Welcome to my blogspot

ดาวน์โหลดบทความใหม่ (dwnld)...ร.๕ กับการเสด็จประพาสประเทศอินเดีย...ขอขอบคุณบทความดีๆที่มีให้เราๆได้อ่าน เสริมปัญญา เป็นอาหารสมอง และให้ความรู้ที่ดีที่สุด­เพราะกลั่นมาจากปัญญาแท้ๆ wel 2013 come / Happy new year

หยิบข่าวมาบอก:Breaking News

r

27 มกราคม 2553

เดินทางไป Conference เมือง Indore, Mumbai และ ไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาที่ Ajanta : ประเทศ India ตอนที่ 3

เมื่อพวกเราเดินทางมาถึง Bud Stand แล้วหลวงพี่ได้พา ดร.แดน ไปยังสถานีรถไฟ จากตัวเมือง Aurangabad ไปยังสถานีรถไฟ Aurangabad Railway Station โดยนั่งออโต้ริกชอ ( Auto rickshaw) หรือตุ๊กๆแบบบ้านเรานั้นเอง ราคาก็ไม่แพง Rs. 40 รูปีเองไม่ไกล ราคานี้จำไว้นะถ้าท่านใดจะไป หลวงพี่และ ดร. แดน มาถึงสถานีรถไฟแล้ว ไม่รอช้าเดิเข้าช่องซื้อตั๋วทันที มีที่นั่ง พวกเราได้ เที่ยวรถไฟเวลา 21:45 น.เป็นรถไฟชั้น Sleeper ธรรมดาไม่มีแอร์ อากาศหนาวอยู่แล้ว หนาวมาก ซื้อตั๋วเสร็จแล้วเลยเดินสำรวจสถานีรถไฟ และเดินเที่ยวไปเลย เพราะยังมีเวลาอีกมากเลย ตัวเหนี่ยวมากนะเพราะนั่งรถทัวร์ทั้งคืนและทั้งวัน สิ่ที่มองหาคือ ห้องอาบน้ำ เพื่อทำกิจธุระตัวเอง ดร.แดนเจอห้องอาบน้ำชายเลยเดินมาบอก ไม่รอช้ารีบหาแปรง สบู่ ยาสระผมทันที ทำกิจธุระส่วนตัวแล้วชื่นใจ ตัวหายเหนี่ยวแล้ว ดร.แดน ไม่รอช้าเหมือนกันผลัดกันเพราะต้องนั้นเฝ้าของ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เราก็นั่งรอขบวนรถไฟกัน เพราะเหลือเวลาอีกแค่ชั่วโมงกว่าๆ เมื่อขบวนรถมาจอดเทียบแล้ว หาตู้ของเราได้แล้วก็นั่งรอขบวนรถไฟออก เป็นรถต้นทาง รถไฟออกจากสถนีไปถึงมุมไบ (Mumbai) เวลา ตี 5 กว่าๆ (05:00 am.) ของวันที่ 26 ธันวาคม 2553 นอนยาวมาเลย

Out trip to Mumbai


รถไฟมาถึง MUMBAI C.S.T. TERMINUS ( CENTRAL RLY.) พวกเราเดินออกมาจากสถานีเรียกรถ Taxi ไปยัง Churchgete Local Rly. เพื่อนั่งรถไฟไป Mumbai Central เข้าที่พักที่ YMCA International เพื่อใช้พักกันคืนเดียวเพราะต้องเดินทางกลับประเทศไทยในเที่ยงวันของวันที่ 27 Dec 09 ด้วย Jetair way เมื่อพวกเราเข้าที่พักแล้ว ในตอนเช้าหลวงพี่ชวน ดร.แดน ไปเยี่ยม Prof. Dr.Harichandan ที่บ้านของท่านหรือ Hostel J.S.Hall University,Churchgate,University of Mumbai ที่ท่านดูแลอยู่เป็นที่หอพักนักศึกษาชายเท่านั้น ทางสะดวกที่มาคือนั่งรถไฟท้องถิ่น จาก Mumbai Central มาลง Churchgete แล้วเดินไปอีก 25 เมตรก็ถึง ที่พักของท่าน หลวงพี่พาแดนขึ้นไป ก็พบกับท่าน Dr.Harichandan กำลังนั่งทานข้าวอยู่ Prof Dr. เจอกับหลวงพี่แกรู้สึกดีใจ หลวงพี่แนะนำ ดร. แดน ให้รู้จัก ถาม-ตอบ กันสักพัก แล้วท่านบอกว่าจะมี Conference ในวันที่ Dec 29-31, 09 ท่านต้องการเข้าร่วมด้วยไหม พวกเราบอกว่าขะเดินทางกลับไทยในวัที่ 27 แล้วเพราะเป็นวันที่ต้องกลับ แต่พวกเราก็นั่งคิดกัน ว่าถ้าจะเข้าร่วมก็ต้องเปลี่ยนวันเดินทางกลับเป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2553 สรุปว่าพวกเราจะเข้าร่วม เพราะหลวงพี่กับ ดร.แดน ได้เตรียมเรื่องมาด้วย ที่ทำร่วมกัน และนำเสนอร่วมกัน และต้องเปลี่ยนวันเดินทางที่สนามบินเลย ที่ Santacruz Domestic Airport

พวกเราออกเดินทางพร้อมกับท่านProf. ด้วยรถประจำตำแหน่งของท่าน เดียวนี้มรถประจำตำแหน่งด้วยเพราะท่าน Prof.Dr. Harichandan เป็นข้าราชการผู้บริหารชั้นผู้ใหญ่เทียบได้กับ ซี 10 บ้านเรา ท่านกรุณานำรถไปส่งเรา 2 ที่ คือ ที่ Gateway of India และทางเข้าสนามบินท้องถิ่น พวกเราไปถ่ายรูปที่ gateway แล้วก็ขึ้นรถประจำตำแหน่งของท่านไปต่อ ระหว่างทางได้เจอ รถ TATA NANO ที่วิ่งอยู่บนถนน คนขับชี้ให้ดูเลยหันไปดูแะถ่ายรูปมาด้วย พวกเราลงจากรถเพื่อเปลี่ยนวันเดินทางที่สนามบิน เสร็จแล้ว พวกเรานั่ง Rickshaw เพื่อไปหาท่าน Prof. ที่ Santacruz (E) University of Mumbai แม้รถพาเราอ้อมน่าดู หัวเสียเลย คนขับลงไปถามทาง 4 รอบ แม้มันแกล้งนะ เพื่อจะเรียกเงินเพิ่ม ไม่ดีนะแบบนี้


หลานหลวงพี่เอง แต่เค้าเรียกหลวงพี่ว่า ลุง Uncle.

เมื่อถึงแล้วก็เดินขึ้นไป Office ของท่าน เพื่อ Submitted งานวิจัยที่พวกเราเตรียมกันมา หลวงพี่ได้พบกับ Prof.Dr. Shefali Pandya คณะบดีศึกษาศาสตร์ ท่านทักหลวงพี่ก่อนเพราะท่านจำได้ ท่านบอกว่าเมือ่ไรจะมาเรียนปริญญาเอกละ ตอบท่านไป
ว่าฉันจบปริญญาเอกมคธ แล้วละ ท่านยินดีด้วย ท่านดูท่าทางจะยุ่งมากกับงานในครั้งนี้ และได้เวลากลางวันแล้วท่านสั่งข้าวผัดมาให้หลวงพี่และแดน นั่งรับประทานในห้องทำงานนั้นเลย สรุปว่าหลวงพี่และแดนพักกันที่ YMCA กันหนึ่งคืน แล้วย้ายมาพักที่ Hostel J.S.Hall University ที่ Prof. จัดไว้ให้ห้องใกล้ๆกับห้องของท่าน งานเริ่ม Dec,29-31 พวกเรา Submitted แล้วและผลงานได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือแล้ว เพื่อแจกแก่ผู้มา presented ในงานครั้งนี้ งานนี้มีชื่อว่


Participated in the 43 rd IAET International Conference on
Teacher Education and ICT : Globa
l Context,
Policy and Framewo
rk
held on 29-32 December,2009

organised by Institute of Distance and Open Learning (Idol)
and Department of Education, Univer
sity of Mumbai,
Vidyanagari, Santacruz (East), M
umbai - 400 098


ห้องทำงานท่าน Prof.

ก่อนอื่นพวกเราได้เดินทัศนะศึกษารอบเมืองมุมไบกันก่ิอนเลยได้ Viewing ดีๆมาด้วยก่อนวันงานจะเริ่ม หลวงพี่มาวิเคราะห์ดูแล้วว่า ระบบวรรณะ 4 ล้มสลายไปแล้ว เนื่องจากการสื่อสารที่เจริญ เช่น มีดาวเทียมให้ชมกันคือทีวีผ่านดาวเทียมนั้นเอง โทรศัพท์ การคมนาคม และอื่นๆที่ทำให้ความคิดกว้างขวางขึ้น และ มีการออกไปทำงานข้างนอก เนื่องจากเมืองใหญ่ๆ เช่นมุมไบ เป็นเมืองเศรษฐกิจที่จะต้องออกไปทำงานนอกบ้านกัน และเรื่องกินละนอกบ้านจะต้องมีคนบริการอาหารหรือขายอาหาร ก็มีแต่พวกวรรณะที่ 3-4 คือ พ่อค้่าและศูทร์ ที่จะคอยบริการคนทำงานเหล่านั้น ที่ทำงานนอกบ้าน เมืองใหญ่ๆผู้คนต่างๆจากเมืองอื่นมุ่งแสวงหาความมั่นคงให้ตนเอง ก็จะเดินทางมาเมืองใหญ่ๆเช่นเมืองมุมไบนั้นเอง พวกเขาสามารถตั้งตัวได้จากคนยากจนมาเป็นคนรวยได้เช่นกันเยอะมากในมุมไบ และเมืองมุมไบก็เปลี่ยนไปมากมีการนำเอารถใหม่มาเป็น Taxi มากขึ้น มีทหารคุมตามสถานที่สำคัญหลังเหตุการณ์สะเทือนใจนั้นเอง



Picture taken in Mumbai, Dec,2009

เมื่อถึงวันงาน ท่าน Prof.Dr.Harichandan อำนวยความสะดวกพวกเราเต็มที่ งานนี้ฟรีทุกอย่าง ขอบอก ท่านอื่นที่มาร่วมงานเสียค่าสมัครกันหมด หลวงพี่และ ดร.แดน ไม่ต้องเสียเิงินสักบาท/รูปี เพราะมีเส้นท่าน Prof.ช่วยเหลือ อนิสงค์เลยได้กับแดนไปด้วย เพราะหลวงพี่ BIG NAME IN MUMBAI นั้นเองฮ่า ฮ่า ค่าห้องไม่ต้องเสีย อาหารก็ฟรี และผลงานก็จะได้ลงตีพิมพ์ในวารสารอีกต่างหากโชคดีจริงเลยงานนี้โชคดีปีใหม่ และงานนี้หลวงพี่ได้หนังสือที่ท่าน Prof.Dr. Harichandan แต่ง

ด้วย 2 เล่ม ท่านให้หลวงพี่เป็นที่ระลึก หลวงพี่คิดว่าจะขออนุญาตแปลแล้วพิมพ์จำหน่ายเป็นความรู้ให้แก่ท่านผู้สนใจการจัดการศึกษาและบริหารการศึกษาทางไกล





ภาพวันเปิดงาน Prof.Dr S.R.Pandya ขวามือสุด และ Prof.Dr.Harichandan คนที่ 2 ซ้ายมือ
ทั้งสองท่านกล่าวขอบคุณ ประเทศไทย ประเทศเวียดนามและแอฟริกา และทุกท่านที่เข้าร่วมงาน โดยเฉพาะ ประเทศไทยได้ถูกกล่าวขอบคุณมาก 2 ครั้งจาก Prof.Dr S.R. Pandya น่าชื้นใจจริง

งานที่พวกเรานำเสนอครั้งนี้คือ

COMMUNITY-UNIVERSITY-INDIVIDUALS PARTNERSHIP FOR TEACHER'S PROFESSIONAL DEVELOPMENT IN EDUCATION FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT FROM THE MEKONG 1,000 PROJECT IN THE LOWER MEKONG DELTA REGION, SOUTH VIETNAM.
by Dr. Thai Cong Dan,Ph.D.
Phra Dr.Rangsan Phimchangthong,ฺฺ B.A. M.ed. Ph.D.
Doctoral Candidate, Naresuan University, Thailand
Doctoral Candidate,Magadh Universit y, India

and The Phranakhon Rajabhat University,Thailand


เป็นงานวิจัยที่หลวงพี่และ ดร. แดน ทำงานร่วมกัน

ถ่ายรูปร่วมกับ Dr.ท่านต่างๆ

Prof.Dr Harichandan and his Wife,
Visited and presented papers at Cambridge University and the Open University,UK.


ข้อคิดของหลวงพี่ที่ทำ คือ ความรู้จะเกิดได้คือต้องศึกษาหาความรู้ แล้วความรู้จะเกิดแก่ตัวเราเองและบุคคลอื่นๆจะได้รู้ด้วย หลวงพี่โชคดีจริงๆนะ งานนี้ ท่าน Prof Dr. Harichandan ท่านบอกว่าจะนำผลงานไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัย ท่านจะได้ประโยชน์ด้วย เพื่อส่งเสริมตัวท่าน (หลวงพี่) หลวงพี่บอกตรงๆว่าเป็นคนที่โชคดีมาตลอดชีวิต เช่น งานนี้ และมีโยมออกค่าเทอมช่วยเหลือ เป็นต้น เพราะสาเหตุคือ 1.ไม่เคยไปทำร้ายใครให้ตกทุกข์ได้ยากตลอดชีวิตของตัวเอง 2. ไม่เคยไปเบียดเบียนโกงคนอื่นให้คนอื่นเดือดร้อน 3. มีความเคารพน้อมน้อมและจิตใจที่เมตตาต่อคนที่เดือดร้อนกว่าตัวหลวงพี่เอง 4.ไม่เคยไปทำลายร้ายใครและทำลายชีวิตใครด้วยการค้ายาเสพย์ติดและวิธีการต่างๆ 5.จิตใจมั่นคงตรงไม่คิดคดให้ใครเดือดร้อน หลงทาง 6.ชีวิตนี้พลีให้และบริสุทธิ์ใจกับพุทธศาสนาอย่างจริงใจ 7.คิดเมตตาคนอื่น คิดเห็นดีงาม. แล้วท่านละคิดแบบนี้หรือเปล่าละ แม้ในชีวิตนี้จะโดนหมากัดบ้างก็ทนเจ็บเอา หมาบ้านเราเลือกกัดแต่คนที่ด้อยกว่าด้วยนะ คือไม่มี BACK หรือนามสกุลไม่ดัง หรือตัวคนเดียว คนที่เก่งกว่าไม่กล้าไปกัดเขา เพราะกลัวตัวเองเจ็บ ทีกัดคนอื่นที่สู้ไม่ได้ไม่คิดว่าคนเค้าจะเจ็บบ้างนะ


ใบประกาศใบที่ 3 ล่าสุด University of Mumbai


ใบประกาศที่ได้รับใบแรก จาก University of Mumbai


สรุปว่า จบ Trip ในการสัมมนาที่อินเดีย ทั้งหมด 12 วัน ในประเทศอินเดียแล้ว หลวงพี่ได้ทั้งความรู้ และหนังสือมา 6 เล่ม เป็นหนังสือภาษาอังกฤษ และการสอนสังคม และหนังสือที่ Prof. Dr. Harichandan มอบให้ 2 เล่ม นับว่าเป็นของขวัญปีใหม่ 2553 / 2010 ให้ตนเอง และหลวงพี่จะนำหนังสือที่ได้มาสัก 2 เล่ม บริจาคให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเลย เป็นการทำบุญให้ปัญญาแก่นักศึกษาและท่านๆ แล้วครั้งหน้าหลวงพี่จะกลับมาเล่าเรื่องงานวัด งานบุญ ที่ไหนนั้นต้องติดตามนะ งานนี้หลวงพี่ช่วยเต็มที่.

15 มกราคม 2553

เดินทางไป Conference เมือง Indore, Mumbai และ ไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาที่ Ajanta : ประเทศ India ตอนที่ 2

เมื่อพวกเราถึง เมือง Aurangabad ในตอนเช้าของวันที่ 25 ธันวาคม 2009 เรานั่งรถทัวร์จาก Indore - Aurangabad ผ่านเมืองน้อยๆที่อยู่สองข้างทาง และป่าเขา ถนนบางช่วงตัดผ่านกลางภูเขาเลย รถวิ่งผ่านเข้าไปทำให้หูหลวงพี่ฮื้อเลย สองข้างทางมีการปลูกฝ้ายเต็มไปหมดด้วย เมืองนี้เต็มไปด้วยผู้คนอีกเช่นเคย พวกเราไม่มีเวลาเดินชมเมือง พวกเราเดินทางไปยัง Bus Stand เพื่อขึ้นรถประจำทางไป Ajanta พวกเราถึงเวลา 11:oo น. เมื่อไปถึงพวกเราต้องซื้อบัตรผ่านแล้วเดินเข้าไปจะข้างในมีร้านค้าเต็มไปหมด และเดินไปอีกเพื่อขึ้นรถเมล์เพื่อไปยัง Ajanta Caves อีกที่หนึ่ง ต้องซื้อตั๋วรถอีกรอบหนึ่ง เมื่อไปถึงแล้วจะต้องซื้อตั๋วเข้าไปภายในอีกรอบหนึ่ง แม้หลายรอบจริงๆนะ เมื่อซื้อเสร็จแล้ว ได้เดินขึ้นไป เป็นภูเขาที่ตัดเป็นถนนหรือทางเดินเข้าไปเป็นฝีมือคนแน่นอน เพราะ 2000 กว่าปีไม่มีเครื่องจักรแน่นอน แต่เดินขึ้นไปไม่เหนื่อยนะ เป็นครั้งแรกที่ได้ไปไหว้พุทธศาสถานที่เป็นต้นกำเนิดพระพุทธศาสนา ที่เคยมีพระภิกษุเคยจำพรรษาอยู่ เมื่อไปถึงมีนักท่องเที่ยวเยอะมากนะทั้งคนอินเดียเอง คนยุโรป คนญี่ปุ่น เกาหลี จีน เมื่อเดินขึ้นไปแล้วหายเหนื่อยเพราะได้เห็นวิวธรรมชาติที่สวยงามมาก เมื่อเดินไปถึงทางเข้ามีการตรวจเก็บตั๋วผ่านเข้าชมภายใน เป็นสิ่งที่วิเศษสุดๆ ที่สร้างด้วยมือมนุษย์ สวยงามเหลือเกิน เหมือนกับว่าหลวงพี่เคยได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นี้ในอดีตได้ปฏิบัติธรรม และอยากย้อนไปในอดีต คิดไปแบบนั้นจริงๆ เมื่อเดินเข้าไปจะเป็นหน้าผาที่ถูกเกาะสลักเป็นห้องต่างๆ และที่เกาะสลักเป็นพระพุทธรูป มีเป็นห้องเพื่อจำวัด มีการเขียนลายพระพุทธเจ้ามากมาย คนที่ทำต้องมีจิตใจที่เลื่อมใสจริงๆจึงจะทำออกมาแบบนี้ได้เพราะต้องใช้แรงกายและสมองและฝีมือที่มากมายหักโขทีเดียว ที่จะเกาะสลักภูผาหินที่แข็งแกร่ง ให้เป็นวัดทางพระพุทธศาสนาได้ การเขียนลายภาพที่งดงามแต่เสียดาย มีเหลือให้ชมในปัจจุบันน้อยมากแต่พอมีอยู่เข้าใจว่าโดนขโมยไป และเสื่อมเสียไปตามเวลา นั้นเอง
OUT TRIP TO AJANTA CAVES.
The buddhist temples cut into rocks



การเกาะสลักที่ใช้พลังศรัทธาเลื่อมใสอย่างสูง เป็นวิชาความรู้ชั้นสูงของคนอินเดียสมัยนั้น

หลวงพี่อธิฐานขอพรให้คนไทย คนอินเดีย และคนทั่วโลกให้มีความสุข อภิบาลคุ้มครองคนดีๆ


การเกาะสลักและวาดภาพให้งดงามอลังการได้เช่นนี้
คนปัจจุบันทำไม่ได้แล้ว เป็นความรู้เก่าที่สูญหายไปที่เราไม่รู้

สัตว์โลกผู้น่ารัก ลิงป่าธรรมชาติที่อจันต้า (AjanTa)
Picture taken in Ajanta, Aurangabad Maharashtra in December 2009

เมื่อได้เดินชมแล้วจะทำให้หลวงพี่อดคิดไม่ได้ว่า ในอดีต พระสงฆ์ ที่ อจันต้าจะต้องเป็นพระอรหันต์ และทรงภูมิความรู้อย่างมาก และการใช้ชีวิตจะต้องเป็นชาติธรรม และธรรมชาติ อย่างมากเพราะ การเข้าถึงหลักธรรมได้ง่ายโดยการปฏิบัติธรรม และอยู่ห่างจากบ้านเรือนคน ทำให้จิตใจสงบ ศึกษาธรรมได้สะดวก และอดคิดไม่ได้ว่าที่นี้พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมา และปฏิบัติธรรมและสั่งสอนผู้คนอยู่ที่นี้ แน่นอนว่าเมื่อกว่า 2000 ปี ที่แล้วพระพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก จึงได้มีงานปฏิมากรรมล่ำค่าเช่นนี้ ที่คนสร้างขึ้นมาจะต้องเลื่อมใสอย่างมาก จึงจะเกาะสลักภูผาหินให้เป็นวัดแบบนี้ได้ ซึ่งต้องใช้แรงกายและฝีมือ อย่างมาก และเวลาในการก่อสร้าง ที่ทุ่มเทให้ มาคิดอีกว่าในอดีตไม่มีโบสถ เหมือนปัจจุบันแต่พระพุทธเจ้าและสาวกทรงสอนสั่งคนให้กลับตัวกลับใจได้ และมีสิ่งล่ำค่าที่เกิดจากความศรัทธาเลื่อมใสให้เราในปัจจุบันให้ได้เห็นกัน เมื่อมองย้อนไปในอดีต ที่แห่งนี้เป็นที่สงบอย่างมาก การสัญจรไปมานั้นคงต้องเดิน และใช้สัตว์เป็นพาหนะ นั้นคือม้า ในการเดินทาง เพราะอยู่ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร ที่สวยงาม มีมากมายสัตว์ป่า หลวงพี่เมื่อเดินเข้าไปภายในที่แบ่งเป็นห้องต่างๆที่เกาะสลักจากฝีมือคนแล้ว ได้ไหว้และกราบขอพรพระองค์ท่าน คิดว่าจะต้องเป็นมงคลแก่ตัวเองอีกสักครั้งหนึ่งในชีวิต การใช้ชีวิตของพระในสมัยนั้นจะต้องมีการเอื้ออารีย์ต่อกันอย่างมาก ไม่เหมือนพระในปัจจุบันที่สะสมกิเสสกัน บวชเอาผ้าเหลืองบังหน้าหากิน ค้ายาเสพติดย์ และนำสิ่งไม่ดีมาในวัด เช่นเจ้าอาวาส พระลูกวัด โดนจับยาเสพย์ติด ยาบ้า อันนี้คงไม่ทั้งหมดพระดีก็มี มาต่อ พระรูปใดสมัยนั้นรู้วิชาสิ่งใดก็ขวนขว่ายเอาวิชานั้นมาช่วยเหลือกัน อย่างเช่น การรักษาโรคด้วยสมุนไพร แน่นอนว่า วิชาสมุนไพร นั้น บิดาที่เป็นเจ้าแห่งแพทย์แผนสมุนไพรก็คือ หมอชีวกโกมารภัจ แพทย์ประจำพระพุทธเจ้านั้นเอง ที่หมอยาบ้านเราในเมืองไทยนับถือกันอย่างมาก แม้ครั้งหลวงพี่เคยไปโรงพยาบาลสงฆ์ ที่กรุงเทพฯ ก็มีรูปปั้นหมอชีวกฯ หลวงพี่มีข้อคิดว่าเวลาที่เราใช้ยาสมุนไพรนะ ขอให้นึกถึง ท่านหมอชีวกฯ และอธิฐานให้ท่านเสกยา เป็นยาที่ถูกกับโรคและให้รักษาโรคที่เป็นให้หาย ดังนี้เป็นต้น ถ้ำอจันตา (Ajanta) ในปัจจุบันเป็นมรดกโลก (World Heritage Site) ที่พวกเราชาวพุทธควรได้ไปกราบไหว้สักครั้งหนึงในชีวิต หลวงพี่เดินชมไม่หมด เดินชมได้ 16-17 ห้องเท่านั้น ยังเดินกราบและชมไม่หมด ก็ต้องเดินทางกลับเพื่อเตรียมตัวไปมุมไบ (Mumbai) ต่อ พวกเราเดินทางออกจาก Ajanta แล้วกลับออกมา เดินมารอรถโดยสารข้างนอก แล้วขึ้นรถ ก่อนขึ้นรถหลวงพี่ได้เก็บภาพลิงป่าที่น่ารักดีอีกแบบ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนเลย เค้าก็อยู่ของเค้า นิสัยดีจริงนะ เมื่อรถเริ่มออกจาก Ajanta เพื่อกลับไปยังจุดเริ่มต้นที่เรามา หลวงพี่มองจากรถลงมามองเห็นเด็กนักเรียนอินเดียเดินกันเป็นขบวนเลย 10 คนขึ้น ก็คิดว่าคงไม่มีเงินเสียค่ารถ แน่นอนจึงเดิน ต้องจุดนี้เอง ก็ได้พูดกับ ดร.เดน ว่า รัฐบาลอินเดียน่าจะมีรถบริการฟรีแก่เด็กนักเรียนที่มาทัศนะศึกษาที่ Ajanta เพราะอะไร เพราะว่ามันไกลมากประมาณ 5-6 กิโลเมตร เลยที่เดียวกว่าจะถึง ภูผาหินเกาะสลัก อจันตา (Ajanta) และการซื้อตั๋วควรเปลี่ยนเป็นซื้อครั้งเดียวไปเลย คือ ซื้อตั๋วผ่านเข้าชมทีเดียว ต่างชาติคนละ Rs.50-100 รูปี คนอินเดีย Rs.20-40 รูปี แล้วมีรถบริการไปกลับฟรี แบบนี้ไปเลย เพราะรวมไปหมดแล้ว และนักเรียนหรือเด็กอินเดียควรมีรถบริการฟรี หรือเก็บแบบเหมารวมก็ได้เก็บแบบถูกๆ พวกเรามาถึงปากทางออกแล้วก็ยืนรอรถทัวร์และรถประจำทางหรือรถเมล์ประจำทาง เพื่อเข้าไปยังเมือง Aurangabad และไปยังสถานีรถไฟ เพื่อซื้อตั๋วไปเมืองมุมไบ ต้องขอออกตัวก่อนว่า ทำไมใช้รถประจำทางไม่ใช่รถเก๋งเหมา ก็บอกได้เลยว่าหลวงพี่ไม่มีเงินมากมาย เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้ได้มาด้วยความสุจริต ไม่ใช่ได้เงินมาจากการเบียดเบียนหรือโกงคนอื่น ไม่ใช่ได้มาจากการค้ายา ถึงจะมีเงินมากมายนั่งรถเหมาเพราะมันแพง แต่เงินมาจากคุณบุญลือ นิลชาติ ที่ถวายให้ (หลวงพี่จะกลับมายัง Ajanta อีกครั้งหนึ่งแน่นอน)

Picture taken in Aurangabad, Maharashtra in December 2009

(Mumbai) เพื่อจะได้พักผ่อนและเยี่ยมเยียน ท่าน Prof.Dr. Harichandan และครอบครัวของท่าน ซึ่งท่านเป็นผู้บริหารคนใหม่แล้วของมหาวิทยาลัยมุมไบในตำแหน่ง (Institute of Distance and open learning : IDOL ,University of Mumbai) ก่อนไปหลวงพี่อีเมล์ E-mail หาท่านก่อน ท่านตอบว่ายินดีที่จะได้พบกันอีก ครั้งหน้าจะกลับมาเล่าต่อในการ Conference at University of Mumbai.
เพิ่มรูปภาพ

01 มกราคม 2553

เดินทางไป Conference เมือง Indore, Mumbai และ ไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาที่ Ajanta : ประเทศ India ตอนที่ 1

หลวงพี่กับ Mr. Dan ว่าที่ Dr. มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ได้างแผนกันไปสัมมนา
Semina,Conference กันที่อินเดีย โดย Mr.Da
n ได้เดินทางมาถึงขอนแก่นในวันที่ 19 ธ.ค. 2553 เพื่อจะเดินทางไปกรุงเทพ ณ สนามบินสุวรรณภูมิพร้อมกั พวกเราโดยสารรถทัวร์ถึง กรุงเทพ เวลาตี 4:oo am. ของวันที่ 20 ธ.ค. 2553 แล้วได้ต่อรท็กซี่ไปยังบ้านคุณบุญลือเพื่อไปเอาตั๋วเครื่องบินที่บ้านคุณบุญลือ โดยครั้งนี้หลวงพี่มีคุณบุญลือ สนับสนุนด้านการเงินที่ถวายให้ในครั้งนี้ เมื่อได้ตั๋วแล้ว คุณบุญลือ นิลชาติ (แปะน่ำ)ได้กรุณานำรถยนต์ไปส่งหลวงพี่และ Dan ที่สนามบินสุวรรณภูมิในเวลา ตี 5:20 am. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 6:00 am. หรือ 6 โมงเช้ากว่าๆ พวกเราถึงสนมบินได้ Cheak in ตั๋วและสัมภาระ เรียบร้อย เครื่องบินออก 9:30 am.พวกเราได้เดินทางไปถึงประเทศอินเดีย ณ สนามเมืองมุมไบ: Mumbai ประเทศอินเดีย เวลา 13:00 น.(บ่าย 1 โมง) และต้องไปต่อเครื่องบินภายในประเทศอินเดีย เพื่อไปเมือง Indore อีกที่หนึ่ง เพื่อไปยัง DEVI AHILYA UNIVERSITY, INDORE, INDIA. พวกเราได้เดินทางไปสนามบินภายในประเทศที่ ซานตาคูส (Santacruz , Mumbai) หลวงพี่ได้เรียกรถตุ๊กๆ หรือ ออโตริกซอ แม้หลวงพี่ก็บอกชัดนะว่าไปสนามบินภายในประเทศ หรือ Domestic Airport มันก็เข้าใจแล้วและให้เราขึ้นรถของเขา พวกเราขึ้นรถเพื่อไปสนามบินภายในประเทศ แต่มันกลับพาเราไปเชือด ฮ่า ฮ่า งานนี้รู้ทันมัน มันเลยอด ฮ่าฮ่า คนขับพาเราไปยังร้านคอมหรือสำนักงานอะไรสักอย่าง หลวงพี่สะกิดใจแล้วทำไมมันพาเรามาที่นี้ มันพามาหาพรรคพวกมันนี้เอง เพื่อทำการบุ๊คตั๋วออนไลน์ให้เราแล้วเรียกราคาสูงเกินจริง คนขับบอกเราว่าวันนี้เป็นวันอาทิตย์ เป็นวันหยุดไม่มีการเปิดขายตั๋วที่สนามบิน จะต้องบุ๊คตั๋วที่นี้อย่างเดียว หลวงพี่ให้ Mr.Dan ลงไปดูก่อน Dan กลับออกมาบอกที่จองตั๋วออนไลน์ของสายการบิน หลวงพี่ไม่แน่ใจว่าะใช่เลยลงไปดูเอง ภายในเป็นสำนักงานมีคอมพิวเตอร์มากมาย แต่ใจหลวงพี่ก็บอกว่าไม่ใช่แน่นอน 100 % ส่วน Dan คงกลัวไม่ได้ไปมั้งถึงบอกว่าใช่ ที่แท้ไม่ใช่เป็นพวกต้มตุ๋น ต่างหาก แม้มีการถามชื่อ และดู Passport ด้วยนะ แบบทำให้เหมือนน่าเชื่อถือ มันถามหลวงพี่ต้องการไปที่ไหน เวลาอะไร กี่ที่นั่ง พอหลวงพี่ให้มันเช็คราคาดูก่อน พอมันเช็คราคาบอก หลวงพี่ว่า Rs. 5,600 ต่อคน หงายตู้มเลยหลวงพี่รีบเดินออก แล้วบอกให้ Dan ขึ้นรถแล้วคนขับยังไม่ยอมไปอีกนะ มีการพูดจาหว่านล้อมอีกต่างหาก ในที่สุดมันก็ไปส่งเราที่ สนามบินภายในประเทศ (domestic Airport) เมื่อไปถึงกับเรียกราคาเพิ่มเป็น Rs. 200 รูปี มันบกว่าค่าพาไปและเสียเวลา หลวงพี่ไม่ให้ ให้แค่ Rs. 80 รูปี จะเอาก็เอาไม่เอาก็ไม่เอา เดียวเรียกตำรวจ มันเลยยอม นี้แหละพวกนี้เป็นตัวทำลายการท่องเที่ยวประเทศอินเดียเอง สันดานไม่ดีพวกนี้ ทำให้เราเสียเวลาไปตั้งนานและเสียความรู้สึก และเสียอารมณ์ เมื่อมาถึงสนามบินมันพาเรามีชั้น 2 ของสนาม หลวงพี่ให้ Dan เดินหาที่ขายตั๋วของสายการบิน GoAir ที่มีราคาถูกสุดเพราะหลวงพี่เช็คนเน็ตก่อนแล้ว Dan หายไป 30 นาทีแล้วเดินกลับมาบอกว่าอยู่ชั้นล่าง ซื้อตั๋วเสร็จเข้าไปภายในสนามบินเป็นสนามบินใหม่ที่แยกตัวมาจากสนามบิInternational Airport มี Wireless ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ของบริษัทต่างๆใช่ด้วย


Our Trip to Indore.

Santacruz Domestic Airport at Mumbai.

พวกเราถึงสนามบิน Indore เวลา 21:15 น. ประมาณนี้แหละ ลยเก็บภาพตอนลงจากเครื่องมา
ให้ดูด้วย

Domestic Airport at Indore.

เมื่อลงจากเครื่องรู้สึกได้ว่าอากาศเย็นหรือหนาวอยู่เลยนะเนี้ย พวกเราผ่านการเข้าเมืองเรียบร้อยก็ติดต่อรถแท็กซี่ในสนามบินไปยัง DEVI AHILYA UNIVERSITY, INDORE, INDIA.
เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ พวกเราไปถึง GUEST HOUSEองมาวิทยาลัย เวลา 4 ทุ่ม ระยะทางจากสนามบิน ไปถึงมหาวิทยาลัย ประมาณ 25 กิโลเมตร เดินทางถึงแล้วเข้าพักผ่อนในห้องที่เตรียมไว้ให้ จัดทำธุระกิจส่วนตัวกันเสร็จ อากาศหนาวมากขอบอก แต่มีเครื่องทำน้ำอุ่นในห้องเลยสะดวกขึ้นมาก หลวงพี่สวดมนต์เสร็จ ก็หลับเลยตื่นมาอีกที่ 7 :oo น. (เช้า) ของวันที่ Dec 21, 2009 ทำธุระกิจส่วนตัวอีกครั้งหนึ่งเสร็จแล้วพวกเราก็เดิสำรวจมหาวิทยาลัยแต่เช้า อากาศยามเช้าหนาวเย็นมากเลย ารสัมมนาจะเริ่มวันที่ December 22-24,2009 เมือง Indore คนอินเดียจะเรียกว่า เมืองน้องมุมไบ (Mini Mumbai) เป็นเมืองที่เจริญพอสมควร เป็นเมืองการศึกษา เพราะมี College ของรัฐ และเอกชนเต็มไปหมด

ภาพยามเช้า
DEVI AHILYA UNIVERSITY, INDORE, INDIA.

เดินไปถ่ายรูปมหาวิทยาลัยไปด้วยเป็นมหาวิทยาลัยที่มาสร้างในที่ใหม่ การก่อสร้างยังมีให้เห็นเป็นบางที่ เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นความเป็นทันสมัยพอสมควรเน้นไปทางด้าน เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ และกีฬา และการบริหาร เป็นต้น การสัมมนาในครั้งนี้หลวงพี่ และDan ได้นำเสนอผลงานร่วมกัน ชื่อเรื่อง

DEVELOPMNENT OF A MODEL TO ENHANCE

EFFECTIVE CHANGE MANAGEMENT IN EDUCATION FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT IN HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS: A CASE STUDY IN CAN THO UNIVERSITY, VIETNAM.

by Dr. Thai Cong Dan,Ph.D.
Phra Dr.Rangsan Phimchangthong,ฺฺ B.A. M.ed. Ph.D.
Doctoral Candidate, Naresuan University, Thailand
Doctoral Candidate,Magadh Universit y, India

and The Phranakhon Rajabhat University,Thailand


อีกหนึ่งผลงานที่ทำให้หลวงพี่มีความรู้มากยิ่งขึ้นเกียวกับการศึกษาในประเทศเวียดนาม งานเริ่ม Dec 22-24, 2009 หลวงพี่เก็บภาพในการ Conference ในครั้งนี้มาให้ดูด้วย ห้องสัมมนามีการแบ่งเป็นห้องๆ ในวันแรกของการประชุม คือวันที่ Dec 22,09 มีการเปิดประชุม มี Prof. Dr จากมหาวิทยาลัยในอเมริกามาด้วย 2 ท่าน (USA.) มาด้วยเพราะเป็นแม่งานในครั้งนี้คือ

Organized by

DBMA
University of Maryland
Eastern Shore, USA,
Modern Technology &

Management Institute Inc., USA,
College of Business
Frostburg State University
Frostburg, MD, USA


and Sponsored by
Synetic Business School
Ludhiana, INDIA


2 ท่านนี้เป็นคนอินเดียนะ แต่ได้เป็น Prof. ที่มหาวิทยาลัยใน อเมริกา USA. อยากเห็นคนไทยเราเป็นอาจารย์และได้เป็น Prof. ของมหาวิทยาลัยในอเมริกาบ้างจัง (หลวงพี่ไม่มีโอกาสแล้ว ถ้ามีโอกาสนะ ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาเหมือนท่านๆนะ จนจบปริญญาเอกนะ บอกได้คำเดียวว่ามีเฮจะใช้ชีวิตที่อเมริกาเป็นอาจารย์ เป็น Prof.แล้วกลับมาไทยตอนอายุ 50 ปี มาเป็นวิทยาทานให้กับมหาวิทยาลัยของไทยเรา มาใช้ชีวิตบันท้ายชีวิตในไทย สำหรับหลวงพี่เองตอนนี้ได้เท่านี้ก็พอใจแล้ว ) ศึกษาจบจากอเมริกาแล้ว อย่าเพิ่งกลับไทยนะ เป็นอาจารย์และเป็น Prof. ของมหาวิทยาลัยอะไรก็ได้ในอเมริกาเพื่อชื่อเสียงคนไทยเราบ้างแบบ Go Inter ไม่ใช่จบแล้วมุ่งจะกลับบ้านอย่างเดียว แล้วแต่ความสามารถนะตรงนี้ เอาความรู้มารับใช้สังคมบ้านเราก็ได้ ลวงพี่ด้เก็บภาพในวันงานมาให้ชมด้วยนะใช้แทนการเล่าเรื่องราวไปเลยนะอ้อเกือบลืมชื่องานเลยชื่องานว่า


2009 INTERNATIONAL CONFERENCE ON GLOBAL ISSUES IN BUSINESS & TECHNOLOGY
(December 22 – 24, 2009)

Devi Ahilya University,Indore,India



ภาพวันเปิดงาน ฮิฮิ ตั้งวันที่ผิดไปหนึ่งวัน งานเริ่มวัน Dec 22-24,2009

คนที่ยืน เอามือกุมกันสูทสีดำ คือ Prof.Dr.Dinesh K. Sharma , University of Maryland Esatern Shore Pirncess Anne, USA. ส่วนท่านที่ 2 ตัวเล็กๆยืนอยู่ข้างๆ คือ Prof.Dr.Kamal Nayan Agarwal , Howard University, USA.


Viewing my photos ICGIMT- MTML and Visited The Institute of Science and Technology at Indore, M.P. “India”


บรรดาอาจารย์ต่างๆที่มานำเสนอผลงานขอถ่ายภาพด้วย ตอนไปเยี่ยมชม สถานที่ต่างๆใน Indore


ถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก

รับ Certificate จาก Prof.Dr P.K. Gupta ในวันสุดท้าย เป็นใบที่ 2 ที่ Indore ในประเทศอินเดีย และใบที่ 3 จาก Universirty of Mumbai เช่นเดิม ใบแรกก็ที่ Mumbai เหมือนกัน

การประชุมสัมมนากันในครั้งนี้ดำเนินไปด้วยดี จนถึงวันสุดท้ายคือวันที่ 24 Dec 2009 หลวงพี่กับ Dan ได้ติดต่อไปศึกษาดูงานวิทยาลัยอีกที่หนึ่งของเช้าวันที่ 24 ในเวลา 8:00 am. (เช้า) มีรถยนต์มารับพวกเราไปดูงานในครั้งนี้ ชื่อสถาบัน Indore Institute of Science and Technology. มีการตอนรับเป็นอย่างดีจนเรารู้สึกว่าเป็นแขกที่มีเกียรติเป็นอย่างมากพอไปถึงมีการตอนรับแล้วเชิญไปที่ห้องประชุมเพื่อแนะนำตัวเองและฟังส รุปเกี่ยวกับวิทยาลัย มีการสอบถาม มีการพาไปยังห้องการเรียนการสอน มีนักศึกษา 2,000 กว่าคน สถานที่ของวิทยาลัยดูใหม่สะอาด พวกเราใช้เวลาครึ่งวันกับการดูงานในครั้งนี้

ภาพที่ Indore Institute of Science and Technology






ได้รับมอบของที่ระลึกจากวิทยาลัย แล้วกลับมายังมหาวิทยาลัย ในการสัมมนาปิดท้ายด้วยการ รับประทานอาหารกลางวัน เสร็จแล้ว หลวงพี่กับ Dan ได้เดินทางกลับห้องพักทำธุระกิจ จ่ายค่าห้องแล้วค่าอาหาร เรียบร้อย รวม 26 USD. ยังไม่รวมค่าสัมมนา Rs.3,000 รูปี ต่อคน อัตราเดียวกับคนอินเดียเลย พวกเราได้เดินทางไป Bus Stand ทำการจองตั๋วรถทัวร์ เพื่อไปยัง Ajanta พุทธศาสนสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ที่เมือง Aurangabad เดินทาง 21:30 ถึง 09:45 แล้วเดินทางด้วยรถโดยสารไปยัง Ajanta อีกต่อหนึ่ง พวกเราไปถึง Ajanta 11:00 น. แล้วครั้งหน้าจะมาเล่า เรื่อง Ajanta และ สัมมนาที่ University of Mumbai ต่อนะ