Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

17 เมษายน 2553

วัดคณิกาผล วัดที่สร้างจากแรงศรัทธาจากหญิงงามเมือง

อยากจะนำประวัติที่น้อยนักที่เด็ก เยาวชน หรือคนสมัยนี้จะทราบ มาเล่าใหม่ให้ได้ทราบเพราะมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากๆ วัดคณิกาผล เป็นวัดที่ได้รับโปรดเกล้าพระราชทานชื่อจากรัชกาลที่ 4 และมีเรื่องราวของเจ้าประคุณสมเด็จโต พฺรหฺมรังสี ได้เคยเทศน์ที่ัวัดนี้ไว้ด้วย

" นับตั้งแต่ที่เมืองไทยของเรา รับเอาศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเข้ามาเป็นประหนึ่งศาสนาประจำชาติของไทยนั้น มีวัดเป็นจำนวนมาก ที่สร้างจากพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ และ เชื้อพระวงศ์ รองลงมาก็มักจะเป็นวัดในอุปถัมภ์ของขุนนางผู้ใหญ่ชั้นสูง และ ท้ายที่สุดก็คือสร้างจากแรงศรัทธาของชาวบ้าน แต่กระนั้นก็ตาม ยังมีวัดไทยบางวัดที่ผู้สร้างมีที่มาที่ออกจะขัดแย้งกันกับการนับถือพุทธ ศาสนาตามความเชื่อของชาวพุทธ และ หนึ่งในวัดที่เป็นข้อยกเว้นนั้นเห็นจะได้แก่ “วัดคณิกาผล” คำว่าคณิกานั้น เป็นคำโบราณที่เราใช้เรียกหญิงผู้ให้บริการทางเพศ และ เมื่อคำเรียกหญิงงามเมืองนี้กลายมาเป็นชื่อวัด ที่มาของการสร้างวัดจึงมีความน่าสนใจอยู่พอสมควร วัดคณิกาผลนี้ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ท้ายตลาดแห่งหนึ่งในเยาวราช ตั้งอยู่บนหัวมุม ถนนยมราชสุขุม และ อยู่ตรงข้ามกับโรงพักพลับพลาไชย วัดนี้เป็นวัดสายมหานิกาย ที่เดิมนั้นสร้างขึ้นจากกลุ่มหญิงบริการกลุ่มหนึ่งที่มีหัวหน้ากลุ่มที่ชื่อ “ยายแฟง” เป็นผู้รวบรวม และ ออกทุนให้สร้างวัดพุทธศาสนานิกายเถรวาทขึ้นที่บริเวณตรอกโคก (ปัจจุบันคือ ถนนพลับพลาไชย) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีศาลเจ้าจีน และ โรงเจตั้งขึ้นอยู่ก่อนแล้วมากมาย และ เมื่อสร้างวัดของหญิงงามเมืองนี้เสร็จ ชาวบ้านจึงเรียกกันง่ายๆ ตามชื่อตรอกว่า “วัดโคก” วัดนี้เปิดให้ชาวบ้าน และ สงฆ์ทำพิธีกรรมมานาน จนกระทั่งเข้าสู่สมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรดาลูกหลานของย่าแฟงจึงขอพระกรุณาโปรดเกล้าจากรัชกาลที่ 4 ให้พระราชทานนามของวัดโคกเสียใหม่ พระองค์จึงได้พระราชทานนามว่า “วัดคณิกาผล” ตามประวัติที่มาเดิมนั่นเอง ปัจจุบันนี้ หากใครได้มีโอกาสแวะเวียนเข้ามาในบริเวณนี้ ก็จะสังเกตเห็นว่าทางเข้าหน้าวัดนั้น มีพระพุทธรูปสมเด็จพระอาจารย์โตแห่งวัดระฆังตั้งให้ผู้มีจิตรศรัทธาได้แวะ เข้ามากราบไหว้กัน และเมื่อเดินลึกเข้าไปข้างในก็จะเห็นรูปปั้นครึ่งตัวของยายแฟงตั้งอยู่โดยมี คำจารึกที่ว่า “วัดคณิกาผลนี้ สร้างขึ้นโดยคุณยายแฟง บรรพบุรุษของตระกูลเปาโลหิตในปีพุทธ ศักราช 2346

วัดคณิกาผล นี้ในมัยก่อน ชาวบ้านเรียกว่า วัดโคก และบ้างก็เรียก วัดใหม่ยายแฟง ดังข้อมูลที่ว่า"ใน สมัยเมื่อครั้งสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงได้ครองแผ่นดินสยามอยู่นั้น มีหญิงคนหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า ยาย คุณท้าวแฟง หรือบางครั้งก็เรียกว่า ยายแฟง เฉย ๆ ยายคุณท้าวแฟงนี้มีอาชีพเก็บตลาดเอาผลกำไร รวมทั้งเป็น แม่เล้าเจ้าของซ่องนาง โลม ด้วย ยายแฟงนั้นแกรู้ว่า ในหลวงทรงโปรดการทำบุญสร้างวัดแกจึงได้ทำการสร้างวัด ด้วยเงินรายได้ของแกขึ้นมา เพื่อต้องการให้สดุดสายพระเนตรของพระเจ้าแผ่นดินกับเ ขาด้วยเหมือนกัน ที่ตรอกแฟง ในแหล่งธุรกิจของพระนครสมัยนั้น พวกชาวบ้านจึงเรียกกันว่า " วัดใหม่ยายแฟง " เมื่อสร้างเสร็จแล้ว แกก็ได้ทูลขอพระราชทานนามของวัดนั้น ทรงโปรดพระราชทานนามของวัดนั้นว่า " วัด คณิกาผล " อันแปลตรงตัวได้ว่า วัดที่เป็นผลได้มาจากหญิงโลมเมือง เพราะรายได้หลักของยายแฟงนั้นก็คือได้จากการเป็นแม่เ ล้า เจ้าโสเภณี ในการสมโภชน์วัด ยายแฟงได้ไปนิมนต์ สม เด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) ซึ่งสมัยนั้นสมเด็จฯ ท่านยังไม่มีสมณศักดิ์ คงเป็นเพียงแค่ มหาโต พระมหาเปรียญธรรมดาเท่านั้นให้มาเทศน์ฉลอง โดยมีความปรารถนาจะให้ท่านได้สรรเสริญผลบุญของตนต่อ ห น้าชุมชน แต่ผลก็ไม่ได้เป็นดังใจของยายแฟง เพราะพระมหาโต ท่านกลับเทศน์บอกแก่เจ้าภาพว่า

ยายแฟง สร้างวัดครั้งนี้ ได้ผลอานิสงส์บกพร่อง ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะเงินที่สร้างวัดเป็นเงินที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของคนอื่นที่ไม่ชอบด้วย ธรรมเนียม ถ้าเปรียบอานิสงส์นี้ด้วยเงินเหรียญบาท ยายแฟงก็ได้ไม่เต็มบาท จะได้สักสลึงเฟื้องเท่านั้น นี่ว่าอย่าเกรงใจกันนะ

"โดยพระมหาโตท่านได้ยก นิทาน เรื่องตากะยาย ฝังเงินเฟื้องไว้ที่ศิลาหน้าบันไดขึ้นมาประกอบคำเทศน์ ของท่านด้วยเมื่อยายคุณท้าวแฟงได้ฟังเช่นนั้นแล้ว ก็ให้รู้สึกขัดเคืองใจเป็นกำลัง มีอาการโกรธหน้าแดง จนแทบจะระเบิดวาจาออกมาต่อว่า บริภาษมหาโตอย่างรุนแรง แต่ก็ยังเกรงเป็นการหมิ่นประมาท แกจึงได้เพียงแต่ประเคนกัณฑ์เทศน์ด้วยอาการไม่พอใจ กระแทก ๆ ดังปึงปังใหญ่ แล้วหลังจากนั้นแกก็จึงได้ไปนิมนต์เสด็จทูลกระหม่อมพระ ซึ่งก็คือ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ในสมัยเมื่อ ครั้งที่พระองค์ยังได้ทรงผนวชอยู่ เพื่อจะได้ให้ทรงเสด็จมาประทานธรรมต่อให้อีกสักกัณฑ ์หนึ่ง โดยหวังว่า แกคงจะได้รับคำชมจากพระองค์ท่าน ซึ่งก็เท่ากับเป็นการแก้ลำพระมหาโตไปในคราวเดียวกัน ทูลกระหม่อมฯ ทรงรับนิมนต์ของยายแฟงแล้ว ได้ทรงประทานธรรม ในเรื่องจิตของบุคคลที่ประกอบการกุศลว่า ถ้าทำด้วยจิตที่ผ่องใส ไม่ขุ่นมัวก็จะได้อานิสงส์มาก แต่ถ้าบุคคลใดทำงานการบุญด้วยจิตที่ขุ่นมัว ก็ย่อมจะทำให้เกิดได้ผลน้อย และสำหรับในเรื่องของการสร้างวัดนี้ ก็ดูเหมือนจะเนื่องด้วยเรื่องของจิตที่ขุ่นมัวทั้งนั้น ดังนั้นอานิสงส์ผลบุญจึงมีเพียงเท่านั้น ตามที่ท่านมหาโต ท่านยกเรื่องตากะยาย ไปอ้อนวอนเทวดาที่ต้นไม้ใหญ่ มาประกอบนั้น เป็นเรื่องที่มีปรากฏในฎีกาพระอภิธรรมอยู่ เป็นฉากตัวอย่างที่ช่วยให้ท่านทำการตัดสินบุญของผู้สร้างวัดนี้ว่า ผลแห่งบุญนั้นจะอำนวยให้เกิดได้ไม่เต็มเม็ด เต็มหน่วย คงได้แค่เพียง 3 ใน 8 ส่วน เหมือนกับเงิน 5 บาท โค้งเว้าหายไปเสีย 5 เฟื้อง คงได้เพียง 3 เฟื้อง คือ เหลือเพียงสลึงเฟื้องเท่านั้น การที่ท่านตัดสินอย่างนี้ก็นับว่ายังดีนักเทียว ถ้าเป็นความเห็นของเรา (สมเด็จพระจอมเกล้าฯ) คงจะตัดสินให้ได้บุญเพียง 2 ไพเท่านั้น คือตัดสินตามเหตุที่ได้เห็น เพราะในการสร้างบุญนั้น วัดกันด้วยระดับของจิตใจ ผลที่เธอควรได้รับจึงควรมีเพียงเท่านี้ แล้วทูลกระหม่อมฯ ก็ลง เอวัง ไว้เท่านั้น เทศน์ 2 กัณฑ์ของ 2 ท่านนี้ นับเป็นเรื่องน่าคิด และในเรื่องนี้ผู้อ่านก็ควรจะคิดวินิจฉัยเองด้วยเหมื อนกัน ผู้เรียบเรียงคิดว่า ท่านทั้งสองต้องการให้ยายแฟงรู้จักการทำบุญด้วยการพิ จารณาลงไปถึงมูลเหตุต่างๆ ที่มีอยู่ในใจ และให้รู้จักคำนึงถึงที่มาของสิ่งที่ได้มาใช้ในการทำบุญด้วยว่า เป็นมูลฐานสำคัญของบุญ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ท่านคงทรงพระประสงค์ที่จะตอกย้ำความรู้สึกของยายคุณท้าวแฟง ให้รู้ตระหนักลงไปถึงในเรื่องกุศลจิต และอกุศลจิต มีอำนาจความสำคัญแตกต่างกันอย่างไร ผู้เรียบเรียงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เรื่องการสร้างวัดของยายแฟงนี้คงจะแสดงให้พวกเราได้เ ห็นอะไรๆ เกี่ยวกับการทำบุญกุศลได้ชัดขึ้นมาบ้าง ไม่มากก็น้อย อนึ่ง ในเรื่องนี้มีอยู่ตอนหนึ่งที่ทูลกระหม่อมพระ ท่านได้ตรัสว่า คุณท้าวแฟงควรจะได้บุญเพียง 2 ไพเท่านั้น ท่านผู้อ่านที่มีอายุน้อยนั้นอาจจะไม่ทราบมาตราเงินไ ทยในสมัยเก่า ดังนั้นจึงจะขอเรียนให้ทราบว่า 4 ไพนั้นมีค่าเท่ากับ 1 เฟื้อง และ 2 เฟื้องเป็น 1 สลึง ดังนั้น หนึ่งไพจึงมีค่าเพียงราว 1 สตางค์เท่านั้น พระองค์ทรงบอกว่าที่ทำบุญบาทหนึ่งนั้นได้ผลบุญจริงๆ เพียงแค่ 6 สตางค์ น้อยกว่าที่มหาโตท่านได้ตัดสินไว้เสียอีก คือ ใน 100 ส่วน เหลืออยู่เพียง 6 ส่วน เท่านั้นนั่นเอง และอีกประการหนึ่ง ควรทำความเข้าใจไว้ให้ชัดว่า คำว่า "จิตขุ่นมัว" ที่มีใช้อยู่ในเรื่องนี้นั้น ไม่ได้หมายถึงการขุ่นมัวด้วยความโกรธหรือการลุแก่โทสะเพียงอย่างเดียว ถ้า พิจารณากันให้ดีแล้วจะเห็นว่า ท่านหมายถึงความขุ่นมัวด้วยความ โลภและ ความหลง ด้วย คือ พร้อมกันทั้ง 3 ประการ ยายแฟงโลภอยากได้หน้า และหลงไปว่า ในหลวงท่านจะโปรดปราน จึงได้สร้างวัดขึ้นมา ส่วนจิตใจของยายแฟงนั้น ไม่มีใครรู้ได้ แต่เท่าที่ประมาณพอได้ก็คือ แกเป็นแม่เล้าคุมซ่องนางโลม ดังนั้นจิตใจแกจึงน่าจะมีส่วนที่ผ่องใสในการกุศลอยู่ น้อยมาก เมื่อเทียบกับส่วนที่เป็นอกุศลอันขุ่นมัว ซึ่งซ่อนลึกหลบอยู่ภายในใจของแก คนที่ทำบุญเอาหน้า ได้เงินทองมาโดยไม่บริสุทธิ์นั้น จึงอยู่ห่างไกลบุญมาก ทำให้ไม่สามารถไปสู้คนที่ทำบุญด้วยจิตที่บริสุทธิ์ และด้วยสิ่งของที่บริสุทธิ์สะอาดไม่ได้เลย อย่างไรก็ตามผู้เรียบเรียงคิดว่า แม้ได้น้อยก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย บุญนั้นไม่ว่ามากหรือน้อยเพียงใด ย่อมมีผลให้อุบัติเกิดเป็นความดีมาค้ำจุนผู้กระทำบุญ นั้นแต่เพียงฝ่ายเดียว จะมากหรือน้อยก็มีแต่ดี เรื่องของ ยายแฟงนี้ได้เขียนเล่าเก็บเอาไว้เพื่อเตือน ใจผู้ที่อาจจะตีความคิดเอาเองว่า จะหากำไรด้วยการทำชั่วทำบาปให้มาก แล้วก็จะเอาสิ่งของจำนวนมากที่ได้จากบาปกรรมของตัวนั้นมาสร้างความดี จะได้มีความดีมากๆ ความคิดเช่นนั้นเป็นความคิดที่ผิด เพราะความดีที่เกิดนั้นย่อมมีผลน้อย ย่าคิดว่าทำชั่วไว้ มาก ๆ แล้ว ก็จึงค่อยหันกลับมาทำความดี แล้วก็จะทำให้ได้กำไร เกิดเป็นผลบุญขึ้นอีกมากมายได้ตามที่ใจตนเองคาดเดาเอาไว้เลยเป็นอันขาด เรื่องของคุณท้าวแฟง ที่สร้างวัดคณิกาผลนี่นั้นนับว่าเป็นอุทาหรณ์ ที่น่าสังวรอยู่ไม่น้อยเลย จริง ๆ ทีเดียว"

สรุป ได้ดังนี้

1. ผู้ที่สามารถมองเห็นความเป็นจริงว่า สรรพสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มาจากการปรุงแต่ง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตก็ตาม พุทธองค์ ตรัสสรรเสริญว่าย่อม ได้บุญมากที่สุด

2. วัดคณิกาผล แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดโคก บ้าง วัดใหม่ยายแฟง บ้าง

3. เงินที่สร้างวัด/ทำบุญทำทาน หากเป็นเงินที่เกิดจาก น้ำพักน้ำ แรงของคนอื่น ที่ไม่ชอบด้วยธรรมเนียม หรือเกิดจากการเบียดเบียนคนอื่น เช่น พวกค้ายาเสพย์ติด บ่อนการพนันต่างๆ และเงินที่เกิดจากการโกงมาด้วยวิธีการต่างๆ หรือเงินบาปต่างๆ ถ้าเปรียบอานิสงส์นี้ด้วยเงิน1 เหรียญบาท ก็จะได้ไม่เต็มบาท จะได้สักสลึงเฟื้องเท่านั้น หรือได้บุญเท่ากับขี้มดเท่านั้น

4. คำว่า "จิตขุ่นมัว" นั้นหมายถึง ในยามทำบุญ ทำทานหากทำด้วย ความ โลภ ความโกรธ และความหลง พร้อมกันทั้ง 3 ประการ หรือเพียงแค่ประการใดประการหนึ่งก็จะทำให้ได้ส่วนของบุญนั้นลดน้อยลงตาม ลำดับ ยกตัวอย่างเช่น การทำ บุญ ทำทาน เพราะอยากได้หน้า จิตใจจึงน่าจะมีส่วนที่ผ่องใสในการกุศลอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับส่วน ที่เป็นอกุศลอันขุ่นมัว ซึ่ง ซ่อนลึกหลบอยู่ภายในใจ คนที่ทำบุญเอา หน้า ได้เงินทองมาโดยไม่บริสุทธิ์นั้น จึงอยู่ห่างไกลจากบุญอยู่มาก

5. อย่าคิดว่าทำชั่วไว้มาก ๆ แล้ว ก็จึงค่อยหันกลับมาทำความดี แล้วก็จะทำให้ได้กำไร เกิดเป็นผลบุญขึ้นอีกมากมายได้ตามที่ใจตนเองคาดเดาเอาไว้เลยเป็นอันขาด

6. หญิงคณิกาผลท่านอื่นๆน่าจะได้บุญมากกว่ายายแฝง เพราะทำบุญสร้างวัดด้วยจิตศรัทธาที่เป็นบุญจริง แม้จะเป็นเงินน้อยนิดก็ตาม เพราะเจ้าประคุณสมเด็จโต พฺรหฺมรังสี ได้กล่าวไว้ว่า เงินที่สร้างวัดเป็นน้ำพักนำ้แรงหญิงคณิกาผลคนอื่น จึงน่าจะได้ผลบุญไปเต็มๆ ยกเว้นยายแฝงที่ทำสร้างวัดเอาหน้า ที่ไม่ชอบด้วยธรรมเนียม และจิตขุ่นมัว

ผลบุญที่ได้ย่อมเกิดจากการบริจาคที่เป็นศรัทธาในบุญอย่างแท้จริงที่เกิดในสันดาน ไม่ใช่ทำบุญเอาหน้าปากบอกบุญ แต่ภายในใจไม่เชื่อเรื่องบุญ ทำไปก็ไร้ค่า ผลบุญไม่เกิด ถึงเกิดก็เพียงน้อยนิดเท่าขี้มด ดังที่เจ้าประคุณสมเด็จโต พฺรหฺมรังสีท่านได้เทศน์ไว้เป็นเบื้องต้นแล.

สูตรพวกคนชั่ว
1. ชอบเรียกร้องความยุติธรรมให้ตนเอง แต่ไม่ชอบให้ความยุติธรรมคนอื่น
2. ชอบเรียกร้องความเมตตาสงสารให้ตนเองเรียกร้องความดีต่างๆให้ตนเอง แต่ไม่ชอบให้ความเมตตาสงสารและความดีแก่คนอื่น
3. ชอบคิดแต่เรื่องอัปรีย์จัญไร ทำร้ายคนอื่นและ หลอกลวงต่างๆ แต่ชอบคิดแต่พูดเรื่องดีให้กับตนเอง
4. ชอบใช้เงินซื้อคนให้ทำตามตนเอง ประเภท ลิปซิงค์ หรืออื่นๆ

อ้างอิง
(1) บุญที่มนุษย์สามารถทําให้ได้ผลสูงสุด. เวปไซต์ลานธรรมจักร. 2003 September [cited 2008 October 26]. (10 screens). Available from: URL; http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7740&view=next&sid=4dac6528d5747f3fec96fb688864f48a

(2) BM.chaiwut (นามแฝง). อนุทินลำดับที่ 24621. เวปไซต์โกทูโนดอทคอม. [cited 2008 October
27]. (0 screens). Available from: http://gotoknow.org/journals/bmchaiwut/entries/24621

(3) สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล. วัดคณิกาผล, ท่องเที่ยว > เที่ยวกรุงเทพฯ > สองเท้าพาเดิน. เวปไซต์สนุกดอทคอม. [cited 2008 October 27]. (0 screens). Available from: http://travel.sanook.com/Walking/walking_06550.php

(4) goganut (นามแฝง).ประวัติของวัดคณิกาผล (วัดใหม่ยายแฟง). เวปไซต์ลานพุทํธศาสนา [cited 2008 October 27]. (0 screens). Available from: http://www.larnbuddhism.com/webboard/showthread.php?t=88

(5) จะเอ๋ (นามแฝง). บทความธรรมะเวปไซต์ธรรมจักร อ้างใน Vickies (นามแฝง). ปริศนาธรรม ของสมเด็จฯโต ตอน บุญสลึงเฟื้อง. เวปไซต์ ThAiWaRe CoMMuNiTY. [cited 2008 October 27]. (0 screens). Available from: http://community.thaiware.com/thai/lofiversion/index.php/t281970.html

(6)
ว่าที่ร้อยตรีกวิน พูลอำไพ. แม่เล้าสร้างวัด ได้บุญหรือไม่ เพียงไร?. เว็บไซต์ http://gotoknow.org/blog/kelvin/219031