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides: TG)
4) เอชดีแอล (high density lipoprotein: HDL)
5) แอลดีแอล (low density lipoprotein: LDL)
6) ยูเรียไนโตรเจนในเลือด (blood urea nitrogen: BUN)
7) ครีอะตินินในเลือด (creatinine: Cr)
8) กรดยูริค (uric acid: URIC)
9) อัลบูมิน (albumin: Alb)
10) โปรตีนรวม (total protein: TP)
11) เอนไซม์ของตับ (aminotransferase: AST, ALT)
12) แอลคาไลน์ฟอสฟาเทส (alkaline phosphates: ALP)
13) โซเดียม (sodium: Na)
14) โพแทสเซียม (potassium: K)
15) คลอไรด์ (chloride: Cl)
16) แคลเซียม (calcium: Ca)
2 การตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา เป็นการตรวจเพื่อดูว่าร่างกายมีภูมิต้านทานต่อโรค หรือมีการติดเชื้อหรือไม่ หากร่างกายไม่มีภูมิต้านทานชนิดนั้นอยู่ในร่างกายเลย อาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งมักตรวจสิ่งต่อไปนี้
1) การตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B surface antigen: HbsAg)
2) การตรวจภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (anti hepatitis B surface: Anti – HBs)
3) การตรวจภูมิคุ้มกันต่อบริเวณแกนกลางของตัวเชื้อ (anti – hepatitis B core)
4) การตรวจภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อเอชไอวี “เอดส์” (anti – human immuno deficiency virus)
5) การตรวจซิฟิลิส (syphilis : VDRL)
3 การตรวจทางจุลทรรศน์วิทยา (microscopic examination) การตรวจทาง จุลทรรศน์วิทยา ส่วนมากเป็นการตรวจวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือด (complete blood count : CBC) ซึ่งนิยมตรวจสิ่งต่อไปนี้
1) การตรวจวัดความเข้มข้นของเลือด (hemoglobin: Hb)
2) การวัดปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (hemotocrit: Hct)
3) การนับปริมาณเม็ดเลือดขาว (white blood cell count: WBC count)
4) การตรวจดูรูปร่างและการติดสีของเม็ดเลือดแดง (red blood cell morphology: RBC Morphology)
5) การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (differential count)

การตรวจสุขภาพจะต้องตรวจอะไรบ้าง?
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าการตรวจสุขภาพทางห้องปฏิบัติการมี 3 ประเภท ได้แก่ การตรวจทางเคมีคลินิก การตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา และการตรวจทางจุลทรรศน์วิทยา ซึ่งในแต่ละประเภทจะมีรายการตรวจ แตกต่างกันและที่สำคัญ จะมีศัพท์เฉพาะและตัวย่อภาษาอังกฤษซึ่งทุกคนจะต้องพบเมื่อไปพบแพทย์และแพทย์สั่งให้ไปตรวจตามรายการที่กำหนด ปัญหาที่พบคือการไม่ทราบความหมายของตัวย่อดังกล่าว และเมื่อได้รับผลตรวจคืนเราอาจจะทราบเพียงแต่ว่าปกติหรือไม่ปกติ แต่ไม่ทราบว่าผิดปกติด้วยสาเหตุใด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องทราบความหมายของตัวย่อ และผลการตรวจที่พบบ่งบอกถึงภาวะความผิดปกติของร่างกาย เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการดูแลสุขภาพตนเอง ผู้ที่พบว่าผลการตรวจปกติจะต้องไม่ประมาทและควรจะต้องดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ ส่วนผู้ที่มีผลการตรวจผิดปกติจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำพร้อมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ดังนั้นการจะตรวจอะไรบ้างจึงไม่มีเกณฑ์กำหนดที่ตายตัว แต่จากการศึกษาก็แนวคิดของแพทย์สาขาต่างๆ พอจะกำหนดรายการตรวจสุขภาพเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งมีรายการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องตรวจ ดังต่อไปนี้
1 การตรวจทรวงอก (chest x – ray) เป็นการตรวจเพื่อดูพยาธิสภาพของปอดและหัวใจ ซึ่งอาจพบโรคต่าง ๆ ดังนี้ เช่น วัณโรค ถุงลมปอดโป่งพอง เนื้องอกในปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคหัวใจโต บุคคลที่ต้องตรวจทรวงอก คือ ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่ทำงานอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองมีควันพิษ
2 การตรวจอุจจาระ (stool examination) เป็นการตรวจเพื่อดูลักษณะภายนอกของอุจจาระ เช่น สี ความอ่อน ความแข็ง และตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ และตรวจหาไข่พยาธิบุคคลที่ควรได้รับการตรวจอุจจาระ คือ บุคคลที่มีปัญหาดังนี้คือ การเลือดออกในลำไส้ ลำไส้อุดตัน เป็นริดสีดวงทวาร หรือท้องผูกเป็นประจำ ท่อน้ำดีอุดตัน มีพยาธิอยู่ในร่างกาย ชอบรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ไม่ชอบสวมรองเท้าออกนอกบ้าน ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งทวารหนัก มีโรค ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ มีโรคลำไส้ใหญ่เป็นแผลอักเสบเรื้อรัง
3 การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (fasting blood sugar) เป็นการตรวจที่จะทำให้ทราบถึงการเป็นหรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน หรือความผิดปกติอื่นที่ระดับน้ำตาลอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่มีผลทำให้ไขมันไตรกลีเซอไรด์และ LDL สูงขึ้น ส่วน HDL จะลดต่ำลง ระดับน้ำตาลปกติในเลือดควรอยู่ในระดับ 60 - 110 mg/dl บุคคลที่ต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด คือบุคคลที่มีปัญหาน้ำหนักตัวมาก หรืออ้วน มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง ดื่มสุราเป็นประจำ ที่ไม่ออกกำลังกาย มีภาวะความเครียดเป็นประจำ มีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น มือสั่นบ่อย ๆ สตรีที่คลอดบุตรมีน้ำหนักเกิน 4,000 กิโลกรัม นอกจากนี้บุคคลที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ อันเนื่องจาก การมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าที่เกิดจากร่างกายขาดอินซูลิน ทำให้น้ำตาลกลูโคสที่เกิดจากการย่อยอาหารไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายได้ แม้น้ำตาลในเลือดสูงแต่เซลล์จะมีภาวะขาดน้ำตาล ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ส่วนทำงานผิดปกติไป และภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงมากก็จะมีน้ำตาลล้นออกมาทางปัสสาวะเมื่อปัสสาวะออกมาจึงเกิดภาวะกระหายน้ำ ต่อมาเกิดภาวะเลือดข้น การไหลเวียนของเลือดไม่ดีทำให้เลือดเกิดภาวะเป็นกรด เข้าสู่ระยะช็อค คนไข้อาจมีอาการทางสมองและเสียชีวิต ซึ่งภาวะนี้อาจพบในบุคคลที่มีความผิดปกติดังนี้ คือ เป็นโรคเบาหวาน ต่อมหมวกไตและต่อมใต้สมองผิดปกติ เป็นโรคตับอ่อน ระดับอะดรีนาลิน (adrenaline) ในเลือดสูง ส่วนบุคคลที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากมีการใช้อินซูลินมากเกินกว่าปกติหรือร่างกายเจ็บป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ทำให้อินซูลินที่ได้รับเข้าเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายดีจนไม่มีน้ำตาลเหลือพอในกระแสเลือดทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ เซลล์ทำงานผิดปกติ ซึม สมองผิดปกติ พิการ และอาจตายได้ อาจพบในบุคคลที่มีภาวะความผิดปกติ คือ มีอินซูลินมากเกินไป ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน มีการฉีดอินซูลินมากเกินไป ร่างกายขาดสารต้านอินซูลิน จึงมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ขาดฮอร์โมนกลูคากอน (glucagon) จากการเป็นโรคตับชนิดเฉียบพลัน หรือเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย.