27 พฤศจิกายน 2551
เปิดโลกกว้างเปิดความคิด ผ่านการหลักรัฐศาสตร์ 3
ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยใหม่ๆกลางๆ ทั้งของรัฐและเอกชนเปิดสาขารัฐศาสตร์ระดับปริญญาตรี กันเต็มไปหมด ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด ยิ่งไปกว่านั้นมีมหาวิทยาลัยบางที่เปิดปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ หลักสูตร 1 ปี ไม่มีทำวิทยานิพธ์ หลักสูตรแบบนี้ค่าเทอมแสนแพง แต่คงจะได้แต่ปริมาณมากกว่าคุณภาพ ถ้าหากมหาวิทยาลัยมุ่งที่จะผลิตบัณฑิตแบบนี้ต่อไปเพื่อเอาปริมาณมากกว่าคุณภาพก็คงไม่มีความหมายและความสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้นไม่มีการทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ ก็จะเป็นการผลิตบัณฑิตที่ไร้ทิศทางนักศึกษาที่จบมาก็ไร้คุณภาพ ครั้งที่แล้วกล่าวถึงวิชารัฐศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ว่าควรมีหลักสูตรการทำวิจัยก่อนสำเร็จหลักสูตรสาขารัฐศาสตร์ ้ำเพื่อเพิ่มแนวความคิดให้กว้างไกล ให้มีแนวคิดการแก้ไขปัญหาของชาติ และพัฒนาบ้านเมือง ตามแนวคิดของเขาที่จับต้องได้คือเป็นรูปธรรมได้มากว่าการเรียนตามหลักสูตรจนสำเร็จการศึกษาที่เป็นนามธรรม และดีกว่าเป็นนักรัฐศาสตร์ด้านประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอย่างเดียวหรือเรียกว่ารัฐศาสตร์นั้นเอง ไม่ได้คิดว่าการเีรียนด้านประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอย่างเดียวแล้วจบมาไม่ดีแต่ควรจะมีสิ่งดีกว่าเดิมที่มีอยู่ เพื่อการเป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีอุดมการณ์ตามแนวประชาธิปไตยของไทยที่มีพระมหากษัตรย์เป็นประมุข และการเป็นนักปกครองในหน่วยงานต่างๆของรัฐที่มีแนวความคิดที่กว้างไกลและแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า ตามงานวิจัยที่เขาได้ทำมา ด้วยการเพิ่มเติมหลักสูตรงานวิจัยก่อนจบหลักสูตรปริญญาตรี
เปิดโลกกว้างเปิดความคิดรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง
ที่ผ่านมามีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ชาวอเมริกันได้พัฒนาความคิดไปอีกระดับที่เลือกตั้งให้นายบารัค โอบามา เป็นประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก ตามที่ทุกคนพูดกันติดปากว่า "change" ตามคำพูดของนายบารัค โอบามา แต่ในประเทศไทย การเมืองการปกครองของรัฐบาลที่มีคนทุกสาขาเข้ามาเป็น ส.ส. และตลอดถึงเป็นนายกและรัฐมนตรี เมื่อมาเป็นรัฐบาลแล้วก็รวมเรียกว่าเป็นรัฐศาสตร์ คือการเมืองการปกครอง ที่จะทำให้ประเทศและคนในชาติมีความเจริญก้าวหน้า ชาติทุกชาติแถบเอเชียเช่นดียวกับไทย เช่น ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม เกาหลีใต้ อินเดีย เป็นต้น เขามีจิตที่พัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าแต่มีจิตสำนึกทางการเมืองการปกครองที่ดีด้วย เมื่อมีการคอร์รับชั่นเกิดขึ้นหรืออะไรอื่นๆที่ไม่ดีต่อรัฐบาลก็ยอมลาออก ที่นี้มาดูว่าในเมืองไทยมีใครคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองไทยหรือไหม ก็เห็นจะมีกลุ่มหนึ่ง ที่บอกว่าการเมืองใหม่ก็เป็นการ "change" เช่นเดียวกับอเมริกา
25 พฤศจิกายน 2551
เปิดโลกกว้างเปิดความคิด ผ่านการหลักรัฐศาสตร์ 2
ครั้งที่แล้วได้กล่าวถึง หลักวิชารัฐศาสตร์ ที่นี้สิ่งที่ควรจะมีในหลักสูตรมากขึ้นคือหลักคุณธรรมและศีลธรรม ในวิชารัฐศาสตร์ และควรจะมีการทำงานวิจัยแบบสารนิพนธ์เพิ่มเติม ก่อนจบหลักสูตรระดับปริญญาตรี เป็นการเพิ่มคุณภาพแนวความคิดด้านรัฐศาสตร์แบบก้าวหน้ามากกว่าเป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่ถ่องจำนำไปสอบจนจบหลักสูตร เพราะเพื่อคุณภาพของนักปกครองในอนาคต และเป็นการต่อยอดจากการเรียนประวัติศาสตร์ด้านรัฐศาสตร์ของนักปรัชญาและอื่นๆ เมื่อทำสารนิพนธ์เพิ่มเติมจะทำให้มีแนวคิดกว้างไกลที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นที่จะนำไปใช้ในอนาคตในการทำงานด้านต่างๆให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น ดีกว่าเป็นนักรัฐศาสตร์ทางประวัติศาสตร์ด้านการเมืองการปกครอง.
เป็นการเปิดโลกกว้างทางความคิด เมื่อมีการคิด สัพพวิญญูของความรู็ก็ก้าวไกล มีต่ออีกภาค 3
สุดท้าย
เปิดโลกกว้างเปิดความคิด ผ่านการหลักรัฐศาสตร์
รัฐศาสตร์ คือ ความรู้ที่เกี่ยวกับการเมืองและปกครองตามแนวคิดที่ดีที่สุด ภาษาอังกฤษเขียนว่า “POLITICAL SCIENCE” ผู้ที่ช่ำชองในยุทธจักรด้านการเมืองการปกครอง คือ เพลโต (Plato , 427-347 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาทฤษฎีการเมืองและอริสโตเติล (Aristotle,384-322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ผู้ถือว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์ตะวันตก เขาสองคนนี้เสนอแนวคิดที่ดีที่สุดในการปกครองในสมัยนั้น คือแนวความคิด ที่สำคัญของนักปรัชญาการเมืองกรีกโบราณทั้งเพลโตและอริสโตเติลนั้น มุ่งพิจารณาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างมนุษย์กับรัฐในแง่คิดปรัชญาการ เมือง(political philosophy) ด้วยการมองปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น การแสวงหาความยุติธรรม และรูปแบบของการปกครองที่ดี โดยมีภารกิจหลักพื้นฐานหรือที่เรียกว่าเจตจำนงค์อันเป็นเป้าหมายทางการเมือง ของรัฐและรัฐบาลคือการสร้างสรรชีวิตที่ดีแก่ประชาชนในรัฐ แต่ภายหลังก็มีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยคือ นักปราชญ์ กลุ่มสตอยอิกส์ (Stoic Philosophist) ในยุคโรมันตอนต้น มีทัศนะที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของเพลโตและอริสโตเติ้ลที่ว่าชีวิตที่ดีของ มนุษย์จะเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ภายใต้นครรัฐ ซึ่งเป็นการผูกเงื่อนไขในเรื่องความจำเป็นของการมีรัฐและรูปแบบของรัฐไว้กับการมีชีวิตที่ดีของมนุษย์ในรัฐ และเห็นว่า ชีวิตที่ดีของมนุษย์นั้นแท้จริงก็คือความเป็นปัจเจกชนที่ไม่ต้องผูกพันธ์อยู่กับรัฐ เพราะรัฐและอำนาจการเมือง เป็นสิ่งที่มนุษย์สูญเสียเสรีภาพที่มีมาพร้อมกับความเป็นปัจเจกบุคคล รวมทั้งความเสมอภาคในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน แต่แนวคิดของ กลุ่มสตอยอิกส์ก็ไม่ได้รับการยอมรับ เพราะรูปแบบของรัฐในปัจจุบันของมนุษย์ผูกพันธ์อยู่กับรัฐ ตามแนวคิดของ เพลโตและอริสโตเติล
แนววิชาด้านรัฐศาสตร์
ในปัจจุบันนักรัฐศาสตร์เรียนรู้แค่หลักรัฐศาสตร์ในอดีตและเป็นการศึกษาเรื่องในอดีตที่เกิดขึ้นมาแล้วหรือศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองนั้นเอง เพื่อเป็นแนวทางการประกอบอาชีพด้านการปกครองเช่นเมื่อจบไปแล้วก็ไปสอบเป็นปลัดอำเภอ เป็นนายอำเภอ เป็นผู้ว่าจังหวัด และเป็นนักการเมือง วิชาด้านรัฐศาสตร์ไม่ควรเป็นวิชาการด้านความจำเพื่อตอบปัญหาตอนสอบกลางภาคและปลายภาคเท่านั้น แต่ควรเป็นวิชาที่พัฒนาการแนวความคิดใหม่ๆที่ดีควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นนักรัฐศาสตร์ที่หัวก้าวหน้าและพัฒนา เมื่อมองการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา การเมืองอเมริกาเป็นแบบก้าวหน้า หรือแม้แต่ของอังกฤษ ไม่เป็นนักรัฐศาสตร์ประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นรัฐศาสตร์แบบก้าวหน้าพัฒนาบ้านเมือง.
แนววิชาด้านรัฐศาสตร์
ในปัจจุบันนักรัฐศาสตร์เรียนรู้แค่หลักรัฐศาสตร์ในอดีตและเป็นการศึกษาเรื่องในอดีตที่เกิดขึ้นมาแล้วหรือศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองนั้นเอง เพื่อเป็นแนวทางการประกอบอาชีพด้านการปกครองเช่นเมื่อจบไปแล้วก็ไปสอบเป็นปลัดอำเภอ เป็นนายอำเภอ เป็นผู้ว่าจังหวัด และเป็นนักการเมือง วิชาด้านรัฐศาสตร์ไม่ควรเป็นวิชาการด้านความจำเพื่อตอบปัญหาตอนสอบกลางภาคและปลายภาคเท่านั้น แต่ควรเป็นวิชาที่พัฒนาการแนวความคิดใหม่ๆที่ดีควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นนักรัฐศาสตร์ที่หัวก้าวหน้าและพัฒนา เมื่อมองการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา การเมืองอเมริกาเป็นแบบก้าวหน้า หรือแม้แต่ของอังกฤษ ไม่เป็นนักรัฐศาสตร์ประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นรัฐศาสตร์แบบก้าวหน้าพัฒนาบ้านเมือง.
08 พฤศจิกายน 2551
มองธรรมะ ผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาจนถึงปัจจุบันนี้ นายบารัค โอบามา "Barack Obama" มีชื่อเต็มว่าบารัค ฮุสเซน โอบามา ที่ 2 (Barack Hussein Obama II) เขาเกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2504 และเขาเป็นคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันผิวดำคนแรกที่ได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนที่ 44 เป็นการมองธรรมะผ่านการเลือกตั้งได้ว่า คนอเมริกันมีความคิดที่ไม่แบ่งแยกผิวอีกต่อไป แต่คนอเมริกันมองที่ความสามารถของคนมากกว่าสีผิว นายบารัค โอบามา จึงสร้างประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐครั้งใหม่ ซึ่งมีหลักธรรมะว่าไว้ว่า
นำชีวิตให้ถึงจุดหมาย คือ (พระพรหมคุณาภรณ์ ,ป.อ. ปยุตฺโต)
ก. จุดหมาย ๓ ขั้น ดำเนินชีวิต ให้บรรลุจุดหมาย (อัตถะ) ๓ ขั้น คือ
ขั้นที่ ๑ ทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมายขั้นตาเห็น หรือ ประโยชน์ปัจจุบัน
ก) มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไร้โรค อายุยืน ข) มีเงินมีงาน มีอาชีพสุจริต พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ ค) มีสถานภาพดี เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม ง) มีครอบครัวผาสุก ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือทั้ง ๔ นี้ พึงให้เกิดมีโดยธรรม และใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
ขั้นที่ ๒ สัมปรายิกัตถะ จุดหมายขั้นเลยตาเห็น หรือ ประโยชน์เบื้องหน้า
ก) มีความอบอุ่นซาบซึ้งสุขใจ ไม่อ้างว้างเลื่อนลอย มีหลักยึดเหนี่ยวใจให้เข้มแข็ง ด้วยศรัทธา ข) มีความภูมิใจ ในชีวิต สะอาด ที่ได้ประพฤติแต่การอันดีงาม ด้วยความสุจริต ค) มีความอิ่มใจ ในชีวิตมีคุณค่า ที่ได้ทำประโยชน์ตลอดมาด้วยน้ำใจเสียสละ ง) มีความแกล้วกล้ามั่นใจ ที่จะแก้ไขปัญหา นำชีวิตและภารกิจไปได้ด้วยปัญญา จ) มีความโล่งจิตมั่นใจ มีทุนประกันภพใหม่ ด้วยได้ทำไว้แต่กรรมที่ดี
ขั้นที่ ๓ ปรมัตถะ จุดหมายสูงสุด หรือ ประโยชน์อย่างยิ่ง
ก) ถึงถูกโลกธรรมกระทบ ถึงจะพบความผันผวนปรวนแปร ก็ไม่หวั่นไหว มีใจเกษมศานต์มั่นคง ข) ไม่ถูกความยึดติดถือมั่นบีบคั้นจิต ให้ผิดหวังโศกเศร้า มีจิตโล่งโปร่งเบาเป็นอิสระ ค) สดชื่น เบิกบานใจ ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง ผ่องใส ไร้ทุกข์ มีความสุขที่แท้รู้เท่าทันและทำการตรงตามเหตุปัจจัย ชีวิตหมดจดสดใส เป็นอยู่ด้วยปัญญา
ถ้าบรรลุจุดหมายชีวิตถึงขั้นที่ ๒ ขึ้นไป เรียกว่าเป็น "บัณฑิต"
ข. จุดหมาย ๓ ด้าน จุดหมาย ๓ ขั้นนี้ พึงปฏิบัติให้สำเร็จครบ ๓ ด้าน คือ
ด้านที่ ๑ อัตตัตถะ จุดหมายเพื่อตน หรือประโยชน์ตน คือประโยชน์ ๓ ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงทำให้เกิดเป็นขึ้นแก่ตนเอง หรือพัฒนาชีวิต ของตนขึ้นไปให้ได้ให้ถึง
ด้านทื่ ๒ ปรัตถะ จุดหมายเพื่อผู้อื่น หรือประโยชน์ผู้อื่น คือ ประโยชน์ ๓ ขั้น ข้างต้น ซึ่งพึงช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้ให้ถึงด้วยการชักนำสนับสนุนให้เขาพัฒนาชีวิตของตนขึ้นไปตามลำดับ
ด้านที่ ๓ อุภยัตภะ จุดหมายร่วมกัน หรือ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ประโยชน์สุขและความดีงามร่วมกันของชุมชนหรือสังคมรวมทั้งสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ซึ่งพึงช่วยกันสร้างสรรค์บำรุงรักษา เพื่อเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นก้าวไปสู่จุดหมาย ๓ ขั้นข้างต้น
ขั้นที่ ๑ ทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมายขั้นตาเห็น หรือ ประโยชน์ปัจจุบัน
ก) มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไร้โรค อายุยืน ข) มีเงินมีงาน มีอาชีพสุจริต พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ ค) มีสถานภาพดี เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม ง) มีครอบครัวผาสุก ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือทั้ง ๔ นี้ พึงให้เกิดมีโดยธรรม และใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
ขั้นที่ ๒ สัมปรายิกัตถะ จุดหมายขั้นเลยตาเห็น หรือ ประโยชน์เบื้องหน้า
ก) มีความอบอุ่นซาบซึ้งสุขใจ ไม่อ้างว้างเลื่อนลอย มีหลักยึดเหนี่ยวใจให้เข้มแข็ง ด้วยศรัทธา ข) มีความภูมิใจ ในชีวิต สะอาด ที่ได้ประพฤติแต่การอันดีงาม ด้วยความสุจริต ค) มีความอิ่มใจ ในชีวิตมีคุณค่า ที่ได้ทำประโยชน์ตลอดมาด้วยน้ำใจเสียสละ ง) มีความแกล้วกล้ามั่นใจ ที่จะแก้ไขปัญหา นำชีวิตและภารกิจไปได้ด้วยปัญญา จ) มีความโล่งจิตมั่นใจ มีทุนประกันภพใหม่ ด้วยได้ทำไว้แต่กรรมที่ดี
ขั้นที่ ๓ ปรมัตถะ จุดหมายสูงสุด หรือ ประโยชน์อย่างยิ่ง
ก) ถึงถูกโลกธรรมกระทบ ถึงจะพบความผันผวนปรวนแปร ก็ไม่หวั่นไหว มีใจเกษมศานต์มั่นคง ข) ไม่ถูกความยึดติดถือมั่นบีบคั้นจิต ให้ผิดหวังโศกเศร้า มีจิตโล่งโปร่งเบาเป็นอิสระ ค) สดชื่น เบิกบานใจ ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง ผ่องใส ไร้ทุกข์ มีความสุขที่แท้รู้เท่าทันและทำการตรงตามเหตุปัจจัย ชีวิตหมดจดสดใส เป็นอยู่ด้วยปัญญา
ถ้าบรรลุจุดหมายชีวิตถึงขั้นที่ ๒ ขึ้นไป เรียกว่าเป็น "บัณฑิต"
ข. จุดหมาย ๓ ด้าน จุดหมาย ๓ ขั้นนี้ พึงปฏิบัติให้สำเร็จครบ ๓ ด้าน คือ
ด้านที่ ๑ อัตตัตถะ จุดหมายเพื่อตน หรือประโยชน์ตน คือประโยชน์ ๓ ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงทำให้เกิดเป็นขึ้นแก่ตนเอง หรือพัฒนาชีวิต ของตนขึ้นไปให้ได้ให้ถึง
ด้านทื่ ๒ ปรัตถะ จุดหมายเพื่อผู้อื่น หรือประโยชน์ผู้อื่น คือ ประโยชน์ ๓ ขั้น ข้างต้น ซึ่งพึงช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้ให้ถึงด้วยการชักนำสนับสนุนให้เขาพัฒนาชีวิตของตนขึ้นไปตามลำดับ
ด้านที่ ๓ อุภยัตภะ จุดหมายร่วมกัน หรือ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ประโยชน์สุขและความดีงามร่วมกันของชุมชนหรือสังคมรวมทั้งสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ซึ่งพึงช่วยกันสร้างสรรค์บำรุงรักษา เพื่อเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นก้าวไปสู่จุดหมาย ๓ ขั้นข้างต้น
การมองธรรมะผ่านการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกายังมองได้ตามหลักธรรมะได้อีกคือ
มรรคมีองค์ 8 คือทางดำเนินชีวิตอันเป็นสุขร่วมกัน
หลักธรรมะข้อนี้ถือว่าสำคัญที่เดียวเพราะคนเราเมื่ออยู่ร่วมกันการมีจริยธรรมทางใจและทางกายมีความสำคัญมาก ที่ว่าทำไมคนอเมริกันจึงเข้าข่ายมรรคมีองค์ 8 ดังนี้ แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทางใจ เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว
คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ 1. สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง 2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง 3. สัมมาวาจาคือการพูดจาถูกต้อง 4. สัมมากัมมันตะคือการกระทำถูกต้อง 5. สัมมาอาชีวะคือการดำรงชีพถูกต้อง 6. สัมมาวายามะคือความพากเพียรถูกต้อง 7. สัมมาสติคือการระลึกประจำใจถูกต้อง 8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ 1. สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง 2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง 3. สัมมาวาจาคือการพูดจาถูกต้อง 4. สัมมากัมมันตะคือการกระทำถูกต้อง 5. สัมมาอาชีวะคือการดำรงชีพถูกต้อง 6. สัมมาวายามะคือความพากเพียรถูกต้อง 7. สัมมาสติคือการระลึกประจำใจถูกต้อง 8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกันแล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือการปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา การได้คนผิวสีเป็นการเปลี่ยนแปลงสหรัฐอเมริกาอย่างสิ้นเชิง เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางธรรมะ และสิ่งดีๆๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)