หลังจากท่านนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศจะยุบสภาต้นเดือน พฤษภาคม 2554 แต่รัฐบาลจะต้องรักษาการไปอีก 6 เดือน นั้นก็เพียงพอจนกว่าจะมีการกำหนดการเลือกตั้งใหม่ของ กกต. ออกมาชัดเจน การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย คือการทำให้ความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรสิ้นสุดลงโดยพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกาบัญญัติให้อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงก่อนครบกำหนดตามวาระ อันมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภาพ้นจากตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่มีสิทธิแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ2550 จนกว่าจะมีคณะรัฐบาลใหม่เข้ามารับหน้าที่แทน การที่คณะรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์เข้ามารับตำแหน่งเป็นการต่อจากอดีตรัฐบาลนายกสมชาย วงษ์สวัสดิ์ การพลิกขั้วมาจัดตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลได้เพราะ 4 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม ประกอบด้วย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคภูมิใจไทยหรือมัชฌิมาธิปไตยเดิม หลังจากการตัดสินใจยุบสภาของท่านนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยพรรคเพื่อไทย ถือเป็นพรรคใหญ่ไม่น้อยกว่า พรรคประชาธิปัตย์ ฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยมีมากทางภาคใหญ่ของประเทศไทยคือภาคอีสาน และภาคเหนือและภาคกลางบ้าง แต่พรรคประชาธิปัตย์ มีฐานเสียงในกรุงเทพ และภาคใต้เท่านั้น ดังนั้นการแข่งขันเลือกตั้งทางภาคอีสาน จึงเป็นการแข่งขันระหว่างพรรค ภูมิใจไทยและพรรคเพื่อไทย และพรรคอื่นประปรายเท่านั้น ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์อาจจะสนับสนุนพรรคภูมิใจไทยให้ลงสมัครแข่งกับพรรคเพื่อไทยก็เป็นได้ ในยามเลือกตั้งใหม่ไม่มีใครช่วยพรรคอื่นแน่นอน เพราะทุกพรรคต้องส่งผู้แทนลงสมัครเพื่อให้ได้ตัวแทนให้มากที่สุดเพื่อเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล การเลือกตั้งใหม่ครั้งนี้บอกได้ว่าเหนื่อยกันแทบทั่วหน้ากันทุกพรรค พรรคที่จะได้ผู้แทนมากก็เห็นจะเป็นพรรคเพื่อไทยเพราะฐานเสียงของพรรคและผู้ลงสมัครผู้แทน ลองลงมาได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ หรือได้อันดับ2 แต่ใช่ว่าเมื่อเป็นอันดับ 2 จะไม่ได้เป็นแกนนำจัดตั้งพรรคของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะถ้าการจับมืออีกหนของพรรคร่วมรัฐบาลเดิมของชุดนายกอภิสิทธิ์ย่อมได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกหนหนึ่ง โดยตัวแปรที่จะได้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งของพรรคประชาธิปัตย์คือ
1. พรรค4 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม ประกอบด้วย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคภูมิใจไทยหรือมัชฌิมาธิปไตยเดิม
2. ตำแหน่งรัฐมนตรีเกรด A หรืออันดับ 1 นั้นพรรคร่วมต่างๆได้ไปครองหรือได้ตัวแทนของพรรคไปบริหารย่อมหอมหวนให้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง
แต่ใช่ว่าพรรคเพื่อไทยใช่ว่าจะไม่ได้จัดตั้งรัฐบาลเลย ตัวแปรที่จะทำให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลมีดังนี้
1. พรรคเพื่อไทยได้ตัวแทนของผู้แทนราษฎรมากที่สุดจนมีสิทธิ์ตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียว ซึ่งก็ไม่ง่ายเพราะมีตัวแปรอื่นอีก คือ การไหลออกของ ส.ส. ไปสังกัดพรรคอื่นเป็นต้น และการต่อรองกระทรวงเกรด A ที่พรรคร่วมในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์เคยได้กระทรวงเกรด A ครอง คงจะยอมยากที่จะได้กระทรวง เกรด C ไปครอง เมื่อเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย
2. การเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับบางพรรคเท่านั้นของพรรคเพื่อไทย ซึ่งน่าจะเป็นพรรคชาติไทยพัฒนา นอกนั้นเดินไปเป็นฝ่ายค้านกับพรรคประชาธิปัตย์คอยตรวจสอบรัฐบาล
ส่วนพรรคน้องใหม่เช่นพรรคการเมืองใหม่ของกลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองจะได้ตัวแทนบ้างไม่กี่ท่านอยู่ที่ตัวแทนลงสมัคร และนโยบายพรรคเองที่จะเป็นตัวแปรกำหนด โดยจะเป็นการชิงกันเองในกรุงเทพกับพรรคประชาธิปัตย์และจังหวัดอื่นบ้างเล็กน้อย แต่พรรคเพื่อไทยย่อมทุ่มนโยบายเพื่อให้ได้ตัวแทน ส.ส. ให้มากที่สุดเพื่อจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวอีกครั้ง แต่ต้องระวังการตรวจสอบภาคประชาชนทุกขณะเมื่อดำรงตำแหน่ง ดังนั้นการนำประเทศหรือขึ้นอยู่กับผู้บริหารประเทศจะนำพาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า หรือมีหลักธรรมภิบาลในการบริหาร ประชาชนและประเทศย่อมสดใส หรือ Happy Trails เส้นทางเดินที่เดินที่ดีไปสู่ความสุขของประชาชนไทยที่มากกว่านี้ ที่เป็นอยู่ ที่มีอยู่ ประเทศชาติก็ได้อนิสงค์ไปด้วย ไม่ใช่เรามากินบุญเก่าของบรรพบุรุษไทยเราอย่างเดียวที่ท่านสร้างไว้ แต่ต้องสร้างสิ่งใหม่ๆที่ดีๆด้วยให้กับประชาชนและประเทศชาติ.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น