Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

26 กุมภาพันธ์ 2555

สมัยการศึกษาแผนโบราณ (ตะวันตก)


ในสมัยโบราณชาวสปาต้าและเอเธนส์ มีความแตกต่างกันอยู่ 2 แบบที่แลเห็นได้ชัดเจน กล่าวได้คือ
1. การศึกษาของชาวสปาต้า
ชาวสปาต้ามีลักษณะเฉพาะ ซึ้งเป็นสมบัติของกรีกเผ่าดอเรียนส์อย่างหนึ่ง คือความเป็นนักรบ ชาวสปาต้าถือว่า คุณธรรมแห่งลูกผู้ชาย อยู่ที่ความเข้มแข็งห้าวหาญอดทน มีไหวพริบ รักชาติ และรู้ระเบียบวินัย การฝึกฝนอบรมของชาวสปาต้า ก็เพื่อให้เป็นทหารที่ดี เพราะถือคติว่า "แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ" ชายชาวสปาต้านั้นแทบเรียกได้ว่าเป็นทหารตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งนี้การปกครองบ้านเมืองก็ดี ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพลเมืองก็ดีอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า เป็น "รัฐทหาร" (Totalitarian and Militaristic State) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ที่พวกกรีกดอร์เรียนส์อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งทางแหลม Peloponnesus พวกนี้ไม่ยอมอยู่ปะปนกับพวกพื้นเมืองเดิมบังคับให้เสียภาษีและให้ประกอบกิจการงานทุกอย่าง แต่หาได้ให้สิทธิพลเมืองไม่ ทำให้คนพวกนี้ซึ่งเรียกชื่อว่า Perioeci ซึ่งถูกกดขี่ไม่พอใจ มักก่อการกำเริบทำให้พวกสปาต้าต้องคอบปราบปราม นอกจากนี้ก็ยังมีคนอีกพวกหนึ่งเป็นพวกเชลย (Helots) ซึ่งเป็นทาสและทำไร่ไถ่นาหาผลประโยชน์ให้แก่ผู้เป็นนาย สำหรับชาวสปาต้าทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้นนอกจากเป็นทหาร เนื่องจากได้มีบัญญัติซึ่ง Lycurgus นักการเมืองคนสำคัญได้ตั้งไว้ห้ามมิให้ชาวสปาต้าประกอบอาชีพใดเพราะเกรงว่าการเป็นทหารจะเสื่อมลง นอกจากนี้เพื่อนบ้านใกล้เรือนเีคียงของสปาต้าเองมักจะคอยรบกวน ทำให้ชาวสปาต้าต้องพะวงในการป้องกันตัว โดยเหตุนี้ รัฐบาลของชาวสปาต้าจึงรับหน้าที่ในการฝึกอบรมพลเมืองเพื่อให้เป็นกำลังและให้ความคุ้มครองนครรัฐ ความเข็มแข็งเป็นคุณสมบัติสำคัยประการแรกของชาวสปาต้า พลเมืองทุกคนถือเป็นสมบัติของรัฐ ดังนั้นเด็กเกิดใหม่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจดูร่างกายแข็งแรงจึงจะให้มารดาเลี้ยงไว้ได้ ถ้าปรากฏเด็กอ่อนแอก็จะปล่อยให้ตายเสีย เพราะไม่ต้องการมีพลเมืองที่ไม่แข็งแรง เด็กชายชาวสปาต้ามีโอกาสได้อยู่บ้าน ให้มารดาเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนจรรยามารยาท และกล่อมเกลาจิตใจให้ได้ลักษณะของชาวสปาต้าอยู่จนอายุ 7 ขวบเท่านั้น ต่อจากนี้เด้กจะต้องพ้นจากการเลี้ยงดูของทางบ้าน เพราะต้องเข้าไปอยู่ในความควบคุมดูแลและการฝึกฝนซึ่งทางรัฐเป็นฝ่ายจัดขึ้น คือเข้าประจำอยู่ใน "ค่ายยุวชน" (Public Barrack) เป็นเวลา 10 ปี  ในระยะเวลาดังกล่าวเด็กจะถูกอบรมเพื่อให้มีคุณสมบัติของชาวสปาต้าอย่างครบครัน มีเจ้าหน้าที่ที่เรียกว่า Pacdonomus เป็นผู้ดูแลอบรม เด็ที่ยังเล็กอยู่ก็มีพี่เลี้ยงเรียกว่า Eiren  คอยดูแล เด็กจะได้รับการฝึกฝนให้เคยชินต่อความตรากตรำ ต้องตัดผมสั้น ไปไหนดินเท้าเปล่า ใช้เสื้อผ้าน้ออยชิ้น ปีหนึ่งมีเพียงชุดเดียว เด็กพวกนี้จึงดูสกปรกมอมแมม เด็กต้องถูกหัดให้มีใจคอแข็งแกร่ง ทรหดอดทน มีไหวพริบ รู้จักเอาตัวรอดด้วยวิธี ต่างๆ เช่นเอาตัวไปปล่อยในที่เปลี่ยวให้หาทางกลับบ้านเอง เอาไปทิ้งไว้ให้อดอาหารนอนกลางดินกินกลางทราย ทั้งยังต้องเป็นคนองอาจ ไม่ประหม่าสะทกสะท้านในเมื่ออยู่ต่อหน้าคนหมู่มากโดยฝึกให้กินข้าวกลางตลาด (ย่านชุมนุมชน) และฝึกพูด ในทางร่างกายก็บำรุงให้แข็งแรงล่ำสันโดยการออกกำลังกาย เช่น วิ่ง กระโด ต่อยมวย มวยปล้ำ หัดระเบียบแถว เล่นฟุตบอล พุ่งแหลน วิชาป้องกันตัว ร้องเพลงรบ เต้นรำ และหัดพละศึกษาเหล่านี้ก็ได้เรียนวินัยไปด้วยชาวสปาต้า ถือว่าการขโมยไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะเป็นวิธีที่จะเอาตัวรอด แต่ถ้าขโมยแล้วปล่อยให้จับได้กลับเป็นสิ่งอัปยศ ชาวสปาต้าชอบพูดสั้น ห้วน แต่ได้ใจความ แบบที่เรียกกันว่า "Laconic Speech"  
        เมื่ออายุเริ่มเข้า 18-20 ปี ก็เริ่มฝึกวิชาทหาร (War-Training) โดยตรง คล้ายกับเข้าโรงเรียนทหารสมัยนี้นี่เอง เด็กต้องเรียนยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี มีการซ้อมรบและการฝึกหนัก และเข็มข้นมากขึ้น เป็นต้นว่าถูกเฆี่ยนตีต่อหน้ามหาชนเพื่อให้รู้จักอดกลั้นต่อความเจ็บปวด พออายุครบ 20 ปี ต้องกล่าวคำสัตย์สาบาน (Oath of Allegiance) หลังจากนี้คือระหว่างอายุ 20-30 ปี ก็มีฐานะเป็นทหารประจำการ ถูกส่งตัวไปตามชายแดน หรือถูกส่งไปทำการรบถ้ามีสงครามเกิดขึ้น พออายุ 30 ปีก็ได้ชื่อว่าเป็นพลเมืองอย่างสมบูรณ์มีภรรยาได้ แต่ต้องประจำกรมกองนานๆ จึงจะได้กลับบ้าน ดังนั้น ชายชาวสปาต้าจึงมีความผูกพันกับครอบครับย้อยมาก คนหนุ่มเหล่านี้ต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และฝึกอบรมเด็กรุ่นต่อไป จนกว่าจะอายุ 60 ปี จึงจะพ้นการเป็นทหารได้ 
        หญิงชาวสปาต้าก็ได้รับการฝึกฝนทางกายในทำนองเดียวกับชาย เพราะนิยมกันว่า หญิงที่แข็งแรงย่อมที่จะให้บุตรที่แข็งแรง ผู้หญิงชาวสปาต้าไม่ค่อยเก็บตัวเหมือนพวกอื่น ออกมาสมาคมกับชายได้สบาย
         ชาวสปาต้าทุกคนจะขาดเสียมิได้ก็คือจะต้องถ่องจำข้อความในบัญญัติของ Lycurgus และกวีนิพนธ์ที่ Homer และ Heriod เป็นผู้แต่ง เฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง LLiad และ Odyssey
         จากการศึกษาดังกล่าวนี้แล้ว ทำให้ชาวสปาต้าเป็นทหารที่ดีเยี่ยม วินัยดี กล้าหาญ รักชาติ และเสียสละเพื่อชาติ และสร้างเกียรติประวัติไว้อย่างสวยงาม ทั้งยังได้ช่วยป้องกันชาติกรีกให้พ้นจากการคุกคามของพวก Persians Laconia กลายเป็นนครรัฐที่สำคัญขึ้นมาอยู่สมัยหนึ่ง ภายหลังสงคราม Peloponesus แต่แล้วชาวสปาต้าก็มิสามารถที่จะรักษาความเป็นใหญ่นั้นไว้ได้ เพราะสปาต้าเตรียมอบรมพลเมืองของตนเหมาะกับมีศึกสงครามเท่านั้น มิได้เตรียมอบรมไว้สำหรับในยามสงบ ทำให้ไม่สามารถรักษาอำนาจ และสร้างความเจริญไว้ได้อย่างถาวร

2. การศึกษาของชาวเอเธนส์
ชาวเอเธนส์ซึ่งเป็นพวกกรีกไอโอนิก (โยนิก) นั้น มีนิสัยใจคอแตกต่างจากพวกสปาต้าเป็นอันมาก พวกนี้เป็นพวกรักอิสระและมักทำตามความคิดเห็นของตนเอง ไม่ค่อยเคร่งต่อระเบียบข้อบังคับและไม่ชอบให้ใครมาวางกฏระเบียบและข้อบังคับอีกด้วย การจัดการศึกษาของเอเธนส์จึงมีลักษณะ จึงมีลักษณะตรงกันข้ามกับของพวกสปาต้า คือเป็นการศึกษาโดยเสรี (Liberal Education) ซึ่งอธิบายได้ตามนัยดังนี้ 
 1. พลเมืองทุกคนมีเสรีภาพในการให้การศึกษาแก่บุตรของตนเองได้ตามอัตภาพ และตามแต่จะเห็นเหมาะ
 2. รัฐทำหน้าที่ในการควบคุมการศึกษา หาได้อำนวยการศึกษาไม่
 3. การศึกษามีจุดประสงค์ที่จะให้เป็นพลเมืองดี มีความรู้ความสามารถ และจิตเป็นเสรีต่อการที่จะประพฤติตามทำนองคลองธรรม 
โดยธรรมดาแล้วพวกชาวกรีกมักรู้สึกกันว่า การให้การศึกษาแก่บุตรเป็นทั้งหน้าที่และความจำเป็น เพราะการศึกษาเป็นการให้สิทธิพลเมืองแก่บุคคล ถ้าขาดการศึกษาเสียแล้วก็ย่อมขาดสิทธินั้น นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมว่าบิดาคนใดที่ไม่เอาใจใส่ให้การศึกษาแก่บุตร กฏหมายก็อนุญาติให้บุตรพ้นจากพันธะที่จะเลี้ยงดูบิดาในวัยชราได้
การเล่าเรียนเบื่องต้นประชาชนจัดทำเอง โดยมีดรงเรียนราษฎร์เปิดขึ้นทั่วไปทั้งโรงเรียนและครูมีรายได้จากค่าเล่าเรียน ทำให้ฐานะเศรษกิจครูไม่สู้ดีนัก ตามโรงเรียนเหล่านั้นมักจะเรียนกันตั้งแต่เช้ายันค่ำ และมีระเบียบเข้มงวดไม้เรียวเป็นไม้อาญาสิทธิ์ที่ขาดไม่ได้ทั้งที่โรงเรียนและบ้าน
ระยะเวลาเรียนของเด็กชาวเอเธนส์ แบ่งได้ 3 ตอน คือ
1.การศึกษาเบื้องต้น (8-16 ปี) เข้าโรงเรียนราษฎร์ ซึ่งมี 3 ตอน คือ
   ก.โรงเรียนหนังสือ
   ข. โรงเรียนดนตรี
   ค. โรงเรียนกายบริหาร
2. การศึกษาขั้นเตรียมพลเมือง (Civic Training)
   ก. โรงเรียนพละศึกษา (Gymnassium) อายุ 16-18 ปี เป็นโรงเรียนรัฐ มีการเรียนพละขั้นสูง
   ข. วิชาทหาร (Army Service หรือ Technical period หรือ Ephebic) อายุ 18-20 ปี
   ค. การเรียนวิชาชีพ อายุ 20 ปีขึ้นไป เมื่อพ้นจากการเป็นทหารและได้รับสิทธิเป็นพลเมือง ผู้ใดจะประสงค์เรียนวิชาชีพต่อไป หรือจะออกประกอบอาชีพกิจการงานก็ทำไปตามใจชอบ
   
    ข.การฝึกวิชาทหาร (Technical period หรือ Citizen-Cadet years 18-20 ปี)
รัฐเป็นผู้จัดทำเอง เมื่ออายุ 18 ปี บิดาจะต้องพาบุตรไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ (ขึ้นทะเบียนเป็นทหาร)
ว่าเด็กนั้นกำลังจะรับสิทธิพลเมือง เจ้าหน้าที่จะสอบสวนเด็กหนุ่มนั้นอย่างถี่ถ้วนทั้งกายและนิสัยใจคอ เมื่อปรากฏว่าเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฏหมายจึงจะลงทะเบียนสำมะโนครัวว่าเป็นผู้สืบสกุลนั้นๆ ตอนนี้ผมที่ไว้ยาวก็จะตัดสั้นใส่เสื้อสีดำ และมีอาวุธติดตัวได้เช่น ดาบและโล่ ครั้นแล้วเด็กหนุ่มจะเดินขบวนไปยังเทวสถานประจำเมืองเพื่อกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณ (Ephibic Oath) ว่า
1. จะทำการรบเพื่อป้องกันศาสนา และสาธารณะสมบัติ แม้ลำพังตนเองหรือร่วมกับหมู่คณะ
2. จะไม่ทำให้อาวุธเสื่อม
3. จะไม่หนีเอาตัวรอดแต่ผู้เดียว
4. จะเคารพเชื่อฟังขุนศาลตุลาการและผู้มีอำนาจ
5. จะเคารพกฏหมาย ระเบียบข้อบังคับ และขนบธรรมเนียมประเพณี และจะป้องกันมิให้ผู้ใดล่วงละเมิดได้
6. จะนับถือศาสนาตามเยี่ยงอย่างบรรพบุรุษ
7. จะทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้น

 จากการอบรมแบบของชาวเอเธนส์จะเห็นได้ว่า มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ
1. เพื่อให้ยุวชนรู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม (public usefulness)
2. เพื่อพัฒนาการแห่งตนเอง (individual development)
3. ให้เป็นพลเมืองดี (civic virtues)


เปรียบเทียบการศึกษาแบบสปาต้า และเอเธนส์

มีส่วนคล้ายคลึงกันในข้อที่ว่าเป็นการเรียนโดยกระทำจริง (by doing)และเรียนหนังสือน้อยกว่าทางพละศึกษา และจริยธรรม นอกจากนี้ส่วนใหญ่ของการอบรมมุ่งให้เป็นบุคคลเป็นพลเมืองดี เห็นแก่ส่วนรวมเป็นสำคัญและพยายามดำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมของหมู่คณะ ให้อยู่ในศีลสัจ และให้มีชีวิตอยู่โดยง่าย แต่มีระเบียบเข้มงวด

       


อ้างอิง 
ศ.ดร.ธนู แสวงศักดิ์และคณะ ประวัติการศึกษาตะวันตก 2531