Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

30 พฤษภาคม 2553

ทัวร์บุญวันวิสาขบูชา 27-29 เชียงใหม่



เช้าวันที่ 27 พ.ค. 53 ผมกับอาแปะน่ำ โดยอาแปะน่ำได้ชวนผมไปเชียงใหม่ เพื่อไปทำบุญในวันวิสาขบูชา เราออกเดินทางจากบ้านมาดอนเมือง เพื่อขึ้นเครื่องนก บินไปเชียงใหม่ เครื่องออกเวลา 9:30 น. ใช้เวลาบินหนึ่งชัวโมง ก็ถึงเชียงใหม่ พวกเรามาถึงเชียงใหม่มีพี่สาว อัมภา ที่น่ารักมารับที่สนามบินเชียงใหม่เพื่อเข้าที่พัก โดยที่พรรคพวกอาแปะน่ำจะตามมาที่หลังอีก เช่น อาแปะ เอี่ยม งามดำรงค์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ CP. และอาซ้อจะตามมาอีก และเพื่อนๆของอาแปะอีกจำนวนหนึ่ง เช่น คุณประภาส ชัยวัฒนายน ผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานและนายกสโมสรโรตารีสวนหลวง จะตามมาอีกเป็นต้น ผมกับอาแปะมาถึงบ้านพักของ อาแปะเอี่ยม เข้าที่พัก ก็มีน้องหญิง ทำผัดซีอิ๋วให้กิน อร่อย ทานกัน3 คน เพื่อรอพรรคพวกอาแปะน่ำ ตอนเย็นแล้วจึงตามมาครบกันทุกท่าน งานจึงเริ่มกันตอนแรก 1 ทุ่มกว่าที่ร้านภัตตาคาร ในเชียงใหม่ แล้วกับเข้าพักผ่อนกันที่บ้าน


วันที่ 28 พ.ค. 53 เช้าวันแรกของการออกเดินทางทำบุญ ผมและอาซ้ออาแปะอาเฮียทั้งหลายรับประทานข้าวต้มกันที่บ้านก่อนออกเดินทางไปทำบุญในเช้าวันแรก รับปประทานอาหารเช้าเสร็จจึงเริ่มออกเดินทางด้วยรถตู้ ไปสถานที่ปฏิบัติธรรม ผมได้นำนั่งสมาธิและสวดมนต์สั้นๆ พอเสร็จแล้วจึงเดินทางกันต่อไป การเดินทางแต่ที่ไกลพอสมควร แต่สนุกได้บรรยากาศ แล้วเดินทางไปยังวัดพระธาตุดอยสะเก็ด ทำบุญขอพร แล้วจึงเดินทางกลับรับประทานอหาร กลางวัน และค่ำ

วันที่ 29 พ.ค. 53 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ผมและอาแปะน่ำ และอาซ้อและอาแปะเอี่ยมทุกคนได้ไปทำบุญสร้างสัพประโทน (เหมือนกับร่ม)ให้กับพระสิวะลีที่ อาแปะเอี่ยม งามดำรงค์ และอาซ้อได้สร้างไว้ก่อนแล้ว จึงได้ร่วมกันสร้างสัพประโทนให้แก่วัดอีกครั้งหนึ่ง และหลังจากร่วมทำบุญแล้ว กราบเจ้าอาวาส พวกเราเดินทางไปโครงการหลวงห้วยฮ่องไคร้ ไปชมการเลี้ยงกบ หลังจากนั้นก็แวะรับประทานอาหารกลางวันเป็นอาหารเหนือแต้ๆเจ้า รำ ร่ำ แล้วหลังจากนั้นอาซ้อได้นำพวกเราไปขึ้นดอยอำเภอแม่ออน ไปสูดบรรยากาศที่บริสุทธิ์บนดอยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยนะ เป็นที่สุดท้าย ก่อนที่จะเดินทางกลับเข้าบ้านที่เปอร์เฟกโฮม เพื่อเตรียมตัวขึ้นเครื่องหกลับกรุงเทพฯ เครื่องบินออก 18:40 แล้วถึงกรุงเทพฯ 19:40 พร้อมกับอาแปะน่ำ อาแปะน่ำมาส่งผมที่หมอชิต 2 แล้วผมก็ต้องเดินทางมาขอนแก่นเพื่อจะบันทึกภาพวีดีโอของรายวิชา สปช.3 ที่ได้นัดหมายเพื่อนนักศึกษาไว้ โดยรถทัวร์ปรับอากาศมาถึงขอนแก่นตอนเช้าครับผม งานนี้ผมขอขอบคุณ อาแปะน่ำ บุญลือ นิลชาติ และอาแปะเอี่ยม งามดำรงค์ กรรมการบริหาร CP และอาซ้อ และคุณประภาส ชัยวัฒนายน ผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงาน กรุงเทพฯ และทุกๆท่านที่เอื้อเฟื้อในครั้งนี้ ขอบคุณครับ

11 พฤษภาคม 2553

สรุปโครงงานสัมมนา วิชาปัญหาการพัฒนาท้องถิ่น




สรุปโครงงานสัมมนาวิชาปัญหาการพัฒนาท้องถิ่น สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น รหัส 50 ภาคการศึกษา 3/2552 เทอมสุดท้าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร วันที่ 7-9 พ.ค. 2553 ณ ค่ายนวภพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

โดยพระรังสรรค์ พิมพ์ช่างทอง

วิชาปัญหาการพัฒนาท้องถิ่น เป็นอีกวิชาหนึ่ง ที่นักศึกษาจะต้องเข้าร่วมโครงการสัมมนา เพื่อเตรียมความพร้อมในด้านทักษะของ จิตใจ สังคม อารมณ์ พุทธิจริต แล้วเป็นบัณฑิตที่มีทักษะการใช้ปัญญาในทางสร้างสรรค์ และพัฒนา ช่วยเหลือ เพื่อนมนุษย์และสังคม และรู้การแก้ไขปัญหา ไม่ใช่สร้างปัญหา หรือหลบทิ้งปัญหา แล้วกลบเกลื่อนปัญหา มันจะสะสมพอกพูนปัญหาแล้วจะกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่มากของเจ้าของปัญหาเองนั้นแหละ จึงมีคำว่า ปัญหามีไว้แก้ไข อุปสรรคต้องชน ฉะนั้นลักษณะบัณฑิตของมหาวิทยาลัยทุกแห่งมุ่งสร้างให้นักศึกษาเป็นคนดี มีศีลธรรม เพื่อเป็นที่พึงของสังคม สังคมรอคำตอบจากการเป็นบัณฑิต (ผู้รู้) ในทางดีงาม คือ การสร้างสรรค์สังคม ชุมชน ที่ต้องพิสูจน์กันในอนาคตของแต่ละท่านสืบต่อไป ในการสัมมนาในครั้งนี้ เป็นการรวมศูนย์จากทั่วประเทศเลยทีเดียว มีเหนือ ใต้ อีสาน ในการทำกิจกรรมรวมกัน พระอาจารย์สามารถดึงรากแก้วของงานสัมมนาออกมาได้ดังนี้

การเตรียมความพร้อมในด้านทักษะ

ตัวที่ 1. จิตใจ (Mind) ความรู้สึกนึกคิด ความมีสติ หรือมีสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข หรือบางครั้งมีความขัดแย้งและมีอารมณ์โกรธ มีปัญหาชีวิต แต่ก็สามารถปรับอารมณ์และเผชิญปัญหาต่างๆได้ โดยไม่เสียดุลทางจิต

ตัวที่ 2. สังคม (Social) เป็นการอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิตในพื้นโลกใบนี้ที่มี วัฒนธรรม ประเพณี ที่หลากหลายร่วมกันได้

ตัวที่ 3. อารมณ์ ( Emotion) สิ่งหน่วงเหนี่ยวจิต หรือความรู้สึกนึกคิดหรือจิตใจแปรปวน ในแต่ละช่วงเวลา เช่น อารมณ์ดี อารมณ์เย็น ไม่มีอารมณ์ สามารถปรับอารมณ์ของตนเองในการอยู่ร่วมสังคมได้ดี ในทางพระพุทธศาสนา อารมณ์หมายถึง สิ่งที่จิตไปเกาะเกี่ยวอยู่แล้วยึดจิตไว้ มี 6 อย่าง เช่น รูปเสียง กลิ่น รส เป็นต้น

ตัวสุดท้ายที่พระอาจารย์เน้นมากๆ เพราะสำคัญมาก นั้นคือ
ตัวที่ 4. พุทธิจริต ( One of intelligent temperament) คือหนักไปในทางใช้ความคิดพิจารณา ใคร่ครวญ สอบสวนมาก ผู้มีพุทธิจริตมักชอบอิสระ เสนอความคิดไปในทางสร้างสรรค์ มีความละเอียดรอบครอบ ในการใช้ชีวิต และการงาน เหมาะกับ นักการศึกษา นักวิชาการ ครูอาจารย์ แพทย์ ตำรวจ ทหาร นักปกครอง เป็นต้น


สรุป จากการได้เข้าร่วมสัมมนาวิชาปัญหาการพัฒนาท้องถิ่น จะแก้ไขสิ่งใดต้องแก้ใขที่ตัวเราเองก่อน เมื่อแก้ที่ตัวเราเองแล้วปัญหาก็หมด เพราะทุกคนไม่สร้างปัญหานั้นเอง ถึงมีก็แค่เรื่องจิ๊บๆ แก้ไขได้สะดวกโยธิน ผมชื่อยินดีไม่มีปัญหา กันทุกคน ส่วนตัวหลวงพี่เองกลิ่นไอของความเป็นนักศึกษาที่ศึกษามาตลอดในขณะดำรงสมณะเพศ กำลังจะหมดไปแล้ว เพราะกำลังจะจบการศึกษาในไม่กี่วันข้างหน้านี้เอง จากการเป็นพระนักศึกษามา 12 ปีกว่า ได้ประสบการณ์ชีวิตที่หลากหลายที่ดีๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ แล้วจะเข้าสู่กลิ่นไอใหม่ๆ คือ การเป็นครูอาจารย์ โดยการนำความรู้ ความสามารถที่มี ไปใช้สอน ค้นคว้าวิจัย ให้กับเยาวชนของชาติให้รักดี เป็นคนดีของชาติ สืบต่อไป.

05 พฤษภาคม 2553

กรุงสุโขทัยกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอดีต

ความเชื่อเรื่องก่อนกำเนิดรัฐสุโขทัย แต่เดิมมีความเชื่อว่ากลุ่มคนจำนวนมากอพยพหนีการรุกรานจากจีน ผ่านมาทางเชียงแสน เชียงราย ลุ่มแม่น้ำปิง แต่หลายท่านๆผ่านความรู้ใหม่บอกว่าคนไทยมาจากทางเหนือของอินเดีย และตั้งเมืองที่ลุ่มแม่น้ำยมตอนล่าง คติดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมประวัติศาสตร์ชาตินิยม และสร้างภาพของสุโขทัยออกมาในฐานะราชธานีอันยิ่งใหญ่ที่มีเขตแดนจากพงสาลี จรดปลายแหลมมลายู มีแสนยานุภาพเกรียงไกรด้วยกองทัพปลดแอกจากมหาอำนาจขอม มีรูปแบบการปกครองแบบครอบครัวเชิงอุปถัมภ์ที่เรียกกันว่าพ่อปกครองลูก อีกทั้งมีเศรษฐกิจที่รุดหน้ากว่าชาติตะวันตกในรูปแบบการค้าเสรี มีการใช้ภาษาเชิงอารยะคือมีอักษรใช้เป็นของชาติตนเอง แต่ในเวลาต่อมาแนวคิดนี้เริ่มมีข้อบกพร่อง อีกทั้งเริ่มมีหลักฐานอื่นขึ้นมาขัดแย้งเรื่อยๆ นอกจากนี้แนวความคิดนี้ยังก่อให้เกิดปัญหามโนคติตามมา ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่า ในบริเวณสุโขทัยน่าจะมีชุมชนอยู่ก่อนแล้ว ทั้งจากกลุ่มชนที่สูงพวกลัวะ หรือกลุ่มพื้นราบจากอารยธรรมทวารวดี นอกจากนี้ยังมีการค้นพบแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ที่บ้านวังหาด อำเภอบ้านด่านลานหอย โดยเฉพาะแร่เหล็ก ซึ่งก่อให้เกิดการตั้งถิ่นฐานเพื่อทำอุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก และการผลิตเครื่องมือเหล็กต่างๆในราวยุคเหล็กตอนปลายต่อเนื่องสมัยทวารวดี โดยพบหลักฐานเป็นโลหะห้อยคอรูปหน้าลิง นอกจากนี้ยังพบร่องรอยชุมชนริมแม่น้ำลำพัน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงวังตะคร้อ ซึ่งมีการพบหลักฐานจำพวกลูกปัด และบริเวณนี้ก็เป็นที่ตั้งของถ้ำเจ้าราม หรือถ้ำพระราม ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถูกเอ่ยถึงในศิลาจารึกหลักที่ 1 แต่ชุมชนเหล่านี้ ก็มิได้ขยายตัวเป็นเมืองใหญ่จวบจนกระทั่งสมัยอาณาจักรเท่านั้น สุโขทัย เป็นชุมทางการค้าที่สำคัญจุดหนึ่งที่ผู้คนจากทั่วสารทิศมาพบปะกันจริงๆ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ดังจะเห็นได้ว่าในตอนต้นของประวัติศาสตร์ มีการปรากฏตัวของ มะกะโท ซึ่งเป็นพ่อค้า และยังมีการเข้าตีเมืองตาก โดยขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในช่วงเวลาหนึ่งของสุโขทัย ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่า สุโขทัยเป็นสถานีการค้าของแคว้นละโว้ (ลวรัฐ) บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ กับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (ประเทศลาว) คาดว่าเริ่มตั้งเป็นสถานีการค้าในราวพุทธศักราช 1700 ในรัชสมัยของพระยาธรรมิกราช กษัตริย์ละโว้โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถม เป็นผู้ปกครองและดูแลกิจการภายในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสวรรคต ขอมสบาดโขลญลำพง สันนิษฐานว่าเป็นผู้ตรวจราชการจากลวรัฐเข้าทำการยึดอำนาจการปกครองสุโขทัย แต่กระนั้นก็ไม่ใช่เหตุสงครามอย่างที่เข้าใจกัน เพราะขอมสบาดโขลญลำพงครองสุโขทัยเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน แม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถชี้ชัดระยะเวลาที่แท้จริงได้ก็ตาม

สถาปนา อาณาจักร

เมื่อต่อมาเกิดความขัดแย้งบางประการ ทั้งอาจจะเกิดจากขอมสบาดโขลญลำพงโดยตรงหรือไม่ก็ตาม แต่น่าจะกระทบกระเทือนต่อ ราชวงศ์นำถุม (ผาเมือง) และราชวงศ์พระร่วง จึงส่งผลให้พ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมือง ต้องร่วมมือกันชิงเอาสุโขทัยคืนจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 1781 จากนั้น พ่อขุนผาเมืองก็กลับยกเอาเมืองสุโขทัย พระแสงขรรค์ชัยศรี และพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ ให้กับพ่อขุนบางกลางหาว และหายไปจากประวัติศาสตร์จากนั้นเป็นต้นมา ซึ่งมีการสันนิษฐานไปต่างๆนานา ทั้งการไปครองเมืองที่ใหญ่กว่า หรือกลับไปครองเมืองราดตามเดิมอย่างสงบ
แม้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ปกครองสุโขทัยแล้ว กิจการเมืองก็ยังไม่สงบเรียบร้อยดังปรากฏว่ามี ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ยกทัพเข้ามาตีเมืองตาก และท้ายที่สุดเกิดยุทธหัตถี ระหว่างขุนสามชน กับ รามราช พระโอรสองค์เล็กของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผลคือพระโอรสองค์เล็กได้รับชัยชนะ และได้รับการเฉลิมพระนามว่ารามคำแหง หลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต พ่อขุนบานเมือง พระโอรสองค์โต และ พ่อขุนรามคำแหง พระโอรสองค์เล็ก ก็ได้ปกครองสุโขทัยต่อตามลำดับ โดยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงได้ประกอบพระกรณียกิจไว้มากมาย ทั้งการขยายดินแดน ซึ่งเดิมเชื่อว่าทรงได้พื้นที่จากพงสาลี จรดแหลมมลายู แต่ปัจจุบันหลักฐานหลายชิ้นระบุอาณาเขตไว้ใต้สุดเพียงเมืองพระบาง นอกจากนี้ด้านศาสนายังมีการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์อีกด้วย

จักรวรรดิ มองโกล
กองทัพจักรวรรดิมองโกลแผ่แสนยานุภาพโดดเด่นที่สุด เป็นช่วงเดียวกับการตั้งกรุงสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1800 (ค.ศ. 1257) ซึ่งเป็นอาณาจักรของตนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก
หลักฐานสำคัญในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 2 แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับราชวงศ์มองโกลได้สรุปไว้ว่า กุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการเตรียมทัพไปปราบปราม แคว้นต่างๆ ทางใต้ มีสุโขทัย ละโว้ สุมาตรา และอื่นๆ เป็นเมืองขึ้น ปรากฏว่าขุนนางชื่อ เจี่ย หลู่ น่าต๋าไม่เห็นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดน ต่างๆ อ่อนน้อมยอมสนับสนุนก่อน หากไม่ยอมจึงยกกองทัพไปโจมตี นี่คือเหตุผลประการหนึ่งที่กุบไลข่านทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และขอให้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักมองโกล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกล ปรากฏว่ามีอาณาจักรในดินแดนต่างๆ กว่า 20 อาณาจักรยอมรับข้อเสนอ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย (ช่วงระหว่างประมาณ พ.ศ. 1822 - 1825)
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 12 เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงคณะทูตชุดแรกจากอาณาจักรมองโกลในสมัยกุบไลข่าน เดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) ทูตคณะนี้นำโดยเหอจี จี่ นายทหารระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะ แต่ขณะนังเรือแล่นผ่านฝั่งทะเลอาณาจักรจามปา ได้ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต ผลจากคณะทูตนี้ถูกประหารชีวิตก่อนจะเดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัยทำให้ อาณาจักรสุโขทัยไม่ทราบว่ามองโกลพยายามส่งทูตมาติดต่อ
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 17 กล่าวถึงคณะทูตมองโกลชุดที่สองเดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. 1835 (ค.ศ. 1292) ภายหลังจากข้าหลวงใหญ่ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของมณฑลกวางตุ้ง ได้ส่งคนอัญเชิญพระราชสาส์นอักษรทองคำของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยไปยัง นครหลวงข่านมาลิก (ต้าตู หรือปักกิ่งปัจจุบัน) คณะทูตมองโกลชุดที่สองได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของกุบไลข่านให้พ่อขุนราม คำแหงเสร็จไปเฝ้า พระบรมราชโองการนี้แสดงให้เห็นนโยบายของอาณาจักรมองโกลเรียกร้องให้ผู้นำของ อาณาจักรต่างๆ ไปเฝ้ากุบไลข่าน แต่มิได้บังคับให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 18 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตชุดที่สามมาสุโขทัย โดยได้อัญเชิญพระบรมราชโองการให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า หากมีเหตุขัดข้องให้ส่งโอรสหรือพระอนุชาและอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน ซึ่งปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ส่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปแทน

ลังกา
สุโขทัยมีความสัมพันธ์กับลังกาทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ โดยรับมาจากนครศรีธรรมราชอีกที นอกจากนี้ สุโขทัยก็ยังมีความสัมพันธ์กับลังกาโดยตรง ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) ได้มีพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงได้เดินทางไปศึกษาพระ ไตรปิฎกที่ลังกาอีกด้วย

เมืองมอญ
สุโขทัยมีความสัมพันธ์กับจีนในลักษณะการค้าในระบบบรรณาการ คือ สุโขทัยจะต้องส่งทูตพร้อมเครื่องบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน เพื่อแสดงความอ่อนน้อมต่อจีน และเมื่อเดินทางกลับ จีนก็ได้จัดมอบสิ่งของให้คณะทูตนำกลับมายังสุโขทัยด้วย และทำให้ได้รับวีธีการทำเครื่องปั้นดินเผาจากช่างจีนด้วย


อ้างอิงและหมายเหตุ
http://www.sac.or.th/Subdetail/article/2549/January/article6.html
ศักราชอาจคลาดเคลื่อน เพราะพงศาวดารเหนือ ได้ระบุถึงพระนามผู้ปกครองที่สืบต่อมา จนถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม อีกทั้งไม่ปรากฏพระนามพระยาพาลีราชตามหลักฐานอื่น ว่าเป็นผู้ปกครองอาณาจักรละโว้ในปีดังกล่าว
วัชรพงษ์ หนูชัย และวสุรัฐ ธรรมปัญญา. อาณาจักรสุโขทัย -- เชียงใหม่ : โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. (ออนไลน์)
ปรากฏพระนามในพงศาวดารเหนือ
ปรากฏพระนามในพงศาวดารเหนือ
ปรากฏพระนามในพงศาวดารเหนือ
ปรากฏพระนามในพงศาวดารเหนือ
ปรากฏพระนามและปีครองราชย์ ในพงศาวดารเหนือ
ปรากฏปีครองราชย์ในพงศาวดารเหนือ แต่ศักราชอาจจะคลาดเคลื่อน เพราะระบุว่า หลังสิ้นรัชกาลนี้แล้ว พ่อขุนศรีนาวนำถุมได้เป็นผู้ปกครองต่อ