พุทธศาสนาโดยเนื้อแท้เป็น "สัจจนิยม" โดยเชื่อหลักเหตุและผล และสะท้อนความเป็นจริงเหมือนวิทยาศาสตร์ เหตุผลคือสามารถชี้หลักสมุฏฐาน (สมมุติฐาน) ของความทุกข์และหลักดำเนินชีวิตที่จริงได้ที่ไม่ให้เกิดทุกข์หรือเอาเปรียบซึ่งกันและกันในสังคม หลักการตรงนี้เองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสังคมที่เลวกว่าไปสู่สังคมที่ดีกว่า คือ หลักสิทธิมนุษย์ชน ที่มีเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ในสังคมอินเดียโดยไม่ให้มีวรรณะนั้นเอง และยึดหลักประชาธิปไตย ในการดำรงชีวิตในการงานเป็นต้น
หลักของสหประชาชาติ กฏบัตรฺว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษย์ชน โดยถือว่ามนุษย์ทุกผ่า ทุกชั้น ทุกวรรณะ มีสิทธิเสรีภาพทางความคิดและการพูดอยู่ภายใต้กฏหมาย เท่าเทียมกันหมดทั่วโลก
สหรัฐอเมริกา คือต้นแบบสิทธิเสรีภาพในทุกๆด้านที่อยู่ภายใต้กรอบกติกาและกฏหมายสังคมในซีกยุโรปและในโลกปัจจุบัน และที่สำคัญคือหลักประชาะปไตยนั้นเอง
ดร.อัมเบดการ์ ผู้ปฏิวัติสังคมอินเดียโดยใช้หลักของพระพุทธศาสนา และได้รับการยอมรับให้เป็นประธานยกร่างรัฐธรรมนูญปกครองอินเดียฉบับแรก ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวของอินเดียที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน ดร.อัมเบดการ์ ยังได้วิจัยสังคม ด้วยหลักการพระพุทธศาสนา ดังนี้ (อ้างอิงจาก น.ส.พ.มาตุภูมิรายวัน 17 ธ.ค.2527)
1.สังคมจะอยู่รอดได้ด้วยศีลธรรมเป็นหลัก และสามารถใช้ปกครองสังคมที่จำเป็นได้
2.ศาสนาของสังคม จะต้องกลมกลืนกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ขัดแย้งกับเหตุผล หรือที่เกิดจากการดลใจเหนือเหตุผล
3.จะต้องตั้งอยู่บนหลักการที่เป็นพื้นฐานเหกี่ยวกับเสรีภาพ สมภาพ และภราดรภาพ
4.จะไม่ทำให้เต็มไปด้วย ความยากจน เพื่อให้แน่ใจว่าการมีสมบัตินั้นจัดเป็นกุศลกรรม แต่การประกาศความยากจน เป็นความประเสริบในนั้นเอง จึงบิดเบียนหลักศาสนา และเป็นการบ่งถึงความชั่วร้าย และอาชญากรรมที่เคราะห์ร้ายนำมาให้นั้น จะมีอยู่ต่อไปเป็นนิจกาล
ดร.อัมเบดการ์ ได้ให้ข้อสรุปว่า สิ่งจำเป็นสี่ประการ สำหรับสังคมสมัยนี้จะหาได้ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ฉะนั้นพระพุทธศาสนาจึงจำเป็นกับทุกคนในโลกใหม่ ที่มนุษย์ทั่วโลกจะต้องสร้างขึ้นมา
คำคม ดร.อัมเบดการ์
"อินเดียเป็นดินแดนแห่งความเหลื่อมล้ำต่ำสูง สังคมฮินดูนั้นช่างสูงส่งประดุจหอคอยอันสูงตระหง่าน มีหลายชั้นหลายตอน แต่ไม่มีบันไดหรือช่องทาง ที่จะเข้าไปสู่หอคอยอันนั้นได้ คนที่อยู่ในหอคอยนั้นไม่มีโอกาสที่จะลงมาได้ และจะติดต่อกับคนในหอคอยเดียวกันในอีกชั้นหนึ่งก็ทำไม่ได้ ใครเกิดในชั้นใดก็ตายในชั้นนั้น" เขาได้กล่าวถึงว่า สังคมฮินดูมีส่วนประกอบอยู่สามประการ คือ พราหมณ์ มิใช่พราหมณ์ และอธิศูทร พราหมณ์ผู้สอนศาสนามักกล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่ในทุกหนแห่ง ถ้าเช่นนั้น พระเจ้าก็ต้องมีอยู่ในอธิศูทร แต่พราหมณ์กลับรังเกียจคนอธิศูทร เห็นเป็นตัวราคี นั่นแสดงว่าเขากำลังเห็นพระเจ้าเป็นตัวราคีใช่หรือไม่"
สรุป ดังนั้นชาวพุทธอินเดียจึงนับถือ ดร.อัมเบดการ์ เป็นสรณะคือสวดว่า พิมพัง สรนัง คัจฉามิ จนถึงเดียวนี้ เขาจะกราบไหว้ ดร.อัมเบดการ์มาก เพราะความศรัทธาในจิตใจดังที่กล่าวมาแล้วนั้น.
1 ความคิดเห็น:
แต่ปัจุบันเรื่องของวรรณะในสังคมอินเดียก็ยังมีอยู่มาก เหมือนเมื่อก่อนรึเปล่า? คะ
แสดงความคิดเห็น