Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

19 กันยายน 2554

รู้เล็กรู้น้อย เรื่อง การสถาปนาทางการทูตเริ่มแรกของ ไทยกับอินเดีย

นับตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จฯ เยือนประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๔๑๕ (ค.ศ.๑๘๗๒)  ณ เมืองกัลกัตตา แล้วจึงได้เสด็จ ณ เมืองต่างๆอีกเช่น เดลี บอมเบย์ (มุมไบ) ในปัจจุบัน ได้ทรงศึกษาระบบการปกครอง รถไฟ การเพะปลูก ฯลฯ เพื่อนำมาประยุกย์ใช้ในประเทศไทยอีกด้วย 


และหลังจากนั้นมาอีก ๔ ปีต่อมา จึงได้สถาปนา สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองกัลกัตตา พ.ศ. ๒๔๑๙ (ค.ศ. ๑๘๗๖) โดยมีหลวงสยามกฤตยานุรักษ์ (นาย เอม อาร์ อัมการ์) เป็นกงสุลกิตติมศักดิคนแรก ชื่อของท่านเป็นคนอินเดียแน่นอน ได้เป็นข้าหลวงไทย แต่ถึงกระนั้นที่เมืองบอมเบย์ (มุมไบ) ก็มีสถานกงสุลกิตติมศักดิด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๕ (ค.ศ. ๒๘๗๒) โดยมีกงสุลกิตติมศักดิคนแรก คือ หลวงสยามกิจติการ (นาย G.Percy Leith) ท่านเป็นคนอินเดียอีกเช่นกัน


ครั้นต่อมาประเทศไทยกับอินเดียได้สถาปนาการทูตที่กระชับขึ้นไปอีกเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙o (ค.ศ. ๑๙๔๗) โดยมีท่านถนัด คอมันต์ เป็นอุปทูต และถัดมา มีหลวงพินิจอักษร เป็นอัครราชทูต ความสัมพันธ์ไทยกับอินเดียมีมากยิ่งขึ้นถึงกับยกระดับความสัมพันธ์เป็นเอกอัครราชทูต เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ (ค.ศ.๑๙๕๑) โดยมีเอกอัครราชทูตไทยคนแรกคือ ท่าน พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ประจำ ณ อินเดียเป็นท่านแรก ในส่วนของสาธารณรัฐอินเดียได้แต่งตั้งท่าน ภัควัต ดายัล ( Bhagwat Dayal) ดำรงตำแหน่งอุปทูตประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙o (ค.ศ. ๑๔๗๕)

และมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยมีอินเดียที่มีวัฒนธรรมที่ยาวนานที่ไทยเรารับมาเช่น ภาษา ศาสนา  ฯลฯ ผู้เขียนไปอินเดียครั้งแรกเมื่อ ปี ๒๕๔๙ และเป็นนักศึกษาปริญญาเอก เคยได้ร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มนักศึกษาไทยในอินเดียหลายครั้ง เช่นที่ มหาวิทยาลัยเดลี,มหาวิทยาลัยปันจาบ,มหาวิทยาลัยมคธ,มหาวิทยาลัยปูนา,มหาวิทยาลัยพาราณาศี โดยนำวัฒนธรรมไทยไปเผยแพร่ คือดนตรีไทย รำไทย เป็นต้น ซึ่งเป็นการแสดงและแลกเปลี่ยนกิจกรรมกันระหว่าง มหาวิทยาลัยกับนักศึกษาชาวต่างชาติ ซึ่งในงานจะจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ โดนมีคณาจารย์ต่างๆของอินเดียและนักศึกษาชาวต่างชาติและอินเดียและแขกที่มาร่วมงาน ทำให้เห็นว่ากลุ่มนักศึกษาไทยในอินเดียมีบทบาทไม่น้อยในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักในอินเดียและชาติอื่นๆ โดยการจัดกิจกรรมครั้งหนึ่งนักศึกษาไทยในอินเดียจะร่วมกันออกทุนทรัพย์ในการจัดงานขึ้นเอง+กับค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่พักมาร่วมงานที่นักศึกษาไทยจัดขึ้นของแต่ละมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาไทยศึกษาอยู่และเงินสนับสนุนของกงสุลไทยในอินเดียบางส่วน  จึงบอกได้ว่าเป็นการปิดทองหลังพระอย่างแท้จริงของกลุ่มนักศึกษาไทยในอินเดีย ที่ร่วมกันเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจเป็นอย่างมาก.

อ้างอิง
วารสารอินเดียศึกษา ปีที่ 5, 2543 มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์






                        
                           Happy Trip on 18 Aug-24 2011 Kolkata ,Bihar Gaya