ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาติ(UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติในขณะนั้น ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และ สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด นาย Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการ UNDP ในประเทศไทยกล่าวเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ UNDP นั้นตระหนักถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯโดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
13 นักคิดระดับโลกเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมีการนำเสนอบทความ บทสัมภาษณ์ เป็นการยื่นข้อเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่โลก เช่น ศ. ดร.วูล์ฟกัง ซัคส์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมคนสำคัญของประเทศเยอรมนี สนใจการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก และมองว่าน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับทุกชาติในเวลานี้ ทั้งมีแนวคิดผลักดันเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รู้จักในเยอรมนี, ศ. ดร.อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 1998 มองว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการใช้สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และใช้โอกาสให้พอเพียงกับชีวิตที่ดี ซึ่งไม่ได้หมายถึงความไม่ต้องการ แต่ต้องรู้จักใช้ชีวิตให้ดีพอ อย่าให้ความสำคัญกับเรื่องของรายได้และความร่ำรวย แต่ให้มองที่คุณค่าของชีวิตมนุษย์, นายจิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฏาน ให้ทรรศนะว่า หากประเทศไทยกำหนดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวาระระดับชาติ และดำเนินตามแนวทางนี้อย่างจริงจัง "ผมว่าประเทศไทยสามารถสร้างโลกใบใหม่จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างชีวิตที่ยั่งยืน และสุดท้ายจะไม่หยุดเพียงแค่ในประเทศ แต่จะเป็นหลักการและแนวปฏิบัติของโลก ซึ่งหากทำได้สำเร็จ ไทยก็คือผู้นำ"(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เศรษฐกิจพอเพียง)
กลับมาสู่การเมืองสหรัฐอเมริกาการประสานใจกันอย่างไม่มีร่องรอยกการห่ำหันกันของนายบารัค โอบามากับนางฮิลลารี คลินตัล แต่กลับเอานางฮิลลารี คลินตัล มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ซึ่งถือว่าไม่ง่ายที่ต่างฝ่ายจะลงรอยกันได้ แต่ภาพที่เห็นกันคือรอยยิ้มการยอมรับซึ่งกันและกันของทั้งสองฝ่ายที่พร้อมจะทำงานร่วมกันภายใต้การนำของนาบบารัค โอบามา การได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของนาง ฮิลลารี คลินตัล ซึ่งเป็นกระทรวงที่มีอิทธิพลต่อประเทศมากเลยและการเข้าหาประเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นน่าตาของสหรัฐอเมริกา การได้ผู้หญิงเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองคนคนปัจจุบันคือ ดร.คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ที่เต็มไปด้วยความอ่อนโยนแต่ดุดันในการเมืองระหว่างประเทศ และคนที่สอง คือนาง ฮิลลารี คลินตัล ที่เต็มไปด้วยความอ่อนโยนและฝีปากที่เก่งกล้า น่าจะดุดันไม่น้อยไปกว่าดร.คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐคนปัจจุบัน และจะร่วมกันนำพาสหรัฐไปสู่ความสำเร็จซึ่งมีหลักธรรมะว่าไว้่ คือ
นำชีวิตให้ถึงจุดหมาย
ก. จุดหมาย 1 ขั้น ดำเนินชีวิต ให้บรรลุจุดหมาย (อัตถะ) 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมายขั้นตาเห็น หรือ ประโยชน์ปัจจุบัน
ก) มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไร้โรค อายุยืน
ข) มีเงินมีงาน มีอาชีพสุจริต พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ
ค) มีสถานภาพดี เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม
ง) มีครอบครัวผาสุก ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือ
ทั้ง 4 นี้ พึงให้เกิดมีโดยธรรม และใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
ขั้นที่ 2 สัมปรายิกัตถะ จุดหมายขั้นเลยตาเห็น หรือ ประโยชน์เบื้องหน้า
ก) มีความอบอุ่นซาบซึ้งสุขใจ ไม่อ้างว้างเลื่อนลอย มีหลักยึดเหนี่ยวใจให้เข้มแข็ง ด้วยศรัทธา
ข) มีความภูมิใจ ในชีวิต สะอาด ที่ได้ประพฤติแต่การอันดีงาม ด้วยความสุจริต
ค) มีความอิ่มใจ ในชีวิตมีคุณค่า ที่ได้ทำประโยชน์ตลอดมาด้วยน้ำใจเสียสละ
ง) มีความแกล้วกล้ามั่นใจ ที่จะแก้ไขปัญหา นำชีวิตและภารกิจไปได้ด้วยปัญญา
จ) มีความโล่งจิตมั่นใจ มีทุนประกันภพใหม่ ด้วยได้ทำไว้แต่กรรมที่ดี
ขั้นที่ 3 ปรมัตถะ จุดหมายสูงสุด หรือ ประโยชน์อย่างยิ่ง
ก) ถึงถูกโลกธรรมกระทบ ถึงจะพบความผันผวนปรวนแปร ก็ไม่หวั่นไหว มีใจเกษมศานต์มั่นคง
ข) ไม่ถูกความยึดติดถือมั่นบีบคั้นจิต ให้ผิดหวังโศกเศร้า มีจิตโล่งโปร่งเบาเป็นอิสระ
ค) สดชื่น เบิกบานใจ ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง ผ่องใส ไร้ทุกข์ มีความสุขที่แท้
รู้เท่าทันและทำการตรงตามเหตุปัจจัย ชีวิตหมดจดสดใส เป็นอยู่ด้วยปัญญา
ถ้าบรรลุจุดหมายชีวิตถึงขั้นที่ ๒ ขึ้นไป เรียกว่าเป็น "บัณฑิต"
ข. จุดหมาย 3 ด้าน จุดหมาย 3 ขั้นนี้ พึงปฏิบัติให้สำเร็จครบ 3 ด้าน คือ
ด้านที่ 1 อัตตัตถะ จุดหมายเพื่อตน หรือประโยชน์ตน คือประโยชน์ 3 ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงทำให้เกิดเป็นขึ้นแก่ตนเอง หรือพัฒนาชีวิต ของตนขึ้นไปให้ได้ให้ถึง
ด้านทื่ 2 ปรัตถะ จุดหมายเพื่อผู้อื่น หรือประโยชน์ผู้อื่น คือ ประโยชน์ 3 ขั้น ข้างต้น ซึ่งพึงช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้ให้ถึงด้วยการชักนำสนับสนุนให้เขาพัฒนาชีวิต ของตนขึ้นไปตามลำดับ
สรุป การประสานใจร่วมกันทำงานเพื่อบ้านเมืองคือแนวคิดที่ดีที่สุด จะเกิดผลในจุดมุ่งหมาย 3 ด้านคือ อัตตัตถะ,ปรัตถะ, อุภยัตภะ จุดมุ่งหมายเพื่อตนเพื่อผู้อื่นและจุดหมายร่วมกัน มุ่งประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติ นักการเมืองไทยควรทำเพื่อจุดหมาย 3 ด้านหรือหลักธรรม จุดหมายของชีวิตที่กล่าวมาข้างต้นให้เป็นผล ยึดประโยชน์ชาติและประชาชนมากกว่าเข้ามาเสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัว ตามวลียอดฮิต ของนายบาลัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 44 สั้นๆแต่ได้ความหมายยิ่งใหญ่คือ Change .
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น