Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

18 มกราคม 2552

รอยยิ้มคือสื่อของหัวใจ



รอยยิ้มหลายๆคนต่างมีและหลายคนต่างมีรอยยิ้ม
ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต
ได้ให้ความหมายไว้ว่า {ยิ้ม ก. แสดงปรากฏให้ชอบใจ เยอะเย้ย หรือเกลียดชัง เป็นต้นด้วยริมฝีปากและใบหน้า}
ภาษาอังกฤษใช้คำว่า SMILE และ BEAM
ตัวอย่างที่ 1. She smiled a welcome.
2. He beamed on his daughter.
ยิ้มตามความหมายของ ศ.นพ.ดร. วิจิตร บุญยะโหตะ ท่านเสนอว่ายิ้มมี 3 แบบ
คือ 1. ยิ้มเศร้า 2.ยิ้มจริงใจ 3.ยิ้มแสแสร้ง
ศาสตร์ของการยิ้มนอกจากเพื่อสังคมแล้ว การยิ้มคือยาขนานหนึ่งที่จะบรรเทาปัญหาสุภาพ
วิธีมีรอยยิ้มสดใสไม่ใช่ความลับ เพียงแต่เรามรอยยิ้มหรือหมั่นยิ้มบ่อยๆ ยิ่งเป็นที่ชื่นชอบของคนอื่น แต่รางวัลของการยิ้มคือความสุข
ในปัจจุบันความสับสนวุ่นวายของคนเรามีมากขึ้นความสับสนทำใจเกิดอารมณ์หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย เสียอารมณ์ความรู้สึก ใบหน้าจะเหี่ยวย่นกอ่นวัย การสร้างรอยยิ้มและสร้างอารมณ์ดี รู้สึกดีๆเป็นสิ่งสำคัญ คนเรามักจะลืมคิดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก คิดแต่จะชิงดีชิงเด่น ทับถมกัน ฯลฯ บางครั้งความรู้สึกดีๆจากใจจริงของคนอื่น ที่เขามีให้แก่คุณ มันสญเสียไปกับความรู้สึกคิดอ่านที่คุณแสดงออกมานั้นเอง หรือคนอื่นเป็นผู้มอบให้เรา แต่เรากลับไม่รับความรู้สึกดีๆนั้น จึงทำให้บรรยากาศนั้นไม่ดี เกิดมีความเกลียดแทน ฉะนั้นคุณลองมานั่งคิดว่าจริงไหม
คนเราสูญเสียความรู้สึกดีๆให้แก่กัน สาเหตุเรานี้จึงทำให้มีการทะเลาะกัน โกรธกัน ไม่ชอบกัน
ฉะนั้นหันมาให้ความรู้สึกดีๆแก่กัน นั้นแหละคือความสุขที่จะเกิดจากภายในสันดาบ(สันดาน)ที่แท้จริง รอยยิ้มนั้นมีพลังคือสามารถสร้างความรัก ปรารถนาดี และมิตรสัมพันธ์ ที่แท้จริง
ในหลักของพระพุทธศาสนาที่พระองค์ได้ทรงสั่งสอน เป็นหลักรัฐศาสตร์,สังคมศาสตร์ การบริหารตนเองและบริหารครอบครัว สังคม และบริหารประเทศ ฯลฯ ที่ดีที่สุด คือหลักธรรมมุ่งสร้างสุขภาพจิตใจที่ดีและที่รักษาสภาพแวดล้อมที่ดี หลักธรรม พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่อง หลักทิศ 6 คือหลักสร้างรอยยิ้มที่ปรากฏธาตุแท้ของจิตใจภายในสันดาบ(สันดาน)ที่แท้จริง คือความงดงามของจิตใจ

การสร้างรอยยิ้มในครอบครัวและบุคคลต่างๆ

ครอบครัวเป็นหน่วยที่สำคัญของคนและสังคมการสร้างรอยยิ้มให้กับครอบครัวเป็นความจำเป็นที่มากกว่าความสำคัญการสร้างรอยยิ้มให้กับครอบครัว ผู้นำครอบครัว คือ พ่อ แม่ ต้องเป็นผู้เสียสละต่อครอบครัวร่วมกัน ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น การมีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวเป็นประจำคือการสร้างครอบครัวที่อบอุ่น และการสร้างรอยยิ้ม ตามหลักธรรมะ ในครอบครัว คือการปฏิบัติตามหลักธรรม เรื่อง ทิศทั้ง 6 ที่บุคคลต่างๆในสังคมพึงปฏิบัติต่ิอกัน

เป็นการสร้างความรู้สึกดีๆให้แก่กัน ให้รอยยิ้ม ให้ความสุข คือการสร้างที่ดีเยี่ยมให้แก่กันและกัน.


ยิ้มเศร้าๆยิ้มเหงาๆ ยิ้มหวานๆ

ฉันส่งยิ้ม เธอส่งยิ้ม ช่างวิไล

ยิ้มจริงใจ สร้างสัมพันธ์ เธอกับฉัน

โลกสดใส ด้วยรอยยิ้ม จิตชื่นบาน





08 มกราคม 2552

วิจัยชีวิต ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

บทความทางวิชาการ โดยพิษณุ แก้วนัยจิตร
นิสิตปริญญาเอก สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก


ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ชุมชนตามความหมายเดิมของไทยที่อยู่กันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือเอื้ออาทร รักสามัคคีกัน เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก อันเป็นผลมาจากการแพร่กระจายค่านิยมของมนุษย์ในสังคมโลก เฉพาะอย่างยิ่งค่านิยมที่แพร่จากสังคมประเทศตะวันตก เช่น แฟชั่น การแต่งกาย การใช้สินค้าและบริการที่ทันสมัยต่างๆ เป็นต้น นอกจากเป็นไปอย่างรวดเร็วโดยอาศัยการสื่อสารทางเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว ยังมีระบบตลาด ระบบขนถ่ายสินค้า พร้อมทั้งหน่วยบริการธุรกิจสมัยใหม่ อาทิ บริการเงินด่วนทันใจ ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่รองรับที่ปลายทาง สะดวกและสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้โดยง่าย เกิดการไหลบ่าทางวัฒนธรรมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนมีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมเดิมของชุมชน สุดท้ายชุมชนหรือสังคม ก็จะถูกครอบงำโดยค่านิยมภายนอกอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างที่โดดเด่นของปัจเจกบุคคลที่พบทั่วไปคือ การเป็นนักบริโภคนิยม ที่รับแบบไม่แยกแยะและเลือกสรรว่าสิ่งใดดี สิ่งใดเหมาะสมกับบริบทของตน แต่จะทำทุกวิถีทางเพื่อไขว่คว้าในการที่จะเป็นผู้สามารถสร้างอำนาจในการซื้อของตนให้สูงขึ้น สูงขึ้น ไปเรื่อยๆ ไม่มีคำว่า “พอเพียง” หรือ “เพียงพอ” ปรากฏการณ์ที่มีแนวคิดการพัฒนากระแสหลักเช่นนี้เกิดขึ้นในสังคมไทยและหยั่งรากฝังลึกลงในจิตสำนึก นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างแล้ว ยังเกิดผลในทางเศรษฐกิจที่ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนยิ่งห่างออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ การเอารัดเอาเปรียบกันในลักษณะ มือใครยาวสาวได้สาวเอา เห็นเด่นชัดขึ้นเป็นลำดับ ในขณะที่ คุณธรรม จริยธรรม เริ่มเจือจางลดน้อยถอยลงและอาจเลือนหายไปในเวลาอันใกล้ ถ้าหากขาดระบบถ่วงดุลที่ดี อาจนำไปสู่ปัญหาสังคมที่รุนแรงในระยะยาวได้

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความมืดดำแห่งมนต์อำนาจโลกาภิวัฒน์ ก็ยังมีแสงสว่างเล็กๆ ที่พร้อมจะปะทุเจิดจรัสขึ้นมาภายในประเทศ ด้วยพระบุญญาบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ทรงพระราชทานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมาเป็นเวลานานและต่อเนื่องกว่า สามสิบปี แล้ว (คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง, ๒๕๔๗) โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชดำรัสให้ผู้บริหารประเทศและ ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาที่สมดุล ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (๒๕๔๖)ได้ประมวลพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียงไว้ ตามลำดับดังนี้

๑. “ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐานคือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคง

พอ ควรแล้ว..... การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเองย่อมสามารถสร้างความเจริญ ก้าวหน้าระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้โดยแน่นอนส่วนการถือหลักที่จะส่งเสริมความ เจริญ ให้ค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันการผิดพลาดล้มเหลว”

พระบรมราโชวาท เมื่อ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗

๒. “....ให้เมืองไทยอยู่แบบพอมีพอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักความพออยู่พอกินนี้ได้เราก็จะยอดยิ่งยวด......”

พระราชดำรัส เมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๗

๓. “การเป็นเสือไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตนเอง อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเองจะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร .....ทำโครงการอะไรก็จะต้องนึกถึงขนาดที่เหมาะสมกับที่เรียกว่า อัตภาพ หรือกับสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นการที่จะทำโครงการอะไร จะต้องทำด้วยความรอบคอบและอย่าตาโตเกินไป”

พระราชดำรัส เมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐

๔. “....ให้พอเพียงนี้ ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ”

พระราชดำรัส เมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

๕. “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือน ตัวอาคารไว้นั้นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป”

พระราชดำรัส จากวารสารชัยพัฒนา ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒

๖. “พอมีพอกินได้พูดมาหลายปี สิบกว่าปีแล้ว ให้พอมีพอกิน แต่ว่าพอมีพอกินนี้ เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ เมื่อปีที่แล้วบอกว่า ถ้าพอมีพอกิน คือ self-sufficiency คือ พอมีพอกินของตัวเองนั้น ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน แต่ว่าค่อยๆ พัฒนาขึ้นมา ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่างจะเรียกว่าอำเภอ จังหวัด ประเทศ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้”
พระราชดำรัส เมื่อ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

๗. “....ทั้งหมดนี้พูดอย่างนี้ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง เศรษฐกิจพอเพียงที่ย้ำแล้วย้ำอีกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า SUFFICIENCY ECONOMY ใครต่อใครก็ต่อว่า ว่าไม่มี SUFFICIENCY ECONOMY แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้ หมายความว่า ประหยัดแต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง แล้วทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง”

พระราชดำรัส เมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓

จาก พระราชดำรัสเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ต่อมา คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง (๒๕๔๗) ได้รวบรวมนำเสนอเป็นหลักการในลักษณะของสามห่วง สองเงื่อนไข ที่ว่าสามห่วง คือ ๑.) ความพอประมาณ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น ๒.) ความมีเหตุมีผล หมายถึง การที่บุคคลได้พิจารณาอย่างรอบคอบด้วยวิธีต่างๆในการที่จะยอมเชื่อถือว่าข้อ สนเทศใดเป็นความจริงเกี่ยวกับสาเหตุและผลที่จะนำไปสู่ความพอเพียงและ ๓.) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง ความสามารถที่จะปรับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับผลกระทบทั้งดีและไม่ดีในอนาคตทั้งใกล้และไกล ตลอดจนมีความคิดและวิจารณญาณในการตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธการชักจูงหรือการ บีบบังคับจากฝ่ายต่างๆ สำหรับสองเงื่อนไข ที่จะทำให้เกิดความพอเพียงได้คือ ๑.) เงื่อนไขความรู้ คือ ต้องเป็นผู้มีความรู้ในหลักวิชารอบด้าน มีความรอบคอบในการตัดสินใจและมีความระมัดระวังในการดำเนินการปฏิบัติและ ๒.) เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ในการตัดสินใจกระทำ ตลอดจนมีความขยัน อดทน และใช้สติปัญญา ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เปรียบประดุจการค้นคว้า หาความรู้ ความจริงของชีวิต อย่างเป็นระบบมีเหตุมีผลเชื่อถือได้ ดังที่ผู้เขียนให้ทรรศนะว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ “วิจัยชีวิต” นั่นเอง และการให้ความหมายโดยนัย เช่นนี้ก็มิได้เกินความเป็นจริงที่จะสามารถนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปนามธรรมแต่อย่างใด

โดย เฉพาะอย่างยิ่งผู้เขียนและครอบครัวที่มีความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและมี ความภาคภูมิใจเป็นอย่างสูงยิ่งที่ได้เกิดมาภายใต้ร่มพระบารมีเบื้องพระ ยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งถือเป็นแรงบันดาลใจให้สามารถยืนหยัดสู้ชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ อย่างแข็งแกร่งและมั่นคง ดังที่ผู้เขียนให้สัญญาสร้างสรรค์ความดีถวายแด่ในหลวง ไว้ว่า “ปฏิบัติราชการด้วยความมุ่งมั่น ขยันอดทน ซื่อสัตย์สุจริต” และจากประสบการณ์ในการ “วิจัยชีวิต” สิบแปดปีที่ผ่านมาที่ผู้เขียนและครอบครัวยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต เริ่มจากการสร้างจิตสำนึกนึกดีปฏิบัติต่อบุพการีด้วยการกตัญญูกตเวทิตา ดูแลเมื่อยามเจ็บป่วย ช่วยค่าใช้จ่ายประจำเดือนแก่ท่าน มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนเปรียบเทียบรายได้กับรายการจ่ายในแต่ละวันและสรุปเป็นรายเดือน นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาภายในครอบครัวและหาข้อสรุปในการใช้จ่ายร่วมกันในเดือนถัดไป ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ฯลฯ ทำอย่างเป็นระบบครบวงจร ทำให้สามารถดูแลความสมดุลระหว่างรายได้กับรายจ่ายได้เป็นอย่างดีสร้างชีวิตส่วนตนและครอบครัวให้มีความสุขได้ตามอัตภาพด้วยดี

เสมอมา แม้การปฏิบัติข้างต้นผู้อ่านหลายท่านอาจจะมองว่าเป็นเพียงเศษเสี้ยวของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่สำหรับผู้เขียนและครอบครัวแล้ว ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีและเชื่อมั่นว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนขยายผลสู่ญาติสนิท มิตรสหายในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมในโอกาสต่อไป



กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจพอเพียง ถือเป็นปรัชญาที่ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการดำรงชีวิตของประชาชน

ทุกคน ทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา) มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล รวมถึงจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวเองที่ดีพอสมควรเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอก ดังนั้นเพื่อเรียกความเป็น “ไท” กลับมาอย่างเต็มภาคภูมิจึงควรเริ่มต้นด้วยการสร้างความตระหนักสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ให้เป็นภูมิคุ้มกันกระแสโลกาภิวัฒน์ในลักษณะกระแสหลัก และร่วมแรงร่วมใจกันผลักกระแสรองอย่าง เศรษฐกิจพอเพียง ให้กระจายลึกลงไปในจิตสำนึกของปวงชนชาวไทยทุกคน มีความมุ่งมั่นที่จะค้นคว้าสะสมให้เป็นองค์ความรู้ใหม่หรือวิจัยชีวิต ด้วยการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและระเบิดศักยภาพภายในตัวออกมาให้ปรากฏอย่างพร้อมเพรียง เมื่อนั้นกระแสรองอาจผันตัวเป็นกระแสหลัก และถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริง ผู้เขียนมั่นใจและเชื่อมั่นว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” จะเป็น
กลไกสำคัญในการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน ภาครัฐและภาคเอกชน จากนั้นจึงขยายผลของการพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของชุมชน สังคม เศรษฐกิจและประเทศชาติโดยรวมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป.
...............................................................................

04 มกราคม 2552

“…ประเทศไทยรับวัฒนธรรม จากประเทศตะวันตกเข้ามามาก ทำให้คนเครียด ท่านเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่าหรือไม่ จงอภิปราย…”



โดย นาย นรุตม์ ศุภวรรธนะกุล
นักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สภาวะความเครียดเกิดจากความกดดันต่อเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เชิงบวกหรือเชิงลบ ก็ตาม เช่น ความเครียดที่เกิดจากการออกเด็ทครั้งแรก หรือ การเข้าห้องสอบ เป็นต้น ปัจจัยของการเกิดความเครียดมีหลายประการ ซึ่งเกิดจากทั้งตัวของเราเอง และสภาพความเป็นอยู่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม ทำให้ในบางครั้งเป็นการยากที่จะบอกว่าปัจจัยเพียงตัวเดียวเป็นสาเหตุของสภาวะความเครียดทั้งหมด เนื่องจากปัจจัยเหล่านั้นมีความเกี่ยวโยงกัน จากคำกล่าวข้างต้นข้าพเจ้าเห็นด้วยว่าวัฒนธรรมตะวันตกก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไทยประสบกับสภาวะความเครียดดังกล่าว

การรับวัฒนธรรมตะวันตกมานั้นส่งผลให้เกิดความพยายามปรับตัว ซึ่งส่งผลให้เกิดความเครียดตามมา อย่างไรก็ตามการที่จะกล่าวโทษวัฒนธรรมตะวันตกทั้งหมด ย่อมไม่สมควรนัก เพราะ วัฒนธรรมตะวันตกในบางประเด็นมีประโยชน์และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมได้ดีขึ้น เช่น การตรงต่อเวลา แต่เนื่องจากคนไทยไม่คุ้มเคยกับวัฒนธรรมดังกล่าวมากนัก การที่อยู่ในสังคมที่อาศัยการตรงต่อเวลาอย่างมาก อาจส่งผลให้เกิดความเครียดจากการปรับตัวตามมาเช่นกัน แต่ทว่าประเด็นที่สร้างผลกระทบในภาพกว้างในสังคมเมืองไทยปัจจุบันนั้น คือ การซึมซับวัฒนธรรมการบริโภคนิยมและทุนนิยมเข้ามาปนกับวิถีชีวิตของคนไทย วัฒนธรรมดังกล่าวก่อตัวจากรูปแบบวิถีชีวิตของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา และแพร่กระจายผ่านสื่อหลากหลายชนิด โดยที่สื่อเหล่านั้นทำหน้าที่หลักในการสร้างความเชื่อและกล่อมให้ผู้ที่เสพย์ มีความต้องการ อยากใช้ชีวิตอย่างที่พวกเขาเห็นและอยากได้สินค้าที่พวกเขาพบ ยิ่งไปกว่านั้นประเทศจำนวนมากก็ได้ใช้ รูปแบบของการครอบงำวัฒนธรรมของสหรัฐอเมริกาไปใช้เช่นกัน เช่น การสร้างกระแสความนิยมศิลปินจากประเทศญี่ปุ่น และ เกาหลี เป็นต้น วัฒนธรรมทุนนิยมและบริโภคนิยมสร้างกับดักขนาดใหญ่ขังผู้คนจำนวนมากให้ตกอยู่ในความเครียด ยิ่งไปกว่านั้นวัฒนธรรมดังกล่าวยังมอมเมาให้พวกเขาหลงเชื่อว่าวิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยความเครียดนั้น เป็นรูปแบบชีวิตที่น่าปรารถนา ปัจจุบันสังคมเมืองจึงกลายเป็นสถานที่ที่ประชาชนมีโอกาสเสี่ยงจากความเครียดมากที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางที่ซึมซับวัฒนธรรมทั้งสองดังกล่าวเข้ามาได้มากที่สุด

วัฒนธรรมทุนนิยมที่มุ่งเน้นการสร้างกำไร เงิน และ ความมั่งคั่ง โดยมองข้ามความสุขทางด้านอื่นๆ ในชีวิตของมนุษย์ ผู้คนที่ตกอยู่ในวิถีชีวิตที่มีทุนนิยมครอบงำ จะใช้เวลาเกือบทั้งหมดในชีวิตในการทำงานหนักเพื่อหาเงิน มาเติมเต็มความต้องการอย่างไม่รู้จักจบสิ้น จนในบางครั้งลืมการให้ความสำคัญแก่ครอบครัว เพื่อน การพักผ่อน หรือ แม้แต่ศีลธรรมที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคม เมื่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดในชีวิตคือการหาเงิน โดยเชื่อว่าเงินสามารถซื้อหาทุกอย่างได้ในชีวิต จึงนำไปสู่การแข่งขันตั้งแต่ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และ ที่ทำงาน สภาวะกดดันของการแข่งขันทำให้ชาวเมืองส่วนใหญ่ต้องตกอยู่ในสภาวะความเครียด และเมื่อประสบความผิดหวังมักในขณะที่ตนเองมีความกดดันมาก บางคนตัดสินใจเลือกทางออกที่ไม่เหมาะสม เช่น การฆ่าตัวตาย เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นสภาพการแข่งขันที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้การหาความจริงใจในหมู่เพื่อนฝูงเป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่กลับพบเจอการชิงดีชิงเด่น หักหลัง ล้างแค้น เป็นเรื่องปกติในสังคม ทุนนิยมทำให้เราเชื่อว่าหนทางทุกอย่างที่นำมาซึ่งเงินจำนวนมหาศาลย่อมถูกต้องที่สุด ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะผิดศีลธรรมมากแค่ไหนก็ตาม

ในขณะที่วัฒนธรรมบริโภคนิยมซึ่งทำงานควบคู่กับทุนนิยมได้เป็นอย่างดีนั้น ตอกย้ำให้เราเชื่อว่าตนเองไม่เพรียบพร้อม และ ต้องหาซื้อสินค้านานาประเภทเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองเสมอ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การเปลี่ยนแปลงจะไม่มีวันสิ้นสุด เมื่อกระแสความนิยมในสังคมที่ถูกสร้างขึ้นอีกไม่นานก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ผู้ที่ใช้ชีวิตอิงกับกระแสสังคมก็จะต้องเปลี่ยนแปลงตนเองอีกครั้ง โฆษณาหลายร้อยชิ้นทำให้เราเชื่อว่า ความงามคือการที่มีรูปร่างที่ผอมบาง ผิวขาวอมชมพู และการแต่งตัวตามกระแสสังคม สื่อโฆษณาแบบบริโภคนิยมทำให้คนหลงเชื่อว่าส่งที่พวกเขาพบเห็นในโฆษณาคือรูปแบบวิถีชีวิตที่ดี และ คนส่วนใหญ่น่าจะมีวิถีชีวิตแบบนี้ ถ้าหากพวกเขาไม่ได้เป็นอย่างที่ภาพในโฆษณาแสดงให้พวกเขาเห็น เขาอาจจะไม่สามารถเข้าสังคมหรือได้รับการยอมรับจากคนทั่วไป ความเครียดเกิดจากการที่ชาวเมืองกดดันตนเอง เพราะหลงเชื่อภาพที่พวกเขาเห็นในสื่อ เชื่อในสิ่งที่กระแสสังคมบอกพวกเขา ซึ่งในบางครั้งรูปแบบวิถีชีวิตที่พบเห็นจากสื่อหรือเป็นที่นิยมในสังคม เป็นรูปแบบวิถีชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ หยาบกระด้าง มอมเมา และ ผิวเผินเท่านั้น การกดดันตนเองเพื่อเป็นในสิ่งที่ไม่ใช่ตนเอง เพื่อให้ได้การยอมรับจากสังคมที่ไร้ซึ่งความจริงใจ ท้ายที่สุดนำมาซึ่งความเครียด การรังเกียจตัวเอง อย่างไม่จักจบจักสิ้น

สังคมเมืองที่ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมแบบทุนนิยมและบริโภคนิยมทำให้ คนต่างแข่งขันกันเองเพื่อหาเงินจำนวนมาก และเลือกที่จะทำร้ายกันมากกว่าที่จะร่วมมือหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน เมื่อได้ผลประโยชน์มาแล้วก็เอาเงินมาใช้จ่ายใช้สอยซื้อความสุขที่ไม่ยั่งยืนมาปรนเปรอตัวเอง และหลงเชื่อว่าความสุขที่ตนซื้อมาคือความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน วัฒนธรรมจากตะวันตกดังกล่าวทำให้คนมองข้าม ความสุขเล็กๆน้อยๆ ภายในจิตใจของเราเอง ยึดติดเฉพาะเปลือกสวยงามที่พวกเขาเห็น และ หลงเชื่อว่าข้างในย่อมดีเช่นเปลือก นอก การที่เรามีเงินจำนวนมหาศาล มีชื่อเสียงโด่งดัง มีรูปร่างหน้าตางดงาม มีตำแหน่งในที่ทำงานที่ใหญ่โต ไม่ได้นำความสุขมาให้แก่เจ้าของเสมอไป เพราะในความเป็นจริงแล้วความสุขอยู่ที่วิธีการคิดของแต่ละบุคคลมากกว่า ถ้าพอใจในสิ่งที่มี ไม่หลงเชื่อในสิ่งที่ผู้อื่นบอก ไม่กระเสือกกระสนอยากเป็นในสิ่งที่ไม่ใช่เรา อยากได้ของที่ไม่ของเราแล้ว ความสุขก็สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องแก่งแย่งชิงดีกับผู้อื่น และอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสียเงินเพื่อซื้อความสุขด้วยเช่นกัน ถ้าในสังคมเมืองการเป็นคนทันสมัยต้องความสุขกับภาพลวงตาที่สื่อและสังคมพยายามยัดเยียดให้ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าขอเป็นบุคคลที่หล้าสมัย แต่สามารถมีความสุขกับสิ่งที่ตนเองมี และสามารถกำหนดชีวิตด้วยตัวข้าพเจ้าเอง ปราศจากการครอบงำทางความคิดจากกระแสสังคมที่หลอกลวงและต้องการอย่างไม่รู้จักพอ.




01 มกราคม 2552

พรปีใหม่อันประเสริฐของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ประชาชน


เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๒ เวียนมาถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส.และพระราชทานพรปีใหม่แก่ประชาชนชาวไทย ทาง เมื่อค่ำวันที่ ๓๑ ธ.ค. ๒๕๕๑ พระราชกระแส มีดังนี้

ประชาชนทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่เราควรระลึกถึงกันและอวยพรแก่กันด้วยความ ปรารถนาดี ก่อนอื่น ข้าพเจ้าต้องขอขอบใจทุกท่านเป็นอย่างมาก ที่ร่วมกันจัดงานพระศพพี่สาวข้าพเจ้าอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ ทั้งอุตสาหะมาร่วมในงานเมื่อเดือนพฤศจิกายนด้วยใจภักดีและระลึกถึง กับขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆคนให้มีความสุขความเจริญ

ความสุขความเจริญนี้เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่ความสุขความเจริญนั้น จะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยการที่ทุกคนตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิดกำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ไม่ว่าจะประพฤติปฏิบัติการใด ก็ใช้สติปัญญาพิจารณาไตร่ตรองจนถ้วนถี่ ให้เห็นกระจ่างถึงผลดี ผลเสีย ทั้งใกล้ไกล ทุกแง่ทุกมุม ความรู้ความเข้าใจชัดถึงผลดีผลเสีย ย่อมจะทำให้แต่ละคนเล็งเห็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ว่าสิ่งใดควรละเว้นและสิ่งใดควรปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผลเป็นประโยชน์ที่แท้จริงและยั่งยืน ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม

ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท จะคิดจะทำสิ่งใด ให้คิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ผลของการคิดดี ทำดีนั้นจะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนประสบแต่ความสุขความเจริญและทำให้ชาติบ้าน เมืองมีความเรียบร้อยและอยู่เย็นเป็นสุข ดังที่ทุกคนทุกฝ่ายตั้งใจปรารถนา

ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเราเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรค ปราศจากภัย ให้มีความสุขกาย สุขใจและความสำเร็จสมหวัง ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน