Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

02 ธันวาคม 2551

พงศาวดาร พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา (อ่าน 1375/ตอบ 1) พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔


ภาพเก่าองค์พระปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารสถานที่หล่อองค์พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา


ภาพเก่าองค์พระปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารสถานที่หล่อองค์พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา

ศุภมัสดพุทธศักราชล่วงแล้ว ๒๔๐๐ พยัคฆสังวัจฉะระ จุลศักราช ๑๒๒๘ ปี ขาล อัฐศก ดำเนินเรื่องพระชินราช พระชินศรี พระศรีศาสดา พุทธปฏิมากร ๓ พระองค์ซึ่งดำรงอยู่ในวัดมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกนั้น ได้มีคำโบราณเล่าและเขียนจดหมาย สืบมา ในราชพงศาวดารเมืองเหนือว่า

พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงแสนได้ทรงสร้างไว้มีความว่า

เดิมเมืองเชียงแสนแต่ก่อนจุลศักราช ๔๐๐ พุทธศาสนการล่วงได้ ๑๕๘๑ ขึ้นไปเป็น เมืองใหญ่มีเจ้านายครอบครองสืบมาหลายชั่วเจ้าแผ่นดิน และมีอำนาจปกแผ่ไปในเมืองลาวต่างๆ ข้างฝ่ายเหนือแลมีอำนาจ มาเขตต์แดนสยามฝ่ายเหนือมีเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงแสน พระองค์หนึ่งนามว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เพราะท่านได้ทรงร่ำ เรียนพระคำภีร์ในพระพุทธศาสนาคือ พระวินัย พระสูตร พระปรมัตถ์มาก และได้จัดการพระพุทธศาสนาได้รุ่งเรืองเจริญมาก ในเมืองเชียงแสนนั้น

ท่านนั้นได้พระราชเทวีมีพระนามว่า พระนางประทุมเทวี เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม พระองค์หนึ่งในวงค์พระเจ้าบาธรรมราชครองเมืองศรีสัชนาลัย คือเมืองสวรรคโลกในเวลานั้นเป็นพระมหาเหษีท่านนั้นมี พระราชบุตร ๒ พระองค์

ทรงพระนามเจ้าชาติสาครหนึ่ง

เจ้าไกรสรสิงหราชหนึ่ง

ครั้งพระกุมารทั้งสองพระองค์ ทรงพระเจริญวัยแล้วท่านมีรับสั่งให้จ่านกร้องนายหนึ่ง จ่าการบุญนายหนึ่งเป็นขุนนางของท่านคุมพวก บ่าวไพร แลสิ่งของบรรทุก เกวียนเป็นอันมากเป็นเสบียงไปนานให้พากันไปเที่ยวหาถิ่นที่ในปลายเขตต์แดนของท่านที่ใกล้ต่อชนกันเขตต์แดนแผ่นดิน สยาม ซึ่งเป็นเมืองเดิมของพระนางประทุมเทวีอรรคมเหษี เวลานั้นยังคงตั้งอยู่ในทางไมตรีสนิท ควรจะคิดสร้างเมืองไว้ ใกล้เคียงแผ่นเดิมสยาม เพื่อจะได้เป็นที่อยู่พระราชบุตรสองพระองค์ซึ่งมีเชื้อสายฝ่ายพระมารดาเป็นชาวสยาม ฤาโดยว่า กาลนานไปเบื้องหน้าผู้ปกครองแผ่นดินฝ่ายสยามจะเสียทางไมตรีจะล่วงเวลามาปรารถนา เขตต์แดนที่เป็นของขึ้นแก่ เมืองเชียงแสนก็จะได้เป็นป้อมแลกำแพงมั่นคงกันข้าศึกศัตรูของเมืองเชียงแสนสืบไป จ่านกร้องจ่าการบุญกับบ่าวไพร่ กราบทวายบังคมลาออกจากเมืองเชียงแสน เที่ยวมาถึงปลายเขตต์แดนเมืองขึ้นเมืองเชียงแสนข้างทิศตะวันออกเฉียงใต้ เห็นเขตต์แดนซึ่งขึ้นแก่เมืองเชียงแสนโอบอ้อมลงมาข้างแม่น้ำตะวันออก น้ำไหลลงมาร่วมปากน้ำโพในแดนสยาม เห็นกาล ว่าจะต้องสร้างเมืองใหญ่ไว้ในลำน้ำตะวันออกนั้นกับชาวสยามซึ่งตั้งกรุงอยู่เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลก ใกล้เคียงข้างตะวันตก จึงเลือกที่ตำบลบ้านพราหมณ์ซึ่งครั้งอยู่สองข้างฝั่งแม่น้ำเป็นทิศตะวันตกแต่เขาสมอแครลงมา เห็นว่าที่บ้านพราหมณ์ควรจะสร้างเป็นเมืองขึ้นได้ จึงคิดจะสร้างเมืองจะให้มีกำแพงสองฟากน้ำ แลจะให้มีป้อมจดฝั่งแม่น้ำ ตรงกันสองฟากเมืองนั้น

จ่ากร้อง จ่าการบุญได้คิดการกะแผนที่แลมีหนังสือไปกราบทูลถวายแผนที่และชี้แจงถิ่นฐาน และเหตุผลให้สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปฎกทราบความ สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงเห็นชอบด้วย จึงกะเกณฑ์ ไพร่พลในเมืองเชียงแสนและเมืองขึ้นเป็นอันมากสมควรพอเป็นกำลังจะมาสร้างเป็นเมืองใหญ่แล้วเร็วๆ ได้แล้ว ให้คุม เสบียงอาหารและสิ่งของและเครื่องเรือนตามแผนที่ซึ่งกะการณ์ไว้นั้นได้จัดการในเวลาเช้าวัน ๖ เดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู เบ็ญจศกจุลศักราช ๓๑๕ พระพุทธศักราชล่วงแล้ว ๑๔๙๖ เวลาวันนี้ เป็นเวลาชาตาเมืองนั้น เมื่อการทำไปจ่ากร้อง จ่าการบุญ และนายดาบและนายกองก็มีใบกรอกรายงานไปกราบทูลแก่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกให้ทราบเนืองๆ จนการกำแพงและ ป้อมสองฟากน้ำจวนจะสำเร็จ เมื่อล่วงปีหนึ่งกับเจ็ดเดือน

แต่แรกเริ่มกาลนั้นมา จึงพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยกพยุหโยธา มาพร้อมกับอรรคมเหษี และพระราชบุตรทั้งสองพระองค์เพื่อจะทอดพระเนตรเมืองสร้างใหม่ ครั้นเสด็จมาทอดพระเนตร เห็นก็ชอบพระทัย ให้สร้างที่ประทับใหญ่ลงเสด็จประทับอยู่ในที่นั้นนานวัน แล้วจึงมีรับสั่งให้ตั้งการพระราชพิธีกลบาทว์ และมงคล แก่การเมืองสร้างใหม่แล้วทรงปฤกษาชีพ่อพราหมณ์ว่าจะขนานนามพระนคร ว่าอะไรดีจึงชี้พ่อพราหมณ์ผู้รู้ วิทยาการกราบทูลตามสังเกต ว่าวันเสด็จพระราชดำเนินมาถึงนั้นเป็นยามพระพิษณุ เพราะฉะนั้นขอพระราชทานนาม พระนครว่าพระพิษณุโลกเถิด

จึงมีรับสั่งว่าเมืองถือวงศ์กำแพงเป็นเมืองเดียวกันแยกสองฟากน้ำ ดูเหมือนเป็นเมืองแฝด แม่น้ำเป็นคูคั้นเมืองกำแพงกั้นอยู่กลาง อันหนึ่งเดิมจะสร้างก็ได้ทรง พระราชดำริว่าจะพระราชทานให้พระราชบุตร สองพระองค์เสด็จอยู่ ควรจะให้นามเป็นสองเมือง แล้วจึงพระราชทานนามซึ่งมีชีพ่อพราหมณ์กราบทูลนั้นเป็นนามเมือง ฝั่งตะวันออกว่าเมืองพิษณุโลก แต่เมืองฝั่งตะวันตกนั้นพระราชทานนามตามชอบพระราชหฤทัย ต่อเข้าให้เป็นกลอนอักษร เพราะว่า เมืองโอฆบุรี เพราะว่าถิ่นที่แม่น้ำไหลไปในกลางระหว่างกำแพงสองฟากน้ำเป็นห้วงลึก เมื่อฤดูแล้งมีน้ำขังอยู่ มากกว่าเหนือน้ำแลใต้น้ำ เพราะพระศรีธรรมไตรปิฎกเสด็จประทับอยู่ที่นานวันยังไม่คิดเสด็จกลับคืนพระนครเชียงแสน นั้นด้วยพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทำนุบำรุงพระศาสนาและไว้พระเกียรติยศพระนามปรากฏไปภายหน้า ด้วยการสร้างเจดีย์สถานซึ่งเป็นถวารวัตถุ ผู้อื่นจะล้างทำลายเสียไม่ได้จึงทรงสร้างวัดพระมหาธาตุผ่านในฝั่งเมือง ตะวันออก มีพระปรางค์มหาธาตตั้งกลาง มีพระวิหารทิศสี่ทิศ มีพระระเบียงสองชั้นแล้วให้จับการปั้นหุ่นพระพุทธรูปสามพระองค์ เพื่อจะตั้งเป็นพระประธานในพระวิหาร

ในครั้งนั้นพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก มีพระราชสาสน์ให้ทูลเชิญไปถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ณ เมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ซึ่งเป็นเมืองเดิมของพระราชเทวี ขอช่างพราหมณ์ช่วยปั้นหุ่นพระพุทธรูปเพราะเวลานั้นมีคนเล่าภาสรรเสริญ ช่างเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลกมาก ว่าทำพระพุทธรูปได้งามๆดีๆ ก็เมืองสร้างใหม่นั้นอยู่ไม่ไกลนัแต่เมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกจึงทรงพระวิตกว่า ถ้าจะทำพระพุทธรูปขึ้นมาโดยลำพังฝีมือลาวเชียงแสน กลัวเกลือก จะไม่งามดีสู้พระเจ้ากรุงสยามเมืองสวรรคโลก จึงโปรดให้ช่างพราหมณ์ฝีมือดี ๕ นาย มีชื่อจดหมายไว้ในหนังสือโบราณ บาอินทร์ ๑ บาพรหม ๑ บาพิษณุ ๑ บาราชสังข์ ๑ บาราชสังข์ ๑ บาราชกุศล ๑ ช่างพราหมณ์ ๕ นายกับทูตถึงเมืองสร้างใหม่ แล้ว พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกให้ช่างเมืองสวรรคโลกสมทบกับช่างชาวเชียงแสน และชาวเมืองหริภุญชัยช่วยกันหุ่นพระพุทธรูปสามองค์ ซึ่งซวดทรงสัณฐานคล้ายกันแต่ประมาณนั้นเป็นสามขนาด คือ

พระองค์หนึ่ง ตั้งพระนามเริ่มว่าพระพุทธชินราช หน้าตัก ๕ ศอกคือ ๕ นิ้ว มีเศษ

อีกพระองค์ ๑ เริ่มพระนามไว้ว่าพระพุทธชินศรี หน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว

อีกพระองค์ ๑ เริ่มพระนามไว้ว่าพระศรีศาสดา หน้าตัก ๔ ศอกคืบ ๖ นิ้ว

มีสัญฐานอาการคล้ายกัน อย่างพระพุทธรูปเชียงแสน ไม่เอาอย่าง พระพุทธรูปในเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลกและเมืองสุโขทัย ที่ทำนิ้วสั้นยาวไม่เสมอกันอย่างมือคน ถึงพระลักษณะอื่นก็ปนๆ เป็นอย่างเชียงแสนบ้าง เป็นอย่างศรีสัชนาลัยสวรรคโลกสุโขทัยบ้าง ช่วงทั้งปวงและคนดูเป็นอักมากเห็นพร้อมกันว่า พระพุทธรูปสามพระองค์นี้งามดีหาที่จะเสมอมิได้ แล้วจึงให้เข้าดินอ่อนดินแก่ชะนวนตรึงทวยรัดปาอกให้แน่นหนาพร้อมมูล บริบูรณ์เสร็จแล้วๆ ให้รวบรวมจัดซื้อจัดหาทองคำสัมฤทธิ์อย่างดีได้มาเป็นอันมากหลายร้อยหาบแล้ว

ครั้นหุ่นเห็นพระพุทธรูป สามองค์เข้าดินสำเร็จแล้ว กำหนดมงคลฤกษ์จะได้เททอง ณ วัน ๕ เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีเถาะสัปคศกจุลศักราช ๓๑๗ ปี สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก จึงดำรัสสั่งให้อาราธนาชุมนุมพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในถิ่นที่มีโดยรอบคอบใกล้เคียงเมืองนั้น ทั้งฝ่ายคณะคามวารีอรัญวาสี มีพระอุบาฬีกาและพระศิริมานน์วัดเขาสมอแครงเป็นประธาน และให้สวดพระปริตพุทธมนต์ มหามงคลทำสัจกิริยา อาราธนาเทพยดา ให้ช่วยในการนั้น


พระพุทธชินราช (ภาพถ่ายเก่าในสมัยรัชกาลที่ ๕)
พระพุทธชินราช (ภาพถ่ายเก่าในสมัยรัชกาลที่ ๕)

และให้ชีพ่อพราหมณ์ทำการมงคลพิธี ตามพราหมณ์ศาสตร์ด้วยช่วยในการพระราชประสงค์ก็แล้วจึงเททองหล่อ พระพุทธรูปสามพระองค์ ด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์โบราณแท้ ครั้นเททองเต็มแล้วพิมพ์เย็นแกะพิมพ์ออก รูปพระชินศรี พระศรีศาสดาสองพระองค์บริบูรณ์ดี มีน้ำทองแล่นตลอดเสมอกันการ เป็นสำเร็จ แต่รูปพระชินราชเจ้านั้นไม่ลงบริบูรณ์ ช่างได้ทำหุ่นรูปใหม่ และหล่ออีกถึงสามครั้งก็มิได้สำเร็จเป็นองค์พระ

สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกโทมมัสนัก แล้วทรง ตั้งสัจกิริยาธิฐานอ้างบุญบารมีแล้วรับสั่งให้พระนางประทุมเทวีตั้งสัจกิริยาธิฐานด้วย ครั้นนั้นประขาวคนหนึ่งเข้ามาช่วยปั้น หุ่นทำการแข็งแรง ประขาวคนนั้นเป็นใช้ใบ้ไม่พูด ใครถามชื่อตำบลบ้านก็ไม่บอกไม่มีใครรู้จักช่วยทำการทั้งกลางวัน กลางคืน ไม่มีเวลา ครั้นรูปหุ่นงามดีสำเร็จเข้าดินพิมพ์แห้งแล้ว กำหนดมงคลฤกษ์จะได้เททอง ณ วัน ๕ ค่ำ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะเส็งนพศก จุลศักราช ๓๑๙ พุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๑๕๐๐ หย่อนอยู่เจ็ดวัน

จึงดำรัสสั่งให้อาราธนาชุมนุม พระภิกษุสงฆ์ และชีพ่อพราหมณ์ทำการมงคลพิธีเหมือนครั้งก่อน แล้วเททองก็เต็มบริบูรณ์ ประขาวที่มาช่วยทำนั้นก็เดิน ออกจากที่นั้นไป แล้วออกจากประตูเมืองข้างทิศเหนือหายไปที่ตำบลหนึ่ง บ้านนั้นได้ชื่อว่าบ้านตาประขาวหายจนทุกวันนี้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเมื่อต่อยพิมพ์พระพุทธรูปออกเห็นบริบรูณ์งามดี จึงมีรับสั่งให้ข้าราชการไปตามสืบหาตัวประขาว นั้น จะมาพระราชทานรางวัลก็ไม่ได้ตัวเลย พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ให้ช่างแต่งตั้งพระพุทธรูปให้เกลี้ยงสนิทดี ที่ทวยเหล็ก ให้ถอนออกเสียเปลี่ยนเป็นทวยของใช้แทนที่ แล้วขัดสีชักเงาสนิทอย่างเครื่องสัมฤทธิ์ที่เกลี้ยงเกลาดีแล้วอัญเชิญเข้า ประดิษฐานไว้ในสถานทั้งสาม คือ

พระพุทธชินราชอยู่ในพระวิหารใหญ่ สถานทิศตะวันตกพระมหาธาตุผันพระพักตร์ ต่อแม่น้ำ

พระพุทธชินศรีอยู่ทิศเหนือ

พระศรีศาสดาอยู่ทิศใต้ พระวิหารหลวงใหญ่ทิศตะวันออก เ

ป็นที่ธรรมสวันสการ ที่ถวายนมัสการพระมหาธาตุและเป็นที่ชุมนุมพระสงฆ์ เมื่อหล่อพระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดาเสร็จแล้ว ทองสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นชนวนและชลาบสมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกรับสั่งให้รวบรวมมาหลอมหล่อ ในองค์พระพุทธชินราชซึ่งหล่อ ครั้งหลังแต่ทองสัมฤทธิ์ซึ่งเป็นชนวนและชลาบในองค์พระพุทธชินราชนั้น สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกดำรัสสั่งให้ช่าง ปั้นหุ่นพระพุทธรูปหน้าตักศอกเศษแล้ว เอาทองที่เหลือจากพระพุทธชินราชหล่อ เรียกนามว่าพระเหลือ ชนานและชลาบ ของพระเหลือนั้น ก็หล่อเป็นรูปสาวกของพระเหลือทั้งสององค์ ครั้นเสร็จแล้วสถานที่หล่อพระพุทธรูปสามพระองค์อยู่ตรง หน้าวิหาร พระพุทธชินราชนั้นให้ก่อเป็นชุกกระชีด้วยอิฐเตาหลอมทอง และเตาสุมหุ่นทั้งปวงนั้น แล้วเอามูลดินอื่นมาผสม กับดินพิมพ์ที่ต่อยออกจากพระพุทธรูปสามองค์มาถมเป็นชุกกระชีสูงสามศอก แล้วให้ปลูกต้นมหาโพธิ์สามต้น สำแดง เป็นพระมหาโพธสถานของพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีพระศาสดาสามพระองค์เรียกนามว่าโพธิ์สามเส้า แล้วจึงให้ สร้างปฏิมาฆระสถานวิหารน้อยในระหว่างต้นมหาโพธิ์ หันหน้าต่อทิศอุดร แล้วเชิญพระเหลือกับพระสาวกสององค์เข้าไป ไว้ในที่นั้น แสดงเป็นที่สำคัญว่าเป็นที่หล่อพระพุทธรูปทั้งสองพระองค์เบื้องหน้า แต่นั้นสมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก จึงดำรัสสั่งให้สร้างพระราชวังอยู่ฝั่งตะวันตก เหนือที่ตรงหน้าวัดพระมหาธาตุน้อยหนึ่ง


ครั้นการพระอารามและพระราชวังพระนครเสร็จแล้ว ให้มีการสมโภชเจ็ดวัน ภายหลังจึงทรงตั้งจ่านกร้องจ่าการบุญให้ เป็นที่เสนาบดีมียศเสมอกัน เพื่อจะให้เป็นผู้รักษาเมืองพระพุษณุโลกโอฆบุรีทั้งสองฟาก แล้วทรงพระราชดำริคิดตั้งเมืองนั้น ไว้เป็นพระนครที่ประทับ สำหรับสำราญพระราชหฤทัยอยู่ใกล้แผ่นดินสยาม ซึ่งเป็นเมืองเดิมของพระราชเทวี และจะให้เป็น ที่ประทับกำกับรักษาไม่ให้ชาวสยามที่เป็นใหญ่ในอนาคต จะล่วงลามเกินเลยเข้ามาในเขตต์แดนของพระองค์ ที่ล่อแหลม กามลงมาอยู่นั้น จึงจัดการให้มั่งคงเป็นดังพระนคร พระองค์เสด็จประทับสำราญพระราชหฤทัย อยู่ที่นั้นนานถึง ๗ ปีเศษ บ้านเมืองมีผู้คนอยู่แน่นหนาบริบูรณ์แล้ว จึงเสด็จกลับคืนยังพระนครเชียงแสนทรงพระราชดำริว่า เมืองพระพิษณุโลกจะให้ พระราชโอรสเสด็จไปอยู่ดั่งพระราชชดำริไว้แต่เดิมก็เห็นว่าเป็นทางไกล พระองค์ก็ทรงพระชนมายุเจริญถึงปัจฉิมวัยแล้วจึง โปรดให้เจ้าชาตินครเสด็จไปครองเมืองเชียงรายเป็นที่ใกล้ ให้เจ้าไกรสรราช เสด็จไปครองเมืองละโว้ ซึ่งเป็นเมืองไกลใน ทิศใต้ใกล้ทะเลและไปขอรับเจ้าสุนทรเทวี เป็นพระราชธิดาพระเจ้ากรุงสยาม ณ กรุงศรีสัชนาลัยสวรรคโลก มาอภิเษกเป็น พระมงเหษีของเจ้าไกรสรราช ณ เมืองละโว้ แล้วจึงรับสั่งราชอำมาตย์ไปรับเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช มาแต่เมืองกำโพชา มาอภิเษกกับพระราชธิดาของพระองค์แล้ว โปรดให้ไปครองเมืองใหม่นั้น พระราชทานนามว่าเมืองเสนาราชนคร แล้วจึง รับสั่งให้แต่งเจ้าชาติสาครไปครองเมืองเชียงรายอยู่ใกล้พระนครเชียงแสน พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกบรมบพิตร พระชนม์ ยืนได้ ๑๕๐ ปี แล้วจึงเสด็จสวรรคต อำมาตย์ทั้งปวงส่งข่าวสารไปทูลเจ้าชาตสาคร ณ เมืองเชียงรายเสด็จมาจากเมือง เชียงรายถวายพระเพลิงพระศพพระบิดาแล้ว ขึ้นเสวยราชสมบัติในเมืองเชียงแสนสืบพระวงศ์มาหลายชั่วพระเจ้าแผ่นดิน จึงสาบสูญสิ้นพระวงศ์ไป

ก็แลพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดาพระองค์นี้ เป็นพระพุทธปฏิมากรดีล้ำเลิศ ประกอบไปด้วย พระพุทธลักษณะประเสร็ฐ มีศรีอันเทพยเจ้าหากอภิบาลรักษา ย่อมเป็นที่สัการบูชานับถือมาแต่โบราณ แม้พระเจ้า แผ่นดินกรุงศรีอยุธยาเก่า ที่ได้มีพระเดชานุภาพมโหฬารปรากฏมาในแผ่นดิน ก็ได้ทรงนับถือสักการะบูชามาหลาย พระองค์

เมื่อจุลศักราช ๙๒๖ ปีวอก ฤศก สมเด็จพระราเมศวร เสด็จขึ้นไปตีเชียงใหม่ เสด็จกลับลงมาถึงเมืองพิษณุโลก นมัสการพระชินราช พระชินศรี เปลื้องเครื่องต้นทำสักการะบูชา แล้วให้มีการสมโภชเจ็ดวัน แล้วเสด็จกลับพระนคร

เมื่อจุลศักราช ๙๒๖ ปีชวด ฤศก สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเมืองเสด็จอยู่ ณ เมือง พิษณุโลกกับสมเด็จพระบรม ชนกนารถมหาธรรมราชาธิราชนั้น ได้เสด็จไปช่วยราชการสงครามเมืองหงสาวดีมีชัยชนะเสด็จกลับมายังเมืองพิษณุโลก เปลื้องเครื่องทรงออกบูชาพระชินราชพระชินศรีแล้วให้มีการสมโภชสามวัน ภายหลังมาพระองค์ไปต้องกักขังอยู่เมือง หงสาวดีช้านาน เมื่อได้ช่องแก่การและกลับคืนมายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อเสด็จกลับจากเมืองหงสาวดีครั้งหลังนั้นได้ทรง รับมหาเถรคันฉ่องเข้ามาแล้ว ได้เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี เมืองพิษณุโลกแล้วได้ทรงบูชา ฉลองสามวันเหมือนดังนั้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจุลศักราช ๙๕๓ ปีเถาะตรีศก สมเด็จพระเจ้าเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถ เสด็จ ขึ้นไปประพาสจังหวัดเมืองพิษณุโลกทุกตำบล มีพระราชโองการดำรัสสั่งให้เอาทองนพคุณเครื่องต้นซึ่งเป็นราชูปโภค มาแผ่เป็นทองปะทาศรี แล้วเสด็จไปทรงปิดในองค์พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีทั้งสองพระองค์ด้วยพระหัตถ์เสร็จ บริบูรณ์แล้วให้มีการสมโภชเป็นโหฬารสัการเจ็ดวัน

อันสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและสมเด็จพระนเรศวรบรมนารถ และสมเด็จพระเอกาทศรฐอิศวรบรมนาถ สามพระองค์นี้ เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชาธิราช แม้ได้เสด็จประทับอยู่ ณ เมืองพระพิษณุโลก ทั้งสามพระองค์ ได้มอบพระองค์ เป็นอุปฐากปฏิบัติพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา ได้ทรงทำ สักการบูชาเนืองๆ มาเป็นอันมาก หากอำนาจพระราชกุศลที่พระองค์ ได้ทรงบำเพ็ญด้วยความเลื่อมใส ในพระพุทธ มหาปฏิมากรอันประเสริฐทั้งสามพระองค์นี้มาภายหลังมาพระองค์ก็ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามใหญ่ มีชัยชนะศัตรูหมู่ปัจจามิตรทั่วทุกทิศทุกทาง โดยลำดับราชการสืบๆ กันมาถึงสามแผ่นดิน ด้วยพระบารมีพระเจ้าแผ่นดิน สามพระองค์นั้นเล่าฤาชาปรากฏมาก พระเจ้าแผ่นดินสยามแทบทุกแผ่นดินในภายหลังมาก็พลอยนับถือพระพุทธ มหาปฏิมากร คือ พระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีสืบมาและจนเป็นอันมากก็ลงใจเห็นว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี ๒ พระองค์นี้งามนัก ไม่มีพระพุทธรูปใหญ่น้อยที่ไหนๆ ใหม่เก่างามดีไปกว่าได้ เห็นจะเป็นของที่เทพยดาเข้าสิงช่าง ฤานฤมิตร เป็นมนุษย์มาช่วยสร้างทำเป็นแน่

เพราะเห็นนี้มีผู้นับถือนมัสการ บูชาเล่าฦานับถือมานาน พระเจ้าแผ่นดินบางพระองค์ก็ได้เสด็จไปนมัสการบ้าง และส่งเครื่องนมัสการและเครื่องปฏิสังข์ทำนุบำรุงไปบูชาและค้ำชูให้เป็นปรกติเป็นอภิลักขติเจดียสถาน

มีความในพระสยามราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช ๑๐๒๒ ปีชวดโทศก สมเด็จพระนารายณ์ราชบพิตรพระเจ้า ช้างเผือก เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่กลัยมาถึงเมืองพิษณุโลก เสด็จไปนมัสการพระชินราชพระชนศรี ทำการสักการบูชา แล้วเล่นการมหรสพสมโภชสามวัน

บานประตูมุก พระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธชินราช
บานประตูมุก พระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธชินราช

ครั้นเมื่อถึงปีชวลจัตวาศก จุลศักราช ๑๐๒๔ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการอีกครั้งหนึ่งครั้นแผ่นดินสมเด็จ พระศรีสุริเยนทราธิบดี เสด็จไปทรงสร้างพระอาราม ณ ตำบลโพประทับช้างเป็นที่ประสูตรแขวงเมืองพิจิตร แล้วเสด็จ ไปทรงนมัสการพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีด้วย เมื่อปีมะแมเอกศกศักราช ๑๑๐๑ เป็นแผ่นดินพระบาทสมเด็จ พระบรมธรามมิกราชาธิราชบรมโกศ ได้ทรงพระราชศรัทธาอุตสาหะให้สร้างบานประตูประดับมุกคู่หนึ่ง ทรงพระราช อุทิศถวายพระพุทธชินราชให้ประกอบไว้ที่ประตูใหญ่หน้าพระวิหารพระพุทธชินราช

ครั้นเมื่อวัน ๒ เดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๒ ปีขาลโทศก เจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพยุหโยธาทัพ ณ ขึ้นไป ปราบปรามเจ้าพระฝาง ซึ่งตั้งตัวเป็นเจ้าอยู่เมืองสวางคบุรี เมื่อถึงเมืองพระพิษณุโลกแล้วเสด็จประทับแรมท่ากองทัพ เจ้าพยายมราชอยู่เก้าวัน ครั้นนั้นเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จไปทรงนมัสการพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา ทั้งสามพระองค์ ได้เปลื้องพระภูษาทรงบูชาพระพุทธชินราช

จะว่าถึงการที่เป็นไปในพระบรมราชวงศ์ ซึ่งสถาปนารัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยา ณ ตำบลบางกองตรงกรุงธนบุรี ข้ามมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ในรัชกาลเป็นประถมแต่เมื่อครั้งกรุงธนบุรี ได้เป็นจอมพยุหโยธาแม่ทัพใหญ่ไปทำศึกกับพม่าที่ยกมาทางเมืองเหนือเป็นการเข้มข้นหลายครั้ง เสด็จถึงเมือง พระพิษณุโลกคราวใดก็คงจะได้เสด็จนมัสการพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีพะรศรีศาสดาทุกครั้ง แต่พระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังในแผ่นดินนั้น เมื่อแผ่นดินกรุงธนบุรีได้เป็นที่เจ้าพระยาสุรศรีพิษณวาธิราช ผู้สำเร็จราชการเมือง พระพิษณุโลกหลายปีได้ทรงนมัสการปฏิบัติพระพุทธิชินราชพระพุทธชินศรี พระศรีศาสดาทั้งสามพระองค์ โดยความที่ทรง เคารพและเลื่อมใสนับถือเป็นอันมากอยู่หลายปี จะว่าการให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีกโดยความสัตย์ความจริงก็ว่าได้ ท่านพระองค์ ใดซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมชนกนารถ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ในรัชกาลเป็นประถมนั้น และเป็น มหาอรรคบรรพบุรุษของพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชวงศานุวงศ์ ณ กรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุธุยานท่านพระองค์นั้น เมื่อแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ได้เป็นที่พระอักษรสุนทรศาสนาอยู่ในกรมมหาดไทย ได้เป็นผู้สถาปนาวัดสุวรรณดาราราม ณ กรุงศรีอยุธยาไว้ด้วย ครั้นเมื่อปัจฉิมรัชกาลในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ต้องรับราชการขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ครั้นสืบทราบ ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยาพม่าข้าศึกเข้าล้อมไว้แน่นหนา ท่านก็ยังรั้งรอข้าอยู่ ณ เมืองพระพิษณุโลก ครั้นเมื่อได้ข่าว ว่า กรุงเทพทวาราวดีกรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่าข้าศึกแตกยับเยินแล้วพระพิษณุโลกก็ตั้งตัวเป็นเจ้าแผ่นดินใหญ่ ไม่ยอม ขึ้นแก่ผู้ใด ตั้งขุนนางอย่างกรุงเทพมหานครนี้ทุกตำแหน่ง จึงตั้งพระอักษรสุนทรศาสน ให้เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ อรรคมหาเสนาบดี เพราะเห็นว่า เข้าใจดีในขนบธรรมเนียมในกรุงเทพมหานคร และขบวนราชการในกรมมหาดไทย ทุกประการแล้วพระยาพิษณุโลกบังคับบัญชาบรรดาขุนนาง ที่ตัวตั้งให้เรียกคำบัญชาสั่งของตัว ว่าพระราชโองการ ทุกตำแหน่งไป ไม่ได้ทำพิธีราชาภิเษกให้พราหมณ์ครอบก่อน ตั้งแต่สั่งดังนั้นแล้วก็ป่วยลงอยู่ได้ ๗ วัน ก็ถึงอนิจกรรม พระอักษรสุนทรศาสนเจ้าพระยาจักรีมิได้มีความมักใหญ่ใฝ่สูง ตั้งตัวเป็นใหญ่ต่อไปแอบอาศัยอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ซึ่งครั้งนั้นตกอยู่ในอำนาจพระพากุลเถร เมืองฝาง ชื่อตัวชื่อเรือนซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองฝ่ายเหนือแผ่นอำนาจลงมา ข้างใต้จนถึงเมืองพิจิตรข้างตะวันตก ไปถึงเมืองสวรรคโลกและเมืองสุโขทัย พระอักษรสุนทรศาสน อาศัยอยู่เมือง พิษณุโลกไม่ช้าป่วยลงก็สิ้นชนม์ชีพ จึงท่านมาภรรยาน้อยกับบุตรชายเล็กเกิดแต่ท่านมาชื่อลา ซึ่งตามขึ้นไปด้วย แต่แรกได้ทำสรีรณาปณกิจถวายเพลิงเสร็จแล้วเก็บพระอัฏฐิรวบรวมรักษาไว้ด้วยดี กับมหาสังข์อุตราวัฎเป็นของดั้งเดิม ของท่านพระอักษรสุนทรศาสน จึงคุมไปถวายพระโอรสององค์ใหญ่ของท่านพระอักษรสุนทรศาสน ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้า ยามหากษัตริย์ศึกพิลึกมหิมาในแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว เมื่อพระโอรสององค์ที่สองของท่านพระอักษรสุนทรศาสน ได้ขึ้นไปเป็นเจ้าพระสุรศรีพิษณวาธิราช ผู้สำเร็จราชการเมืองพระพิษณุโลกในแผ่นดินกรุงธนบุรีนั้นบุตรชายน้อย ของท่านพระอักษรสุนทรศาสนเกิดแต่ท่านมา ก็ตามขึ้นไปด้วยเป็นนายโขนของเจ้าพระยาศรีพิษณวาธิราช

ครั้นเมื่อล่วงแผ่นดินกรุงธนบุรีแล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกพิลึกมหิมาและเจ้าพระยาศุรศรีพิษณวาธิราช ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติ ในพระบรมมหาราชวัง และพระบวรราชวังแล้ว เจ้าลาพระอนุชาธิบดีซึ่งเป็นนายโขนนัน พระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงตั้งให้เป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงจักรเจษฎา พระบรมอัฎฐิของท่านพระอักษรสุนทรศาสน ซึ่งเป็นสมเด็จพระชนกนารถ และพระมหาสังขอุตราวัฏของเดิมซึ่งว่านั้น ก็ยังประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง กรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุธยาบรมมหาราชวัง กรุงรัตนโกสินมหินทรายุธยาบรมราชธานี เป็นสิ่งของสำคัญเครื่องระลึก ถึงพระบรมราชบรรพบุรุษสืบมาจนกาลทุกวันนี้


ภายในพระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธชินราช ในปัจจุบัน
ภายในพระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธชินราช ในปัจจุบัน


บรรยายเรื่องทั้งปวงนี้ คือจะสำแดงท่านทั้งหลายซึ่งเป็นต้นเป็นเค้า ของพระบรมราชวงศ์ผู้ตั้งขึ้นแลดำรง ณ กรุงรัตนโกสินทรมหิทรายุธยานี้ แต่เดิมได้เคยสร้างเสพย์นมัสการ นับถือพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดาสามพระองค์มาแต่ก่อน พระพุทธรูปสามพระองค์นี้ก็เป็นมหัศจรรย์คิดแต่แรกสร้างมา จนถึงปีที่ตั้งต้น พระบรมราชวงศ์กรุงรัตนโกสินทรมหินทราอยุธยาบีดนี้ นานได้ถึง ๘๒๕ ปี ซึ่งเป็นระหว่างพระพุทธศาสนกาลแต่ ๑๕๐๐ จนถึง ๒๓๒๑ ฤาแต่จุลศักราช ๓๑๙ จน ๑๑๔๔ เมืองพระพิษณุโลกก็เปลี่ยนเจ้าผลัดนายร้ายๆดีๆ ลางทีเป็นเมืองหลวง ลางทีเป็นเมืองขึ้นมาหลายครั้งหลายหน ข้าศึกมาแต่อื่นเข้าผจญเอาได้ เอาไฟจุดเผาถิ่นที่ต่างๆ ในเมืองนั้นเสียเกือบหมด แต่พระพุทธรูปสามพระองค์นี้ ก็มิได้เป็นอันตรายควรเป็นเป็นอัศจรรย์ คนเป็นอันมาสำคัญมีเทวดารักษาและบางจำพวก สำคัญเห็นเป็นแน่ว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีสองพระองค์นั้น งามแหลมแก่ตามากกว่าพระพุทธรูปใหญ่น้อย บรรดามี ในแผ่นดินสยามทั้งปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ และตลาดกาลนานมาถึง ๙๐๐ ปีมีผู้เลียนปั้นเอาอย่างไปก็มากมาย หลายตำบล จะมีพระพุทธรูปที่คนเป็นอันมาก ดูเห็นว่าเป็นดีเป็นงามกว่า พระพุทธชินราชพระพุทธชินศรี สองพระองค์นี้ ไปก็ไม่มี จึงคาดเห็นว่าเมื่อทำชรอยช่างที่เป็นผีสางเทวดา ที่นับถือพระพุทธศาสนาและมีอายุยืนมา ได้เคยเห็นพระพุทธเจ้า จะเข้าไปสิงในตัวฦาดลใจช่างผู้ทำ ให้ทำไปตามน้ำใจของมุนษย์ดัง นึ่งประขาวที่ว่าก่อนนั้น ถ้าจะเป็นของมนุษย์ทำ ก็จะคล้ายละม้ายกันกับพระพุทธรูปอื่นโดยฝีมือช่างในเวลานั้น ดังรูปพรรณพระเหลือ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปฏิมาฆระสถาน วิฟารน้อยที่โพธิ์สามเส้า ที่หล่อพระพุทธรูปสามพระองค์นั้น ก็เป็นฝืมือช่างในครั้งคราวเดียวกัน แต่รูปพรรณก็ละม้าย คล้ายกับพระพุทธรูปสามัญ ที่เป็นฝีมือช่างเมืองพิษณุโลกไม่แปลกไปเพราะฉะนั้นจึงมีที่มีสติปัญญา ซึ่งได้เห็นได้ พิจารณาศิริวิลาส พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี ยินดีนิยมนับถือด้วยกันเป็นอันมากไม่วางวาย และคนที่เป็นประขาว มานั้น ก็เห็นปรากฏชัดว่ามิใช่มนุษย์ เพราะฉะนั้นจึงเห็นว่าพระพุทธรูปทั้งสามพระองค์นี้มีเทวดาทำ ชนทั้งปวงจึงได้นับถือ บูชาเป็นอันมากมาจนทุกวันนี้แล ๚ะ๛

นำมาจาก http://th.wikisource.org

ขอเชิญทุกท่านร่วมนำเสนอความคิดเห็นได้ทุกบทความและสมัครเป็นสมาชิกบล็อคได้


ไม่มีความคิดเห็น: