OUT TRIP TO AJANTA CAVES.
การเกาะสลักที่ใช้พลังศรัทธาเลื่อมใสอย่างสูง เป็นวิชาความรู้ชั้นสูงของคนอินเดียสมัยนั้น
The buddhist temples cut into rocks
การเกาะสลักที่ใช้พลังศรัทธาเลื่อมใสอย่างสูง เป็นวิชาความรู้ชั้นสูงของคนอินเดียสมัยนั้น
การเกาะสลักและวาดภาพให้งดงามอลังการได้เช่นนี้
คนปัจจุบันทำไม่ได้แล้ว เป็นความรู้เก่าที่สูญหายไปที่เราไม่รู้
สัตว์โลกผู้น่ารัก ลิงป่าธรรมชาติที่อจันต้า (AjanTa)
Picture taken in Ajanta, Aurangabad Maharashtra in December 2009
เมื่อได้เดินชมแล้วจะทำให้หลวงพี่อดคิดไม่ได้ว่า ในอดีต พระสงฆ์ ที่ อจันต้าจะต้องเป็นพระอรหันต์ และทรงภูมิความรู้อย่างมาก และการใช้ชีวิตจะต้องเป็นชาติธรรม และธรรมชาติ อย่างมากเพราะ การเข้าถึงหลักธรรมได้ง่ายโดยการปฏิบัติธรรม และอยู่ห่างจากบ้านเรือนคน ทำให้จิตใจสงบ ศึกษาธรรมได้สะดวก และอดคิดไม่ได้ว่าที่นี้พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมา และปฏิบัติธรรมและสั่งสอนผู้คนอยู่ที่นี้ แน่นอนว่าเมื่อกว่า 2000 ปี ที่แล้วพระพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก จึงได้มีงานปฏิมากรรมล่ำค่าเช่นนี้ ที่คนสร้างขึ้นมาจะต้องเลื่อมใสอย่างมาก จึงจะเกาะสลักภูผาหินให้เป็นวัดแบบนี้ได้ ซึ่งต้องใช้แรงกายและฝีมือ อย่างมาก และเวลาในการก่อสร้าง ที่ทุ่มเทให้ มาคิดอีกว่าในอดีตไม่มีโบสถ เหมือนปัจจุบันแต่พระพุทธเจ้าและสาวกทรงสอนสั่งคนให้กลับตัวกลับใจได้ และมีสิ่งล่ำค่าที่เกิดจากความศรัทธาเลื่อมใสให้เราในปัจจุบันให้ได้เห็นกัน เมื่อมองย้อนไปในอดีต ที่แห่งนี้เป็นที่สงบอย่างมาก การสัญจรไปมานั้นคงต้องเดิน และใช้สัตว์เป็นพาหนะ นั้นคือม้า ในการเดินทาง เพราะอยู่ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร ที่สวยงาม มีมากมายสัตว์ป่า หลวงพี่เมื่อเดินเข้าไปภายในที่แบ่งเป็นห้องต่างๆที่เกาะสลักจากฝีมือคนแล้ว ได้ไหว้และกราบขอพรพระองค์ท่าน คิดว่าจะต้องเป็นมงคลแก่ตัวเองอีกสักครั้งหนึ่งในชีวิต การใช้ชีวิตของพระในสมัยนั้นจะต้องมีการเอื้ออารีย์ต่อกันอย่างมาก ไม่เหมือนพระในปัจจุบันที่สะสมกิเสสกัน บวชเอาผ้าเหลืองบังหน้าหากิน ค้ายาเสพติดย์ และนำสิ่งไม่ดีมาในวัด เช่นเจ้าอาวาส พระลูกวัด โดนจับยาเสพย์ติด ยาบ้า อันนี้คงไม่ทั้งหมดพระดีก็มี มาต่อ พระรูปใดสมัยนั้นรู้วิชาสิ่งใดก็ขวนขว่ายเอาวิชานั้นมาช่วยเหลือกัน อย่างเช่น การรักษาโรคด้วยสมุนไพร แน่นอนว่า วิชาสมุนไพร นั้น บิดาที่เป็นเจ้าแห่งแพทย์แผนสมุนไพรก็คือ หมอชีวกโกมารภัจ แพทย์ประจำพระพุทธเจ้านั้นเอง ที่หมอยาบ้านเราในเมืองไทยนับถือกันอย่างมาก แม้ครั้งหลวงพี่เคยไปโรงพยาบาลสงฆ์ ที่กรุงเทพฯ ก็มีรูปปั้นหมอชีวกฯ หลวงพี่มีข้อคิดว่าเวลาที่เราใช้ยาสมุนไพรนะ ขอให้นึกถึง ท่านหมอชีวกฯ และอธิฐานให้ท่านเสกยา เป็นยาที่ถูกกับโรคและให้รักษาโรคที่เป็นให้หาย ดังนี้เป็นต้น ถ้ำอจันตา (Ajanta) ในปัจจุบันเป็นมรดกโลก (World Heritage Site) ที่พวกเราชาวพุทธควรได้ไปกราบไหว้สักครั้งหนึงในชีวิต หลวงพี่เดินชมไม่หมด เดินชมได้ 16-17 ห้องเท่านั้น ยังเดินกราบและชมไม่หมด ก็ต้องเดินทางกลับเพื่อเตรียมตัวไปมุมไบ (Mumbai) ต่อ พวกเราเดินทางออกจาก Ajanta แล้วกลับออกมา เดินมารอรถโดยสารข้างนอก แล้วขึ้นรถ ก่อนขึ้นรถหลวงพี่ได้เก็บภาพลิงป่าที่น่ารักดีอีกแบบ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนเลย เค้าก็อยู่ของเค้า นิสัยดีจริงนะ เมื่อรถเริ่มออกจาก Ajanta เพื่อกลับไปยังจุดเริ่มต้นที่เรามา หลวงพี่มองจากรถลงมามองเห็นเด็กนักเรียนอินเดียเดินกันเป็นขบวนเลย 10 คนขึ้น ก็คิดว่าคงไม่มีเงินเสียค่ารถ แน่นอนจึงเดิน ต้องจุดนี้เอง ก็ได้พูดกับ ดร.เดน ว่า รัฐบาลอินเดียน่าจะมีรถบริการฟรีแก่เด็กนักเรียนที่มาทัศนะศึกษาที่ Ajanta เพราะอะไร เพราะว่ามันไกลมากประมาณ 5-6 กิโลเมตร เลยที่เดียวกว่าจะถึง ภูผาหินเกาะสลัก อจันตา (Ajanta) และการซื้อตั๋วควรเปลี่ยนเป็นซื้อครั้งเดียวไปเลย คือ ซื้อตั๋วผ่านเข้าชมทีเดียว ต่างชาติคนละ Rs.50-100 รูปี คนอินเดีย Rs.20-40 รูปี แล้วมีรถบริการไปกลับฟรี แบบนี้ไปเลย เพราะรวมไปหมดแล้ว และนักเรียนหรือเด็กอินเดียควรมีรถบริการฟรี หรือเก็บแบบเหมารวมก็ได้เก็บแบบถูกๆ พวกเรามาถึงปากทางออกแล้วก็ยืนรอรถทัวร์และรถประจำทางหรือรถเมล์ประจำทาง เพื่อเข้าไปยังเมือง Aurangabad และไปยังสถานีรถไฟ เพื่อซื้อตั๋วไปเมืองมุมไบ ต้องขอออกตัวก่อนว่า ทำไมใช้รถประจำทางไม่ใช่รถเก๋งเหมา ก็บอกได้เลยว่าหลวงพี่ไม่มีเงินมากมาย เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้ได้มาด้วยความสุจริต ไม่ใช่ได้เงินมาจากการเบียดเบียนหรือโกงคนอื่น ไม่ใช่ได้มาจากการค้ายา ถึงจะมีเงินมากมายนั่งรถเหมาเพราะมันแพง แต่เงินมาจากคุณบุญลือ นิลชาติ ที่ถวายให้ (หลวงพี่จะกลับมายัง Ajanta อีกครั้งหนึ่งแน่นอน)(Mumbai) เพื่อจะได้พักผ่อนและเยี่ยมเยียน ท่าน Prof.Dr. Harichandan และครอบครัวของท่าน ซึ่งท่านเป็นผู้บริหารคนใหม่แล้วของมหาวิทยาลัยมุมไบในตำแหน่ง (Institute of Distance and open learning : IDOL ,University of Mumbai) ก่อนไปหลวงพี่อีเมล์ E-mail หาท่านก่อน ท่านตอบว่ายินดีที่จะได้พบกันอีก ครั้งหน้าจะกลับมาเล่าต่อในการ Conference at University of Mumbai.
1 ความคิดเห็น:
ที่เที่ยวนี้ น่าสนใจมากๆ ตอนนี้เปรี้ยวเองก็อ่านไกด์บุ๊คอินเดียอยู่เลย เวลาเดินเร็วจริงๆ จนทำอะไรไม่ทัน หุหุ แต่ที่แน่จดชื่อเมืองนี้ไว้แล้ว เดี๋ยวไปบ้าง อิอิ
แสดงความคิดเห็น