Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

31 พฤษภาคม 2552

ทัศนะศึกษาที่นครโฮจิมินห์ประเทศเวียดนาม



























ในวันที่ 27-30 พฤษภาคม 2552 Tripนี้

ไปกันเอง โดยมีนักศึกษาปริญญาเอก ม.นเรศวร ชาวเวียดนาม ชื่อ Mr.Dan Thai Cong นักศึกษาชาวต่างชาิตินักเรียนนอกในประเทศไทย หัวหน้าคณะในครั้งนี้ เอาะ(เราก็นักเรียนนอกเหมือนกันนะเนี้ย อีกคนใน Trip นี้ฮิฮิจริงๆ คุณพิษณุ ชวนไป เลยได้แจมไปกับเขาด้วย ทริปนี้รู้จักแค่ 3-4 คน) โดยติดต่อทัวร์ในเวียดนามและไกค์ชาวเวียดนามพูดไทยได้ พาเที่ยวชมสถานที่ต่างๆในการทัศนะศึกษาครั้งนี้ Trip นี้เป็นการศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยและพระพุทธศาสนาและการพัฒนาของเวียดนามในนามของกลุ่มนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยนเรศวรและนักชอบเที่ยวบางส่วนซึ่งนำโดยคุณพิษณุ แก้วนัยจิตร นักศึกษาปริญญาเอก ม.นเรศวร ที่จบสถาบันเดียวกันสมัยศึกษาปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ในขณะนั้นเดินทางไปกลับด้วยรถทัวร์สายสุโขทัย-พิษณุโลก รวมระยะทางไป-กลับ 120 กิโลเมตร ไปถึงมหาวิทยาลัยแต่เช้าทุกเสาร์-อาทิตย์ ไปก่อนเพื่อนๆที่อยู่พิษณุโลก ในระยะเวลา 2 ปี เหนื่อยมากๆ แต่ไม่ท้อเลย เอาละไปถึงแต่เช้าเลยที่สนามบินสุวรรณภูมิ ฉันเพล(รับประทานอาหาร)ที่สนามบิน แต่ยังไม่เจอใครสักคนที่รู้จัก ใจสั่นๆแล้ว ทำใจดีสู้เสือ ได้เวลาเที่ยงครึ่ง 12:30 น. จึงเอา Booking Number ไปCheck in รับตั๋วที่นั่งกับสายการบินแอร์เอเซีย ปรากฏว่าออกตั๋วได้ ใจชื่นขึ้นมาหน่อย ตัดสินใจเดินไปรอที่ Gate G4 ทางขึ้นเครื่องบิน ก็ยังไม่เจอใคร จนเวลาบ่ายสามโมง ใกล้เวลาเครื่องบินจะออก จึงเห็นคุณโยมต่างๆหรือพรรคพวกที่ไปด้วยกันทยอยมา คุณพิษณุได้เข้ามาทักทาย จนได้เวลาเครื่องออกจากออกจากสุวรรณาภูมิเวลา 15:25 น. ไปถึงสนามบินนครโฮจิมินห์ ชื่อว่า ท่าอากาศยานลองแท็ง (Long Thanh) เวลา 17:55 น. รถบัสมารับแล้วนำไปจังหวัดเกิ่นเทอ ถึงจังหวัดเกิ่นเทอ เวลา 24:15 น. ตลอดทางไปฝนตกรถติดและมีแม่น้ำหลายสายมากอุดมสมบูรณ์จริงๆ ก่อนจะถึงจังหวัดเกิ่นเทอ จะต้องนำรถข้ามแม่น้ำสายใหญ่มากโดยเรือขนาดใหญ่ที่สามารถบรรจุรถได้ 10 กว่าคัน พวกเราลงจากรถแล้วเดินไปขึ้นเรือเพื่อความปลอดภัย โดยถึงที่พักโดยสวัสดิภาพ จำวัดทันที่ ตื่นนอนตี 4:30. สวดมนต์และสงฆ์น้ำ (อาบน้ำ) เช้าวันใหม่ของวันที่ 28 พ.ค. 52 ทุกคนดูจะมีความตื่นตาตื่นใจกับการได้นั่งเรือข้ามแม่น้ำในเมื่อคืนและความสดชื่นของบรรยากาศ ทุกคนได้ลงมาเดินชมบรรยากาศและบ้านเมืองในจังหวัดเกิ่นเทอ แล้วรับประทานเช้า แล้วนั่งเรือชมลำน้ำตลอดสายมีเรือโบราณที่ยังใช้อยู่เป็นเรือขายสินค้าและเรือบรรทุกดินทรายเป็นต้น แล้วจึงเดินทางต่อไปยังมหาวิทยาลัยเกิ่นเทอ ( Cantho University) บริบทของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในจังกวัดเกิ่นเทอ มีต้นไม้มาก มีตึกของมหาวิทยาลัย ที่เรียบง่าย มีการจัดการศึกษาถึงปริญญาเอกแต่ีมีนักศึกษาปริญญาเอกแค่ 38 คนเท่านั้น ทุกคนฟังสรุปการบรรยายของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย แล้วรับ Certification ก่อนเจ้าหน้าที่จะพาชมห้องสมุดมีนักศึกษามาใช้บริการมากโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ ได้เวลาเดินทางกลับโฮจิมินห์ พักกินข้าวระหว่างทางโดยต้องขึ้นเรือข้ามฝากอีก ทุกคนถ่ายรูปบนหลังคาเรือแฟรี่ข้ามฝาก เดินทางถึงโฮจิมินห์เกือบ 2 ทุ่ม เข้าที่พักผ่อนเพื่อเดินทางไปจังหวัดหว่องเต่า เป็นจังหวัดติดทะเล ประมาณ 125 กิโลเมตรก่อนไปได้ไปเยี่ยมครอบครัว Mr. Dan Thai Cong ในโฮจิมินห์ ตอนเช้าของวันที่ 29 พ.ค. 52 (ตอนเช้าเวลาุ6โมงเช้าสาวๆ 2 คน ลงไปเดินเล่นขากลับมาเล่าให้ฟังว่าโดนกระชากกล้องถ่ายรูปดิจิตอลแต่โจรไม่สามารถเอาไปได้เพราะโจรมันขับรถมอเตอร์ไซค์ เอามาเล่าให้ฟังเฉยๆว่าไปเที่ยวอย่าได้วางใจ) เอาละครอบครัวว่าที่ ดร.dan ได้ต้อนรับเป็นอย่างดีพร้อมรับประทานอาหารว่าง ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก สภาพของบ้าน หน้าบ้านจะมีความยาวไม่เกิน 4-5 เมตร แต่ตัวบ้านจะยาวมาก จะเป็นแบบนี้เหมือนกันทั้งเวียดนาม และคนเวียดนามชอบดื่มกาแฟมาก เพราะมีร้านแกแฟเต็มไปหมด เป็นการแฟที่ไม่ผสมนมและครีมเทียม แต่อร่อยดี ก่อนเดินทางไปจังหวัดหว่องเต่า ไปถึงเวลา 11:30 น. ทุกคนมีความตื่นตากับความสวยงามของบรรยากาศทะเลของเวียดนาม เดินชมน้ำทะเลที่ใสสะอาด บางคนลงเล่นน้ำ บางคนเดินชม เสร็จแล้วจึงขึ้นรถบัสเดินทางไปชมวังโบราณที่สวยแบบเรียบง่ายบนภูเขาที่ใช้เป็นที่พักผ่อนเฉพาะวันหยุดของกษัตริย์เวียดนามในอดีต เข้าไปข้างในมีของเก่าที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ สวยและบรรยากาศดีเพราะอยู่ติดกับทะเล ตลอดทางมีต้นไม้สักใหญ่มากเป็นร้อยต้น บรรยากาสดีมากเห็นวิวริมทะเล ได้เวลาขึ้นรถเพื่อเดินทางต่อไป เพื่อไปเที่ยวชม วัดพระพุทธศาสนาของเวียดนาม จำชื่อไม่ได้เพราะจำยากลืมจด จดไม่ทัน เป็นวัดที่สวยแบบธรรมชาิติและสะอาดตาเป็นอย่างมาก เป็นวัดตั้งอยู่บนเขาที่ไม่สูงนัก มีคนเวียดนามและนักท่องเที่ยวไปชมไม่ขาดสาย ขึ้นรถกลับถึงโอจิมินห์เวลา 19:25 น. เดินทางเข้าที่พัก จำวัด เพื่อเริ่มเช้าวันสุดท้ายของวันที่ 30 พ.ค 52 เช้าวันใหม่ของวันสุดท้ายเดินทางไปชมพิพิธภัณฑ์สงครามเวียดเวียดนาม ไม่สามารถนำภาพมาลงประกอบได้เพราะโหดจริงๆ ตลอดทางได้เห็นต้นไม้ใหญ่มากเป็นต้นไม้สมัยฝรั่งเศษปกครองเวียดนาม ตื่นตามากเพราะเมืองไทยเราเห็นยากมากในเมือง ถ้าอยากเห็นต้องเข้าป่าลึกแถวๆจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะเคยไปมาจึงรู้ เสร็จแล้วเดินทางไปชมทำเนียบรัฐบาลแต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นหอประชุมรวมชาติเวียดนามก่อนเข้าต้องสแกนก่อนเข้าโดยเจ้าหน้าที่เวียดนาม เมื่อเข้าไปภายในซึ่งใหญ่โตสวยงามดี แต่ละห้องเป็นของเก่าทั้งหมด มีห้องรับแขกอาคันตุกะต่างชาติ ห้องประชุม และที่สำคัญมีทางชั้นใต้ดินเพื่อหลบภัย หรือ (อุโมงค์หลบภัย)หากมีเหตุร้ายเกิดขึ้น เป็นทางสายยาวและมีห้องทำงานของแต่ละท่านเช่นประธานาธิบดีเป็นต้นเรียกว่า ( The warroom of the President) ชมเสร็จเดินทางไปชมโบสถ์คริสต์ ที่สร้างขึ้นสมัยฝรั่งเศษ และไปรณีย์กลาง และเดินทางไปตลาดกลางของโฮจิมินห์ พ่อค้าแม่ค้าชาวเวียดนามพูดไทยได้ เป็นตลาดสะอาดมากในตลาดมีขายสินค้าที่ระลึก อาหารน้ำดื่ม และอาหารสดเช่นปลาเป็นต้น เค้ารักษาความสะอาดมากจริงๆเมื่อเทียบกับบ้านเราของเราบางที่สกปรกคละเคล้ากันไป เดินชมตลาดกันจนเหนื่อยได้เวลากินข้าวกันไปกินข้าวที่ภัตตาคารเสร็จแล้วจึงเดินทางไปสนามบินโฮจิมินห์ เดินทางกลับถึงประเทศไทย 20:10 น. ในปัจจุบันมีประชาชนชาวเวียดนามนับถือพระพุทธศาสนามหายาน 85 % และศาสนาอื่นๆ 15 % เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู เต๋า ขงจื้อ การสื่อสารใช้ ภาษาเวียดนาม ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัว อักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัว อักษรจีน (Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม จึงทำให้คนรุ่นใหม่ของเวียดนามลืมอักษรจีนของเก่าไป เศรษฐกิจของเวียดนามได้แก่อุตสาหกรรม ทอผ้า น้ำมันปิโตเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เวียดนามส่งออกน้ำมันดิบเป็นรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถัดจากอินโดนีเซียกับมาเลเซีย และการส่งออกอาหารไปยังญี่ปุ่น ไตหวัน เช่น กุ้ง ปลา ปลาหมึกเป็นอันดับต้นๆของสินค้าส่งออก มาดูการศึกษาด้านวิชาชีพครูบ้างเป็นอย่างไรบ้าง

การศึกษาวิชาชีพครูในไทยและเวียดนาม(อ้างอิงจาก เว็บ http://bob23007.exteen.com)

การศึกษาในเวียดนามจะเห็นได้ว่าปัจจุบันกำลังมีการปฎิรูปการศึกษาเช่นเดียว กับประเทศไทย แต่ก็มีหลายอย่างที่น่าศึกษาจากประเทศนี้ นั่นก็คือ

1.ในขณะที่หลักสูตรการผลิตครูในประเทศเวียดนามนั้นเป็นหลักสูตร 4 ปี แต่หลักสูตรการผลิตครูของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นหลักสูตร 5 ปี แบ่งเป็นเรียนวิชาศึกษาทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาเอก เป็นเวลา 4 ปี และฝึกสอนอีก 1 ปี โดยหวังว่านักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูจะมีความรู้ในวิชาเอกเพิ่มขึ้น และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ไปยังลูกศิษย์ได้เป็นอย่างดี

เมื่อเปรียบเทียบการผลิตครูระหว่าง 2 ประเทศ จะเห็นว่า มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง (แนวคิดของนักการศึกษาไทยกับเวียดนามมีความแตกต่างกัน) โดยตั้งข้อสังเกตุว่าทำไมเวียดนามจึงจัดการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตครูได้ ทั้งๆ ที่ต้องเรียนถึง 221 หน่วยกิต ภายในเวลา 4 ปี นิสิต นักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูในเมืองไทยเดิมเรียนหลักสูตร 4 ปี และเรียนเพียง 140 -144 หน่วยกิตเท่านั้น นักศึกษาไทยมีเวลาว่างมาก บางวันเรียนไม่กี่รายวิชา บางวันไม่มีเรียน (โดยเฉพาะเทอมแรกของปี 4) นักศึกษาเหล่านั้นเอาเวลาว่างไปทำอะไร? ที่ไหน อย่างไร ....ปัจจุบันเป็น 5 ปี ฝึกงาน 1 ปี

แต่นักศึกษาของเวียดนามใช้เวลาเกือบทั้งหมดอยู่กับการเรียน ในเมือง (ฮานอย) ไม่มีห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ไม่มีโรงภาพยนตร์และสถานที่ท่องเที่ยว รวมไปถึงสิ่งยั่วยวน /ชักจูงเยาวชนไม่มีมากมายเหมือนเมืองไทย ประกอบกับการที่พวกเขาจะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เพราะไม่ต้องการที่จะมีชีวิตที่ยากลำบากเหมือนคนรุ่นพ่อแม่และต้องการมี โอกาสทำงานในวันข้างหน้า นอกจากนี้จะเห็นว่าในปีสุดท้ายของการศึกษาของนักศึกษาครูในเวียดนามจะต้องทำ โครงการวิจัย 10 หน่วยกิต

ชี้ให้เห็นว่าความเข้มข้นของการศึกษาต่างกันมาก และเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในระดับปริญญาโทของเมืองไทย พบว่า หลักสูตรปริญญาโทของเมืองไทยในหลายสถาบันเป็นหลักสูตรที่ไม่ต้องทำวิจัย บางหลักสูตรทำเพียงสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต บางหลักสูตรทำวิทยานิพนธ์12 หน่วยกิต แต่นักศึกษาครูระดับปริญญาตรีของเวียดนามต้องทำวิจัยถึง 10 หน่วยกิต เป็นผลให้นักศึกษาครูของเวียดนามเมื่อจบการศึกษาไปแล้วสามารถเป็นได้ทั้ง นักการศึกษา นักวิจัยและครูที่มีคุณภาพสูง

2.ในช่วงปิดภาคเรียนของทุกปี คณาจารย์ของแต่ละคณะวิชาจะมีโครงการ/โปรแกรมออกไปช่วยผลิต/จัดทำเอกสาร บทความ และหนังสือประกอบการเรียนให้กับสถาบันการศึกษาในชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลความ เจริญ ซึ่งนักศึกษาวิชาชีพครูได้มีโอกาสในการฝึกประสบการณ์ด้วย ในเมืองไทยมีกิจกรรมลักษณะนี้น้อยมาก กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นค่ายอาสาพัฒนาของนิสิตนักศึกษานั้น

3.ทุกวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปี ถือว่าเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ของผู้ประกอบวิชาชีพครูและนักการศึกษาของเวียดนาม ทางคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์จะจัดกิจกรรมการแข่งขันของนักศึกษาวิชาชีพครู ประจำปีขึ้น โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นมีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านวิชาชีพครูทั้งสิ้น เช่น การแข่งขันทักษะและความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู การแข่งขันดังกล่าวจะช่วยให้นักศึกษาวิชาชีพครูในชั้นปีสุดท้ายมีความเชื่อ มั่นในตนเองและเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาวิชาชีพครูด้วย กัน นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระหว่างการแข่งขันซึ่งจะ เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวนักศึกษาและคณาจารย์ อันจะส่งผลให้เกิดการปรับปรุงการเรียนการสอน/การผลิตนักศึกษาครูให้ดียิ่ง ขึ้น สำหรับประเทศไทยมีกิจกรรมในลักษณะนี้หรือไม่ ?

จะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาวิชาชีพครูในเวียดนามนั้น ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้มาก เพราะถือว่าการเป็นครูอาจารย์จะต้องมีความรู้ที่มากพอที่จะไปสอน และเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ได้ เพราะสิ่งที่ศิษย์จะเรียนรู้นั้นมิใช่เฉพาะวิชาที่ครูมอบให้เท่านั้น แต่รวมไปถึงแบบอย่างที่ครูปฏิบัติด้วย (ใช้ปัญญาพิจารณาเองว่าจริงไหม ผู้เขียนเองจบหลักสูตรครู เหมือนกันในสมัยเรียน ปริญญาตรี มหาจุฬาลงกรณ เพราะเป็นหลักสูตรที่ทุกสาขาต้องเรียน และปริญญาโท จบบริหารการศึกษา แต่ต้องยอมรับและสามารถนำมาวิจัยได้เพื่อแก้ปัญหา และทุกวันนี้เราพูดว่าการศึกษาของเราล้มเหลวต้องปฏิรูปใหม่อีกรอบ)

การนับเลขของชาวเวียดนาม

một โหมด 1
hai ฮาย 2
ba บา 3
bốn โบ๊น 4
năm นำ 5
sáu เซ๊า 6
bảy บ๋าย 7
tám ต๊าม 8
chin จิ๊น 9
mười เหมื่อย 10
mười một เหมื่อย โหมด 11
mười hai เหมื่อย ฮาย 12
Ba giờ rồi. บา เหย่อ โหร่ย สามโมงแล้ว


Từ vựng (คำศัพท์)

ông โองคุณผู้ชาย
bà บ่าคุณผู้หญิง
chào จ่าวคำทักทาย
xin lỗi
ซินโหลย
ขอโทษ
tên เตนชื่อ
là หล่าเป็น, คือ
gì หยี่อะไร
Dạ หย่ะครับ, ค่ะ
tôi โตยผม, ฉัน
còn ก่อนแล้ว....ล่ะ
Chào bà
จ่าว บ่า
สวัสดีคุณผู้หญิง
Tên bà là gì?
เตนบ่าหล่าหยี่
คุณชื่ออะไร

Tên tôi là Hà.
โตย
เตนหล่า ฮ่า

ฉันชื่อ Ha


สรุป การไปศึกษาในครั้งนี้ได้รับความรู้และัประสบการณ์ที่ดี ที่เห็นควรนำมาปรับใช้คือเรื่องความสะอาดของวัดพระพุทธศาสนาในไทย เพราะเป็นศาสนาสถานควรที่จะสะอาดไม่ควรมีถุงกระดาษ มูลสุนัข หรือมลพิษอื่นๆ เช่นบางวัดแถวนนทบุรี วัดที่มีคนจรไปอยู่กันเยอะ แต่ปล่อยให้มีมูลสุนัข เต็มวัด มีคนเยอะเสียเปล่า แต่ไม่จัดเวรรับผิดชอบสิ่งปฎิกูลภายในวัด สิ่งเสนอแนะคือควรมีการจัดเวรรับผิดชอบปฏิกูลและมูลสุนัขให้เรียบร้อย และสิ่งสำคัญอีกคือการพัฒนาบ้านเมือง รัฐบาลและข้าราชการควรจะมุ่งพัฒนาชาติบ้านเมือง มากกว่าเก่า และไม่แสวงหาผลประโยชน์และไม่โกงกินงบประมาณ ทำเพื่อบ้านเพื่อเมืองและประชาชนอย่างแท้จริง และประชาชนที่มีเงินมีทองแล้วจะต้องช่วยและร่วมมือแก้ไขสิ่งเลวร้ายทั้งของตัวเองด้วยคือไม่โกงรัฐต่างๆนานานั้นเอง ไม่ใช่เรามุ่งแสวงหาเพื่อจะได้กินรุ่นเราหมดไปเลย แต่ยังต้องคิดถึงรุ่นลูกรุ่นหลานที่จะอยู่บนผื่นแผ่นดินไทยต่อไป ที่ต้องใช้ชีวิตต่อไปในภายภาคหน้า ถ้าเราใช้หมดแล้วรุ่นลูกรุ่นหลานจะอยู่อย่างไร คือเราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดเสียใหม่ คือต้องสร้างวันนี้เพื่อคนรุ่นหลัง ไม่ใช่มากอบโกยแสวงหาความร่ำรวยที่ได้มาจากการทุจริตโกงกินเพื่อความสุขสบายของตัวเองและครอบครัว ซึ่งน่าละอายใจ ขอโทษที่ สุนัข ยังรู้จักรักษาบ้าน แต่ถ้าเป็นคนผู้ประเสริฐ ไม่รู้จักรักษาบ้านตัวเอง ดูๆจะน่าอายและต่ำกว่าสุนัข.

3 ความคิดเห็น:

Leonard กล่าวว่า...

สวัสดีคะ

นี่ขนาดเป็นทริปสั้น แต่ดูแล้วน่าประทับใจมากๆ เห็นแล้วก็คิดถึงเวียดนามเหมือนกัน แต่ช่วงนี้คงไม่ไปไหน ไส้แห้งมากๆคะ อิอิ

Leonard กล่าวว่า...

พระอาจารย์
อีเมล์อะไรคะ ว่างๆจะได้เมล์คุยคะ
ขอบคุณคะ

Leonard กล่าวว่า...

สวัสดีคะ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมกันที่บล็อก เวลาในบล็อกจะเป็นเวลา สหรัฐคะ ไม่ได้เปลี่ยน แต่อาศัยที่กรุงเทพคะ