01 กรกฎาคม 2552
ศ.ศาลา 4 ศ มีไว้ในใจสังคมดีแน่นอน
ในสภาวะสังคมที่สับสนและเลาะเทอะทางใจ(หาความจริงใจไม่มีกับคนไม่จริงใจและหาความจริงใจได้กับคนที่ใจจริง) และความคิดเป็นปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขเพราะคิดกันเลอะเทอะคิดกันนอกคุณธรรม คิดเห็นแต่จะเอาเปรียบในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน คนในปัจจุบันลุ่มหลงแต่กิเลส คิดเอาเปรียบและหากินบนความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แม้เขาจะมีความเป็นอยู่ที่ดีมีฐานะแต่สิ่งที่เขาทำคืออสัทธรรมคือบาป ผิดจากหลักศาสนาที่สอนให้ประกอบสัมมาอาชีพที่ดีสุจริต อาชีพใหม่ในสังคมไทยทุกวันนี้คืออาชีพหากินกับความเดือดร้อนคนอื่น ที่มีอยู่เต็มไปหมด เช่นอาชีพ รับซื้อรับฝาก ที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันอยู่ในตามจังหวัดต่างๆ ที่จริงเหมือนกับโรงรับจำนำดีๆนี้เอง แต่เลี่ยงไปใช้คำว่ารับซื้อรับฝากทุกอย่าง รับซื้อถูกๆรับจำนำถูกๆ แต่มาตั้งขายแพงๆ <เป็นการเล่าสู่กันฟังและเคยมากับตัวเองตอนเป็นพระน้แหละ> แม้จะเป็นของมือสอง นั้นคือหากินกับความเดือดร้อนคนอื่นไม่พอยังหากินกับผู้ที่จะมาอุปการะคุณสินค้านั้นเสียอีกโดยเรียกราคาแพงกว่ารับจำนำ ที่จริงการทำแบบนี้มีอยู่ในสังคมทุกหมู่บ้านทุกจังหวัดมาช้านาน ที่รอคอยจะเอารัดเอาเปรียบคนอื่นหากินบนความทุกข์คนอื่น บ่งบอกได้ว่าคนยังขาดศีลธรรม ขาดความเอื้ออารีย์ต่อกัน คือพูดง่ายๆว่าจะรอทรัพย์สินจากคนเดือดร้อนหรือคนมีทุกข์ว่าจะมีทรัพย์สินอะไรมาจำนำ นั้นคือการให้ทุกข์และซ้ำเติมคนอื่นให้เดือดร้อนหนักไปอีก จริงๆแล้วการทำแบบนี้และจะว่าไปแล้วอาชีพนี้เป็นอาชีพที่น่าขยะแขยงน่าเกียจสำหรับผู้เขียนเป็นอย่างมาก เพราะอะไร เพราะว่า อาชีพนี้ไม่สนใจว่าคนที่มาจำนำหรือมาฝากเดือดร้อนจากสาเหตุอะไร มาจากสาเหตุยังว่างงานก็น่าใช่ มาจากสาเหตุติดยาเสพติดแล้วเอาหรือขโมยของจากทางบ้านที่อื่นมาขายหรือฝากก็น่าใช่ มาจากสาเหตุขี้โกงไม่เก่งก็น่าใช่ มาจากสาเหตุติดการพนันก็น่าใช่ มาจากสาเหตุอะไรก็ตาม การหากินแบบนี้ใช่หน้าที่ของพลเมืองที่ดีเลย ท่านใดที่ปฏิเสธข้อเขียนตรงนี้ว่าไม่จริงโปรดส่งความเห็นมาได้พร้อมเหตุผลดีๆ แล้วจะนับถือท่านเป็นปรมาจารย์ของผู้เขียน สิ่งที่ผู้เขียนได้เห็นคือ คนยังขาดหลักพรหมวิหารสี่ ขาดสติหยั่งคิด และขาดความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ขาดความเอื้ออารีย์ต่อกัน ในโลกนี้มีบุคคลอยู่สองประเภทคือ คนดีมีศีลธรรม และคนไม่ดี ดูได้อย่างไรละ หรือเป็นมิตรแท้หรือเป็นมิตรเทียม ดังที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ดังนี้
ก.มิตรเทียม พึงรู้จักมิตรเทียม หรือศัตรูในร่างของมิตร (มิตรปฏิรูปก์) 4 ประเภทดังนี้
(1.)คนปอกลอก ขนเอาของเพื่อนไปถ่ายเดียว มี 4ลักษณะ
1. คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
2. ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอาให้มาก
3. ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
4. คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ประโยชน์
(2.) คนดีแต่พูด(วจีบรม) มีลักษณะ 4
1. ดีแต่ยกหมดของหมดแล้วมาปราศรัย
2. ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
3.สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
4. เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
(3.) คนหัวประจบ(อนุปิยภาณี) มีลักษณะ 4
1. จะทำชั่วก็เออออ
2. จะทำดีก็เออออ
3. ต่อหน้าสรรเสริญ
4. ลับหลังนินทา
(4.)คนชวนฉิบหาย(อปายสหาย) มีลักษณะ 4
1. คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
2. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
3. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
4. คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน
ข. มิตรแท้ พึงรู้จักมิตรแท้ หรือมิตรด้วยใจจริง(สุหทมิตร) 4 ประเภทดังนี้
(1.) มิตรอุปการะ(อุปการก์) มีลักษณะ 4
1. เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน
2. เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สินของเพื่อน
3. เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้
4. มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
(2.) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์(สมานสุขทุกข์) มีลักษณะ 4
1. บอกความลับแก่เพื่อน
2. รักษาความลับของเพื่อน
3. มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง
4. แม้ชีวิตก็สละให้ได้
(3.) มิตรแนะนำประโยชน์(อัตถักขายี) มีลักษณะ 4
1. จะทำชั่วเสียหาย คอยห้ามปรามไว้
2. แนะนำสนับสนุนให้ตั้งอยู่ในความดี
3. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง
4. บอกทางสุขทางสวรรค์ให้
(4.) มิตรที่มีใจรัก(อนุกัมปี) มีลักษณะ 4
1. เพื่อนมีทุกข์ พลอยไม่สบายใจ (ทุกข์ๆ ด้วย)
2. เพื่อนมีสุข พลอยแช่มชื่นยินดี (สุขๆ ด้วย)
3. เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ไข
4. เขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยพูดเสริมสนับสนุน
ค. มิตรต่อมิตร พึงสงเคราะห์อนุเคราะห์กัน ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่เป็นเสมือนทิศเบื้องซ้าย ดังนี้
- พึงปฏิบัติต่อมิตรสหาย ดังนี้
1. เผื่อแผ่แบ่งปัน
2. พูดจามีน้ำใจ
3. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
4. มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย
5. ซื่อสัตย์จริงใจ
- มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
1. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
2. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรัษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
3. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
4. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
5. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร
((อ้างอิงจาก หนังสือธรรมนูญชิวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชิวิตที่ดีงาม ของ พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ))
แต่ผู้เขียนขอเสนอแนวความคิดจากที่ศึกษาและประสบการณ์ชีวิตไว้ พอได้เป็นสิ่งสะกิดใจเตือนใจของมนุษย์ที่ยังเลอะเทอะคือขาดศีลธรรม จริยธรรมอยู่ในใจและที่ไม่เลอะเทอะคือคนมีศีลธรรม และจริยธรรมอยู่ในใจ จะว่าไปแล้วประสบการณ์ของทุกท่านมีทั้งขมและหวานปนกันไปทุกคนจะเจอเรื่องร้ายที่เจ็บปวดใจหรือเจอเรื่องดีที่สุขใจ แน่นอนว่าปนกันไป จะว่าไปแล้วถ้าคนในสังคมมีหลักปฏิบัติ ด้วยหลัก 4 ศ.นี้สังคมจะดีขึ้นมามาก ดังนี้
หลัก ศ.ศาลา หลัก 4 ศ.
ศ ที่ 1 คือ ศีล มีศีลตามหลักศาสนา ได้แก่ ศีล 5, 8, 10,227 เป็นต้น
ศ ที่ 2 คือ ศิลปะ คือวิธีการดำเนินชีวิตให้สุขุมนุ่มลึกด้วย มีท่วงท่าทำนองในการคิด ในการพูด ในการอ่าน และประกอบอาชีพ อย่างสร้างสรรค์ มีสุนทรียภาพ และการสร้างอารมณ์เย็นๆดีให้แก่ตนเอง คือคุณค่าของความดีความงาม นั้นเอง
ศ ที่ 3 คือ ศาสตร์ มีหลักวิชาความรู้ที่ดี เพื่อการพัฒนาตนเองและประเทศชาติ
ศ ที่ 4 คือ ศาลา หมายถึงเป็นเหมือนศาลาที่คลายร้อนของผู้ตกทุกข์ได้อยากเดือดร้อนหรือเป็นศาลาพักใจ ให้เขาได้คลายร้อนและคลายทุกข์ได้ และสามารถให้เขากลับไปใช้ชีวิตที่ปกติสุขได้ในสังคมที่เอารัดเอาเปรียบกัน ดังเช่นศาลาคอยกันแดด ฝน คือให้เราได้พึ่งพิงได้หายเหนื่อย หายร้อน หายจากการเปียกปอนจากฝน ขอยกตัวอย่างเช่น พระอุดมประชาทร วัดพระบาทน้ำพุ ที่เป็นศาลาที่พึ่งพิงของผู้ป่วยโรคร้าย และ ทางโลกที่เห็นจะรู้จักกันดี คือคุณชัชวาล คงอุดม (ชัช เตาปูน) ที่ให้ทุนการศึกษาแก่คนทั่วไปที่ไม่มีทุนการศึกษาและช่วยเหลือสังคม ดังนี้เป็นต้น ที่ยกตัวอย่างมาคือตัวอย่างที่ดีๆที่ยังมีอยู่ในสังคมไทย สังคมไทยที่จริงคนดีมีเยอะ และคนใจทรามก็เยอะ หากินบนทุกข์คนอื่น
สรุปเหตุที่เขียน 4 ศ. คือต้องการให้คนในสังคมได้ศึกษาและปฏิบัติเพื่อสังคมที่ดีงาม ใครปฏิบัติแบบนี้ได้จะลดปัญหาสังคมได้มากที่เดียว แต่คนไทยบางกลุ่มยังหากินกับความเมตตาและสงสารกับคนใจบริสุทธิ์ใช่ไหม ยังหากินกับความเดือดร้อนของคนอื่นใช่ไหม เลิกเถอะ หลวงพี่ขอร้อง มันไม่แมนไม่เป็นสุภาพบุรุษเลย.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
กราบนมัสการ
โอโห พระอาจารย์ ขยันจริงๆ แต่ต้องยกนิ้วให้เลย อ่านแล้ว ถูกต้องที่สุดดดดดดดดดดด คะ
แสดงความคิดเห็น