Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

10 มีนาคม 2553

ความหมายของชีวิต


ชีวิตอันหลากหลายในโลกใบใหญ่นี้ความหมายที่แท้จริงอยู่ที่การเข้าใจสรรพสิ่งว่าเป็นสิ่งเดียวกันกับปรมัตถ์สัจจะ ซึ่งหมายถึง ความจริงตามกฏธรรมชาติเป็นความจริงสากล ไม่กาลเวลา ไม่เลือกสถานและบุคคล เพราะทุกสรรพสิ่งเป็นไปตามกฏนี้ทั้งหมด คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และความจริงของชีวิตอีกระดับคือ ระดับสมมุติ เรียกว่าสมมุติสัจจะ เช่น ชื่อเป็นนามที่ใช้เรียกแทนตัวตนของเราเท่านั้น อาจจะไม่ใช่ตัวตนของตนเองก็ได้ เพราะเราสมมุติชื่อเรียกสิ่งต่างๆไปเองนั้นเอง พระพุทธเจ้าจึงเป็นเอกองค์ทางด้านวิจัยชีวิตอย่างแท้จริง เมื่อรวมทั้งสองอย่างคือ

1. ความจริงระดับปรมัตถ์ คือ ความจริงตามกฏธรรมชาติ
2. ความจริงระดับสมมุติสัจจะ คือ ความสิ่งสมมุติกันขึ้นมานั้นเอง

ชีวิตหมายถึงอะไร มีผู้รู้หลายท่านให้ได้ความหมายไว้ดังนี้
1. ราชบัณฑิตยสถาน 2542 ชีวิตหมายถึง "...ชีวิต...ความเป็นอยู่ ตรงข้ามกับความตาย" ในการดำรงชีวิตอยู่ มีลมหายใจ สามารถปฏิบัติสิ่งต่างๆได้ เราก็เรียกกันว่ามีชีวิต ซึ่งทุกชีวิตจะสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้โดยอาศัยช่องทางที่เรียกว่า " ทวาร" หรือ "อารยะภายใน 6" ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ "อารยะภายนอก 6" คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมพัสได้ทั้งกายและใจ
2. พระธรรมปิฏก (ป.อ.ประยุตโต) ชีวิตหมายถึงขันธ์ 5 ชีวิตเป็นผลรวมของ รูป และ นาม ขันธ์ 5 หมายถึง หมวด หมู่ กอง ของรูแกับนาม ที่แยกออกเป็น 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และท่านพุทธทาส บอกว่าชีวิต เป็นเรื่องของเบญจขันธ์

ดังนั้นความหมายของชีวิตของพระพุทธศาสนา จึงหมายถึง การมีชีวิตอยู่ด้วย ความจริงระดับปรมัตถ์ และความจริงระดับสมมุติสัจจะ ที่สรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามกฏธรรมชาิต คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มี ทวารทั้ง 6 ทั้งภายในและภายนอก เป็นตัวรับสัมพัสความจริงนั้น คือ รูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น ดังนั้น ชีวิตจึงหมายถึง ขันธ์ 5

ชีวิตมนุษย์ยังแบ่งเป็นองค์ประกอยด้วยส่วนต่างๆ เป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ
1. ส่วนที่เป็นกาย (รูป)
2. ส่วนที่เป็นจิต (นาม)

ดังนั้นองค์ประกอบชีวิตก็คือการมี กายและจิต เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันประสานการทำงานที่สอดคล้องกันขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นันเอง เมื่อร่างกายแตกดับ กายและจิตจึงแยกออกจากกัน ชีวิตจึงหยุด กระบวนการจึงเป็นตามธรรมชาติ คือ ย่อยสลาย แล้ว เกิดใหม่ กายและจิตจึงมารวมกันประสานการทำงานร่วมกันอีกครั้ง ดังนั้นชีวิตจึงสำคัยที่ว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างทำประโยชน์ที่ดีให้กับสังคมส่วนรวมและเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากน้อยเพียงใดนั้นเอง การไม่เบียดเบียนทำร้ายกันจึงเป็นตามความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า ศาสดาของพระพุทธศาสนา คือ มีศีล 5 เป็นหลักธรรมประกอบปรุงแต่งชีวิตให้เป็นมงคลดีงาม โดยยึดหลัก

เบญจศีล เบญจธรรม

1. เบญจศีล คือ ข้อห้าม 5 ประการ หรือ ศีล 5 นั้นเอง

2. เบญจธรรม คือ ข้อควรปฏิบัติ 5 ประการ คือ
2.1 มีเมตตากรุณาในจิตใจ ต่อเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกไม่ไปทำร้ายทำลายเบียดเบียนคนอื่น
2.2 สัมมาอาชีพ ที่สุจริต ไม่ค้าขายยาเสพติดทำร้ายคนอื่น โดยมีชีวิตที่มีความสุขบนความทุกข์คนอื่น มันเป็นบาปมหันต์ ตกนรกหมกไหม้
2.3 ซื่อสัตย์ต่อกันเช่นภรรยากับสามี
2.4 มีความซื่อสัตย์สุจริต
2.5 มีสติสัมปชัญญะ ทุกขณะในการดำเนินชิวิต


สรุป องค์ประกอบของชีวิต คือ
1. ส่วนที่เป็นรูปร่างตัวตน สัมพัสและรับรู้ได้ ดด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า กาย ( รูป)
2. ส่วนที่เป็นนามธรรม ไม่มีตัวตน สัมพัสได้รับรู้ได้โดยจิต เรียกว่า จิต (นาม)

อ้างอิง
1. ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546:336)

ไม่มีความคิดเห็น: